3 ขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สำหรับ SME ให้รวยอย่างยั่งยืน

3 ขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สำหรับ SME ให้รวยอย่างยั่งยืน

     หากกล่าวกันเรื่องลงลึกด้านเทคนิคการทำการตลาดยังไงให้ปัง ให้คนแชร์เยอะ ๆ หรือให้คนมาไลค์เยอะ ๆ แล้วล่ะก็ อาจจะฟังดูแล้ว ออกจะข้ามขั้นตอนไปสักหน่อย เพราะการแชร์เยอะ ไลค์เยอะนั้น ไม่ได้หมายถึงว่า ได้ผลลัพธ์ที่ดี หรือผลลัพธ์ตามที่ต้องการเสมอไป เพราะหากเอาเข้าจริงแล้ว มันเป็นเพียงวิธีการเท่านั้น

     แต่สิ่งที่สำคัญกว่าวิธีการก็คือ จะต้องกำหนด “กลยุทธ์การตลาดออนไลน์” สำหรับธุรกิจของเรากันเสียก่อน เพราะการกำหนดกลยุทธ์ ก็เปรียบเสมือนการกำหนดเป้าหมายก่อนการเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์นั่นเอง

     ดังนั้น หากเรากำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เราก็สามารถเลือกวิธีการที่จะพาไปยังเป้าหมาย โดยเลือกวิธีการที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

     และสำหรับในยุคปัจจุบัน ยุคที่ SME จะต้องกำหนดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้ชัดเจน ที่จากเดิมทำยอดขายเฉพาะหน้าร้านค้าเพียงอย่างเดียว

     เพราะระหว่างการทำการตลาดแบบออฟไลน์หรือการมีหน้าร้านนั้น ย่อมมีความแตกต่างกับการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบน Google หรือโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, LINE, Youtube หรือสื่อออนไลน์อื่น ๆ ทีนี้เรามาเริ่มต้นทำความเข้าใจและเรียนรู้การกำหนดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์กันเลย

อย่าสับสนกันระหว่าง Digital Marketing Strategy กับ Digital Marketing Campaign
     Digital Marketing Strategy คือการกำหนดเป้าหมายในการทำการตลาดออนไลน์และกำหนดวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้บรรลุในจุดประสงค์ ส่วนวิธีการต่าง ๆ ที่ว่านั้นก็คือ Digital Marketing Campaign

ยกตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของคุณคือการเพิ่มยอดขายด้วยกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ โดยกำหนดกลยุทธ์คือการสร้างรายชื่อฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ นั่นคือ Stretegy ส่วนวิธีการที่คุณจะใช้เพื่อให้ได้รายชื่อนั้นมาก็คือ การสร้าง Content ที่ดีที่สุดของคุณออกมา แล้วแชร์บน Social Media นั่นคือการทำ Campaign

วิธีการสร้าง Digital Marketing Strategy

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนที่ 1 สร้าง Buyer Persona
Buyer Persona คืออะไร? Buyer Persona คือการระบุกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสจะมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต หรือง่าย ๆ ก็คือ ใครบ้างที่จะมาซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ

>>> แต่สิ่งที่เจ้าของธุรกิจมักผิดพลาดกันเยอะที่สุดก็คือ “ทุกคนคือลูกค้า” ซึ่งเจ้าของธุรกิจอาจจะมีคำถามว่า สินค้าของเราดีมาก เราอยากให้ทุกคนได้ใช้สินค้าของเรา ดังนั้น ทุกคนก็คือลูกค้าของเรา

>>> ความคิดนี้เป็นความคิดที่ดี แต่ประเด็นก็คือ เราจะเข้าถึงลูกค้าทุกคนนั้นได้อย่างไร ในสภาวะที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็น เงินทุน บุคคลากร หรือเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ

ยกตัวอย่างสมมติ เช่น หากลูกค้าคือคนไทยทุกคน (ประมาณ 60-70 ล้านคน) โดยจากสถิติงบการตลาดเริ่มต้นที่เฉลี่ยคนละ 10 บาท ดังนั้น คุณจะต้องใช้งบประมาณขั้นต่ำในการเข้าถึงคนทั้งประเทศ 600 – 700 ล้านบาท

คำถามต่อมาก็คือ ธุรกิจของเรานั้น มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ นี่ยังไม่นับรวมถึงบุคคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดต่อกับกลุ่มเป้าหมาย

ดังนั้น หากคุณเป็น SME ที่มีงบการตลาดไม่สูงมากนัก การระบุกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่าไหร่ งบประมาณการตลาดของคุณก็จะยิ่งคุ้มค่ามากขึ้นเท่านั้น (สังเกตว่า จะไม่ใช้คำว่า “ถูก” แต่ใช้คำว่า “คุ้มค่า” เพราะบางธุรกิจ ต้นทุนการหาลูกค้าหนึ่งรายอาจสูงถึงหลักพัน หลักหมื่น แต่สามารถขายสินค้าได้หลักแสนหลักล้าน เป็นต้น)

