ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ใครต้องเป็นคนจ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ใครต้องเป็นคนจ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

          ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า VAT เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ มีอัตราการเรียกเก็บอยู่ที่ 7 % และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งหากสังเกตจะเห็นว่าภาษีนี้จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนไว้ใน “ใบกำกับภาษี”  ที่เราได้รับมาตอนชำระเงินเสร็จแล้ว


ใครเป็นคนต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

         ถึงแม้เจ้าของกิจการและร้านค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบที่ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในความจริงแล้วภาษีตัวนี้ “ผู้บริโภค” หรือลูกค้าก็คือคนที่ต้องจ่ายนั้นเอง ซึ่งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะมาใน 2 รูปแบบ ก็คือ 

         1.ด้านการซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ภาษีนี้จะถูกรวมมาในราคาสินค้าอยู่แล้ว โดยภาษีจะถูกแจกแจงมาในใบเสร็จรับเงินให้เราทราบอีกครั้ง โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มจากราคาสินค้าเดิม 

         2.ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการรับประทานอาหารตามร้านอาหาร ซึ่งจะไม่ถูกรวมอยู่ในราคาอาหาร แต่จะมีการเรียกเก็บเพิ่ม เมื่อลูกค้าต้องชำระเงิน ซึ่งจะเขียนมาในใบเสร็จว่า VAT 7%


ธุรกิจแบบไหนต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

          1.ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน

          2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม

          3.ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน


ธุรกิจที่ไม่ต้องจกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถยื่นขอจดได้

          1.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

          2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

          3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน

          4.การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          5.การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ธุรกิจที่ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

          1.ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

          2.ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

          3.ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจัก

          4.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2536

วิธีการจดภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้อย่างไร

          1.ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th

          2.ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ

             - สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

                1.สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพกรในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

                2.สถานประกอบการที่ต้องอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถยื่นได้ที่ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพกรในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

                3.สถานประกอบการที่มีหลานสาขา สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพกรในพื้นที่ที่สถานประกอบการหลักตั้งอยู่

                4.สถานประกอบการที่อยู่ในการควบคุมของสำนักบริหารธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถยื่นได้ที่  สำนักงานบริการธุรกิจขนาดใหญ่หรือยื่นผ่านสำนักงานสรรพกรในพื้นที่

             - เอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

                1.สำเนาบัตรประชาชน ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน

                2.สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน

                3.แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ

                4.หนังสือจดทะเบียนบริษัท

                5.หลักฐานการตั้งสถานประกอบการ

                6.แผนที่ของสถานประกอบการ

         
          สรุป
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่สรรพการจะเรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านต่อปี จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางสรรพกร แต่ความจริงแล้วผู้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นก็คือ ผู้บริโภค ซึ่งการยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถยื่นได้ผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมสรรพกรหรือหน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ



ขอขอบคุณแหล่งที่มา:
กรมสรรพกร

โดย :
 5489
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มทุนในนาม Google Ventures ประกาศจับมือกับ 2 กลุ่มทุนเทคโนโลยีที่ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Kleiner Perkins และ Andreessen Horowitz ประกาศชื่อ ?Glass Collective? เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์หรือระบบงานที่เกี่ยวข้องกับแว่นตาอัจฉริยะ Google Glass เต็มที่ สะท้อนว่างานนี้ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจของแว่นตาไฮเทค Google Glass Ecosystem จะแข็งแรงเป็นปึกแผ่นแน่นอน
CSS คือ ภาษาที่ใช้สำหรับตกแต่งเอกสาร HTML/XHTML ให้มีหน้าตา สีสัน ระยะห่าง พื้นหลัง เส้นขอบและอื่นๆ ตามที่ต้องการ CSS ย่อมาจาก Cascading Style Sheets มีลักษณะเป็นภาษาที่มีรูปแบบในการเขียน Syntax แบบเฉพาะและได้ถูกกำหนดมาตรฐานโดย W3C เป็นภาษาหนึ่งในการตกแต่งเว็บไซต์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์