แนะนำวิธีการเขียนบทความ

แนะนำวิธีการเขียนบทความ

          การเริ่มต้นเขียนบทความสำหรับใครหลายๆคน อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ทั้งการคิดชื่อเรื่องบทความให้น่าสนใจ เนื้อหาให้เหมาะสม จะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจ หากได้ลองเขียนบทความมากๆ ก็จะทำให้เรารู้อะไรหลาย ๆ อย่าง ไปในตัว นั่นก็คือ ประสบการณ์ จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และวันนี้ก็จะแนะนำการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น สำหรับใครหลายๆคน เพื่อให้การเขียนบทความนั้นง่ายขึ้นและมีความน่าสนใจ น่าอ่านมากยิ่งขึ้น

 

ส่วนประกอบในบทความ

          1. ชื่อบทความ : เป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านเห็น เราควรตั้งชื่อให้น่าสนใจ ครอบคลุมเนื้อหา บอกประเด็นหลัก และดึงดูดให้คลิกอ่าน ถ้าหากชื่อไม่น่าสนใจบทความนั้นอาจจะถูกเลื่อนผ่านไป

          2. บทนำ : เป็นส่วนที่อยู่ตอนต้นของบทความ เป็นการบอกคร่าวๆเกี่ยวกับบทความ เรื่องอะไร สำคํญอย่างไร ให้ประโยชน์อย่างไร เราจะต้องเขียนให้ผู้อ่านชวนคิดตาม 

          3. เนื้อหาบทความ : เนื้อหาบทความไม่ควรมีแต่ข้อความให้อ่าน จะทำให้ผู้อ่านน่าเบื่อและรู้สึกไม่อยากอ่านทันที เพียงแค่เห็นก็แทบไม่อยากอ่านแล้ว ต้องมีการแทรกรูปภาพประกอบบ้าง เนื้อหาควรกระชับ เข้าใจง่าย อีกทั้งต้องคำนึงถึงลำดับเนื้อหา การวางโครงร่าง เช่น การแบ่งหัวข้อ การวางตำแหน่งรูป การวางตำแหน่งข้อความ เป็นต้น 

          4. บทสรุป : เป็นการสรุปสาระสำคัญของบทความ ตอนท้ายสุด

          5. อ้างอิง (ถ้ามี) : เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงข้อมูลที่เรานำมาเขียนบทความ ควรบอกให้ครบทุกแหล่งอ้างอิงที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือ และเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานด้วย 

 

ขั้นตอนการเขียนบทความ

          1. กำหนดเรื่องที่จะเขียน : การเลือกเรื่องที่สนใจ เรื่องที่มีประสบการณ์ จะทำให้เราถ่ายทอดออกมาได้ง่าย หรือ เลือกตามสิ่งที่กำลังนิยมจะทำให้มีแนวโน้มสูงที่บทความนั้น จะถูกอ่านมากกว่าปกติ

          2. กำหนดจุดหมายให้ชัดเจน : การกำหนดจุดหมายนั้นเพื่อบ่งบอกว่าเราเขียนบทความเพื่ออะไร เช่น เพื่อให้ความรู้ เพื่อความบันเทิง เป็นต้น

          3. กำหนดกลุ่มผู้อ่าน : เพื่อคำนึงถึงเรื่องอายุ เพศ การศึกษา อาชีพ ของผู้อ่าน โดยในเนื้อหาบทความจะได้มีการใช้ภาษา ถ้อยคำ และคำศัพท์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติผู้อ่าน

          4. การเตรียมข้อมูลที่ใช้เขียนบทความ : ให้เราหาข้อมูลให้เพียงพอที่จะเขียนบทความ และเป็นข้อมูลที่ควรเชื่อถือได้ 

          5. วางโครงเรื่องการนำเสนอ : ต้องมีการวางโครงเรื่องที่จะเขียนบทความ ว่าจะนำเสนออะไร กำหนดขอบเขตของเรื่องให้ชัดเจน กำหนดลำดับเนื้อหา จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมทั้งหมดซึ่งสามารถวางสัดส่วนเนื้อหาแต่ละหัวข้อได้อย่างเหมาะสม หากขาดตกบกพร่องเราจะแก้ไขบทความได้ง่ายและรวดเร็ว 

 

          หากเราทำการเขียนบทความเสร็จแล้วให้อ่านบทความตรวจดูอีกที อ่านแล้วสมเหตุสมผล ได้ผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ หากตรวจสอบเสร็จแล้วก็สามารถเผยแพร่บทความได้

 

          ในการเขียนบทความก็ช่วยทำให้เราได้ฝึกอะไรหลายๆ อย่าง ยิ่งเขียนมากก็ได้ประสบการณ์มาก  ลองฝึกเขียนบทความกันดูนะครับ

 

แหล่งที่มาเขียนบทความ

โดย :
 3277
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรารู้แค่ว่าหน้าจอที่เล็กที่สุดคือ 0 pixel แต่เราไม่มีทางรู้หน้าจอที่ใหญ่ที่สุดได้ หากเราเขียน media queries โดยใช้ min-width เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่าหน้าจอที่ใหญ่ที่สุดที่เราอยากจะรองรับมีขนาดเท่าไร
เคล็ดลับสำหรับผู้ใช้ Google Earth Enterprise ถ้าคุณเคยใช้ Google Earth Enterprise (GEE) Fusion Pro and Server คุณจะคุ้นกับขั้นตอนการทำงานหลายอย่างใน Google Maps Engine คุณโหลดข้อมูล ผสานข้อมูลดังกล่าวเพื่อสร้างโลกเสมือนจริง กำหนดค่ารูปแบบ ทดสอบความพร้อม จากนั้นจึงเผยแพร่ให้ผู้ใช้ปลายทาง
หลายท่านอยากขายของออนไลน์แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง บทความนี้เป็นแนวทางการเริ่มต้นขายของออนไลน์มาแนะนำ ขอย้ำนะค่ะว่าเหมาะสำหรับมือใหม่หัดขายเท่านั้น ถ้ามืออาชีพเน้นระยะยาวต้องเป็นอีกแนวทางหนึ่งค่ะ ลองมาดูกันว่าจะเริ่มต้นยังไงนั้นลองอ่านกันดู

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์