5 ความจริงเกี่ยวกับ Themeforest ที่คนอยากขายธีมต้องรู้

5 ความจริงเกี่ยวกับ Themeforest ที่คนอยากขายธีมต้องรู้

การหาเงินในวงการทำเว็บไซต์นี่มีหลายทาง ไม่ว่าจะรับเป็นงานฟรีแลนซ์ หรือทำ Startup หรือเป็นพนักงานบริษัท แต่แน่นอนว่าส่วนใหญ่ล้วนอยากเป็นเจ้านายตัวเองกันทั้งนั้น จึงไม่แปลกว่าจะมีคนหันไปทำ Startup หรือไปหาเงินทุนด้วย Crowd Funding และการทำธีมขายใน Themeforest ก็เป็นหนทางหนึ่งในการเป็นเจ้านายตัวเองเช่นกัน

คนไทยคนหนึ่งที่ดังมาก ๆ ใน Themeforest คือ @Peerapong ซึ่งล่าสุดทำยอดขาย 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (60 ล้านบาท) ไปเรียบร้อย ทำให้คนไทยหลาย ๆ คนเข้ามาขายธีมในตลาดนี้ มาดูกันว่า 5 อย่างที่คุณต้องรู้ก่อนเข้าไปลุยป่า Themeforest มีอะไรกันบ้าง

  1. THEMEFOREST คัดคุณภาพของธีมโหดมาก

ไม่ใช่ว่าใครส่งธีมเข้าไปขายใน Themeforest แล้วจะผ่านทั้งหมด คุณภาพของธีมที่จะเอาขึ้นหน้าเว็บไซต์นั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามการแข่งขันในตลาด ซึ่งถ้าคุณภาพงานของเรายังไม่สูงพอมีโอกาสโดนตีกลับได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม การตีกลับใน Themeforest มีสองแบบ คือ

Soft Reject – ถ้าคุณภาพงานของเราเกือบผ่านแล้ว แต่ยังติดปัญหานิดหน่อย เค้าก็จะตีกลับมาในลักษณะนี้ งานที่ส่งไปจะไปยังอยู่ในระบบ เราแค่แก้ไขตามเค้าให้ถูกต้องก็ผ่านแล้ว

Hard Reject– ถ้าคุณภาพงานของเราไม่ถึงมาตรฐาน หรืองานแนวเรามีเต็มตลาดเกินไปแล้ว เค้าจะตีกลับมาแบบนี้ งานจะหลุดออกจากระบบไปเลยครับ อาจต้องแก้เยอะแล้วส่งไปอีกครั้ง แก้ไม่ได้แล้ว ส่งซ้ำไปมีโอกาสโดนแบน

 อย่าลืมว่าคุณภาพของธีมที่จะส่งผ่านนั้นจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีการเพิ่มเติมกฏข้อบังคับตลอดเวลา เพราะฉะนั้นรีบทำรีบส่งตั้งแต่ตอนนี้ครับ ไม่งั้นคุณภาพที่เค้าต้องการจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก

  1. THEMEFOREST หัก % การขายถึง 50%

ธีมที่เราวางขายใน Themeforest จะไม่มีค่าวางของ แต่เค้าจะหักเงินเราไปตอนที่ของเราขายได้ ซึ่งจะเริ่มต้นที่ 50% แปลว่าถ้าเราขายของราคา $50 (1500 บาท) เค้าจะหักเราไป $25 คือเราได้ไป $25 (750 บาท)

บางคนอาจคิดว่าทำไมหักไปเยอะจัง เทียบกับของ Apple Store ที่หักค่าแอพ 30% (เจ้าของแอพได้ 70%) ก็ถือว่าเยอะแล้ว อันนี้เราต้องมองว่าฐานลูกค้าของ Themeforest เยอะมาก สมมติถ้าเราเอาของไปวางบนเว็บเราแล้วขายได้ 5 ชิ้น แต่ถ้าลง Themeforest แล้วขายได้ 200 ชิ้น ยังไงแบบหลังก็คุ้มกว่า ยกเว้นว่าเรามีวิธีการโปรโมทขายของที่ดีมาก ๆ จนไม่ต้องพึ่งตลาดนี้

ถ้าเราขายของได้ยอดสูงขึ้น ก็จะได้ % เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสูงสุดอยู่ที่ 70% เท่ากับขายแอพใน Apple Store เลย

  1. คุณภาพ THEME ก็สำคัญ แต่ SUPPORT ก็สำคัญไม่แพ้กัน

คนที่ซื้อ Theme ในเว็บไซต์นี้มีความคาดหวังว่าถ้าเกิดปัญหาอะไรเค้าจะติดต่อเราได้ตลอด เพราะเค้าจ่ายเงินซื้อของเราไปแล้ว ซึ่งจะเห็นว่าคนทำธีมแทบทุกคนมีระบบให้ลูกค้าเค้ามาถามคำถามได้ และบางที่ก็เข้าไปติดตั้งธีมให้ลูกค้าฟรี ๆ ด้วย