เริ่มต้นการสร้าง Buyer Persona
ระบุ Customer Demographic หรือ ข้อมูลประชากรของลูกค้า

Gender – เพศ
Age – อายุ
Location – ที่อยู่อาศัย
Job Title – อาชีพ
Income – รายได้
Interest – ความสนใจ
Hobbies – งานอดิเรก
Lifestyle – ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิต

หลังจากนั้นให้เราตั้งต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น

อะไรคือสิ่งที่พวกเขาสนใจ?
อะไรคือสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหา?
ปัญหาของพวกเขาคืออะไร?
มีอะไรที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาของคนเหล่านั้นได้บ้าง?
ปกติแล้วพวกเขาเหล่านั้นค้นหาข้อมูลจากแหล่งใด?
อะไรบ้างที่มีคุณค่าต่อกลุ่มคนเหล่านี้?
สินค้าหรือบริการที่พวกเขาใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?

ยิ่งเรารู้และเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของพวกเขามากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสามารถสร้าง Content ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนได้มากขึ้นเท่านั้น และมันจะส่งผลให้โอกาสในการปิดการขายสูงขึ้นตามไปด้วย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนที่ 2 เลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับเป้าหมาย (Tools & Goals)
ทีนี้เมื่อเราสามารถระบุได้แล้วว่า กลุ่มเป้าหมายของเรามีลักษณะเป็นอย่างไรแล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องเลือกเครื่องมือออนไลน์ให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

     ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายของธุรกิจในเดือนนี้คือ ต้องการยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 30% ซึ่งอาจหมายถึง นักการตลาดออนไลน์ จะต้องเพิ่มรายชื่อลูกค้ามากกว่าเดิมถึง 60% ผ่านทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

>>> โดยหากเลือกเครื่องมือ Social Media เป็น Facebook ดังนั้น จะต้องมีการกำหนดงบประมาณที่จะใช้ในการทำแคมเปญบน Facebook รวมถึงค่าโฆษณาด้วย

>>> ซึ่งข้อดีของการทำโฆษณาบน Facebook ก็คือ สามารถระบุ Buyer Personal ได้ค่อนข้างละเอียด และมีรายงานการวัดผลหลังจากที่ลงโฆษณาอย่างละเอียดอีกด้วย

>>> ส่วนในด้านฝั่งของเว็บไซต์ เลือกติดตั้ง Google Analytics เพื่อเก็บข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ในการเข้าชมเว็บไซต์ ซึ่ง Google Analytics นั้น สามารถระบุได้ค่อนข้างละเอียดว่า มีคนเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เท่าไหร่ เข้าเยี่ยมชมหน้าใดบ้าง ใช้เวลาในการเยี่ยมชมกี่นาที กี่วินาที เข้ามาชมในช่วงเวลาใด เป็นต้น

>>> เพราะถ้าหากเครื่องมือที่ใช้ ไม่สามารถวัดผลได้ หรือผู้ใช้ไม่เข้าใจตัวเลขที่ใช้ในการวัดผล มันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะเราจะไม่สามารถรู้ได้ว่า งบประมาณที่ได้ใช้จ่ายไปนั้น ได้ผลเป็นอย่างไร คุ้มค่าหรือไม่ ควรจะตัดงบประมาณส่วนนี้ทิ้ง หรือควรจะเพิ่มงบประมาณส่วนนี้เข้าไปอีก

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนที่ 3 ช่องทางการโปรโมทและประชาสัมพันธ์แคมเปญ (Channel)
เมื่อคุณกำหนดงบประมาณด้านการตลาดออนไลน์ได้แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องเลือกจัดสรรงบประมาณลงในช่องทางต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้แคมเปญนั้น ๆ เป็นไปตามจุดประสงค์ที่ได้กำหนดเอาไว้

>>> Owned Media คือ สื่อของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์, แฟนเพจ Facebook, LINE@, Youtube Channel หรือ Instagram ที่เป็นของแบรนด์เราและอยู่ในการควบคุมของเรา เป็นต้น

ข้อดี

  • สามารถควบคุมรูปแบบและค่าใช้จ่ายได้
  • สามารถวัดผลได้ด้วยตนเอง
  • ประหยัดงบประมาณในการโฆษณา


ข้อเสีย

  • ส่วนใหญ่เป็นฐานลูกค้าเก่า
  • ไม่ค่อยได้ผล หากไม่มีการทำการตลาดที่ดีพอ

>>> Earned Media คือ สิ่งที่ผู้คนพูดถึงเราบนโลกออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การกดไลค์ แชร์ คอมเม้นท์ การอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่น ๆ การรีวิวจากลูกค้า เป็นต้น

ข้อดี

  • เป็นการตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งเป็นการตลาดที่นักการตลาดทั่วโลกต้องการให้เกิดขึ้น
  • ไม่มีค่าใช้จ่าย

ข้อเสีย

  • ควบคุมและคาดหวังผลไม่ได้
  • หากเป็นเรื่องในทางลบ จะทำให้ลุกลามอย่างรวดเร็ว

>>> Paid Media คือ สื่อและช่องทางการโปรโมทแบรนด์ ที่จะต้องจ่ายเงินเพื่อลงโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เช่น โฆษณา Facebook, โฆษณา Google Adwords หรือผ่านทาง Influencer ที่มีผู้ติดตามตรงกันกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา

ข้อดี

  • เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูง
  • สามารถเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและทันที

ข้อเสีย

  • มีค่าใช้จ่ายสูง
  • หากกำหนดกลุ่มเป้าหมายผิด แคมเปญอาจล้มเหลวและเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าได้

>>> และหลังจากที่คุณได้โปรโมทแคมเปญตามช่องทางต่าง ๆ แล้ว ก็ถึงเวลาวัดผลแล้วว่า ช่องทางแต่ละช่องทางนั้น มีผลลัพธ์ออกมาคุ้มค่ากับทรัพยากรที่ลงทุนลงแรงไปหรือไม่ โดยถ้าเป้าหมายของนักการตลาดออนไลน์คือเพิ่มจำนวนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ให้เพิ่มขึ้นจากเดิม 60% ดังนั้นให้สำรวจว่า ช่องทางใดได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

>>> แต่อย่าพึ่งชะล่าใจว่า รายชื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่นั้น จะส่งผลให้ยอดขายของธุรกิจเพิ่มขึ้น 30% ได้จริงหรือไม่นั้น ก็อาจจะส่งเรื่องต่อให้กับทีมขาย ติดต่อไปยังรายชื่อเหล่านั้น แล้วเก็บสถิติว่า จากรายชื่อที่เพิ่มขึ้นมา 60% นั้น สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 30% ได้จริง ก็จะเป็นอันเสร็จขั้นตอนสมบูรณ์

สรุป
     แต่หากยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ก็อาจจะต้องมาพิจารณากันต่อว่า ปัญหาเกิดจากจุดใด ซึ่งอาจเกิดได้หลายจุด เช่น รายชื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่นั้น ไม่ตรงกลุ่มจริง ๆ หมายถึง การทำการตลาดออนไลน์ อาจทำการสื่อสารที่ผิดพลาด จึงทำให้สารที่ส่งออกไปนั้น ไม่ตรงจุด

     หรืออาจเกิดจากทีมขาย ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเทียบได้จากภายในทีมขายด้วยกันเอง เช่น นักขายคนที่ 1 2 และ 3 สามารถปิดยอดขายได้เพิ่มขึ้น 30% ส่วนนักขายคนที่ 4, 5 และ 6 ปิดยอดขายได้ต่ำกว่า อันนี้ก็แสดงให้เห็นว่า รายชื่อที่ได้มานั้น ตรงกลุ่ม (ซึ่งหมายถึงนักการตลาดออนไลน์ทำงานได้ดี) แต่ที่มีปัญหาก็คือ นักขายคนที่ 4, 5 และ 6

     แต่หากเป็นกรณีที่ นักขายตั้งแต่ 1-6 ไม่มีใครปิดยอดขายได้ถึง 30% เลย ปิดได้แค่เพียง 15% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดเอาไว้ถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่รายชื่อกลุ่มเป้าหมายไม่ตรงกลุ่ม จึงทำให้อัตราปิดการขายต่ำลงไปด้วย

ดังนั้น ในฐานะที่คุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณย่อมรู้ดีว่าใครคือลูกค้าของคุณ โดยมีคำกล่าวจาก Tim Ferriss ผู้เขียนหนังสือ The 4-hour Workweek ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“หากทุกคนคือลูกค้า จะไม่มีใครเป็นลูกค้าของคุณเลย”

.

.

ขอบคุณที่มา : stepstraining

โดย :
 1303
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ได้รับคำถามนี้ ทั้งจากโทรศัพท์ และข้อความทาง Facebook เข้ามาสอบถามกันเป็นจำนวนมาก ว่าทำไมคนที่ขายของออนไลน์, ร้านค้า หรือบริษัทถึงต้องมี เว็บไซต์ เป็นของตัวเองด้วย ในเมื่อก็มี Facebook Fanpage ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็น เว็บไซต์ ของบริษัทอยู่แล้ว สู้เอาเงินที่จะไปลงทุน ทำเว็บไซต์ มาจ่ายเป็นค่า Promote Page ใน Facebook ดีกว่ามั้ย?
ปัจจุบัน การตลาดออนไลน์ เป็นช่องทางที่สำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ google location เป็นหนึ่งในวิธีทำให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ และสร้างยอดขายได้อย่างดี มาดูวิธีการสร้างร้านค้าให้เป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์กัน
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายๆท่าน อาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้ยังไง แค่มีเว็บไซต์ จะช่วยให้ขายสินค้าได้ดีขึ้นจริงๆน่ะหรือ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์