การจะเข้ามาในตลาดทำธีมต้องมั่นใจก่อนว่าเราสามารถรองรับคำถามจากลูกค้าได้ ซึ่งถ้าใครเคยอ่านบทสัมภาษณ์คุณ Peerapong ที่ขายได้ 60 ล้าน เค้าบอกว่าวันนึงต้องตอบอีเมลเป็น 100 ฉบับครับ (ตอนนี้น่าจะมากกว่านั้นแล้ว)

ถ้า Support ไม่ดีลูกค้าก็จะไม่กลับมาซื้อของเราอีกเลย ในทางกลับกัน ถ้าเค้าเคยซื้อไปแล้วพบว่าธีมเรา Support ดีมาก ๆ เค้าก็จะไว้วางใจเรา แล้วมาอุดหนุนเราบ่อย ๆ  เพิ่มยอดขายเพิ่มเรทติ้งให้เราได้อีก

  1. ความรู้ภาษาอังกฤษไม่ต้องระดับสูงมากก็ได้

หลายคนกลัวว่าภาษาอังกฤษตัวเองไม่แข็งแล้วเข้าไปจะลำบาก เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือช่วยเหลือเยอะ อาจจะใช้วิิธีโยนใส่ Google Translate, เปิด Dictionary, หรือหาคนมาช่วยแปลก็ได้

คนซื้อใน Themeforest เค้าจะไม่ถามเราโดยใช้ประโยคยาก ๆ เพราะบางทีเค้าก็ไม่ได้มาจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยถ้าเราไม่เข้าใจคำถามจริง ๆ สามารถขอให้เค้าอธิบายเพิ่มเติม หรือให้เค้าอัพรูป Screenshot มาให้ดูว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นกันแน่ ส่วนใหญ่ดูรูปเราก็จะเข้าใจเลย

  1. ระวังโดนหลอกว่าจะสอนให้ไปขายใน THEMEFOREST

พอคนไทยเห็นว่าตลาดนี้ทำเงินได้ดีก็จะอยากเข้าไปขายของใน Themeforest ซึ่งจากที่ขายของตัวเอง บอกได้เลยว่าขายดีจริง แต่มันไม่ใช่ตลาดที่จะสอนให้ไปขายได้ง่าย ๆ เหมือนพวกตลาด Affliate (เอาของคนอื่นมาวางขายในเว็บเราแล้วเราได้ %)

อย่างหนึ่งเลยคือคุณภาพของงานที่จะวางขายได้ไม่ใช่ว่าสอนพื้นฐานแล้วจะทำส่งขายได้เลย งานต้องดีไซน์สวย ระบบต้องดี ซึ่งพวกนี้มาจากประสบการณ์การทำงาน สอนแค่แนวคิดไปทำไม่ได้แน่นอน ตลาดนี้คุณภาพงาน (Design & Development) มาก่อน ส่วน Marketing จะเอามาใช้ได้ก็ต่อเมื่อส่งงานผ่านแล้วเท่านั้น

ถ้าใครบอกว่าจะสอนคุณขายของใน Themeforest ให้ขอ User ใน Themeforest ของเค้าเพื่อเข้าไปดูผลงานเค้าก่อนเลย ดูว่าเค้าขายของมากี่ชิ้นแล้ว แต่ละชิ้นขายดีไม่ดียังไงบ้าง ของพวกนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะปิดบังกันแล้วได้ประโยชน์อะไร เพราะเราเอาไปก็ก็อปมาขายไม่ได้

โดย :
 3335
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Icon เป็นกราฟิกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้แทนคำพูดที่ต้องการได้ ทั้งนี้ยังเป็นประโยชน์ในการออกแบบอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มการใช้งาน
5 กลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ ยุคดิจิทัล ปี 2018 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเริ่มธุรกิจ หรือมีธุรกิจเป็นของตัวเอง การทำแผนการตลาดย่อมเป็นสิ่งจำเป็นในการเริ่มตั้งเป้าหมายทางธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในปี 2018 ที่กำลังจะมาถึงนี้ผู้ประกอบการควรที่จะรู้เกี่ยวกับกระแสใหม่ๆ เพื่อนำมาผสมผสมผสานหรือปรับปรุงการตลาด เพื่อให้ทันกับการก้าวหน้าและวิวัฒนาการของธุรกิจในยุคดิจิทัล
จากปีที่ผ่านมาอย่างที่รู้กันว่า กระแสการตลาดออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มันแทบเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จนด้านออฟไลน์ถูดลดทอนความสำคัญลง มาจนถึงปี 2018 นี้ เทรนด์การตลาด O2O จะนำทั้งออนไลน์และออฟไลน์ มาประยุกต์เข้าใช้ด้วยกัน วันนี้ MakeWebEasy จะมานำเสนอ เทรนด์การตลาด O2O ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์