"ร้านค้าออนไลน์" เปิดง่ายๆ ไม่ต้องมี "ต้นทุน" อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ทำให้หลายคนที่หันมาทำธุรกิจในโลกออนไลน์ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมองข้าม "รายจ่าย" ที่เกิดขึ้นระหว่าง "ขายของออนไลน์" ที่จริงๆ แล้วเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ดังนั้นก่อนจะเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ ลองมาเช็คลิสต์กันก่อนว่า มีต้นทุนอะไรบ้างที่ต้องเตรียมรับมือ
1.ค่าสาธารณูปโภค และค่าบริการต่างๆ
ค่าน้ำ ค่าไฟ ต้นทุนสุดเบสิกที่เกิดขึ้นกับแทบทุกธุรกิจ ถึงแม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มาก แต่จำเป็นต้องนำมาคิดเป็นต้นทุนด้วย หรือแม้แต่ ค่าอินเทอร์เน็ตที่ต้องจ่ายทุกเดือน ยิ่งมีการติดต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากเท่าไร ยิ่งต้องมีต้นทุนมากตามไปด้วย
ฉะนั้นในแต่ละเดือนจะต้องมีการรวมค่าน้ำค่าไฟหรือค่าอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการขายของออนไลน์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่ห้ามมองข้ามเป็นอันขาด
2.ค่าสต็อกสินค้า
การขายของออนไลน์บางรูปแบบจำเป็นสต็อกสินค้าเพื่อให้ส่งให้กับลูกค้าได้ทันตามความต้องการ ซึ่งนี่คือต้นทุนสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องนำมาคิดเป็นต้นทุนหลักของร้าน ที่นอกจากต้นทุนในการสต็อกสินค้าแล้ว ยังอาจจะมีต้นทุนอื่นๆ ที่พ่วงมากับการสต็อกสินค้าด้วย เช่น ค่าขนส่งจากผู้ค้าส่ง ค่าเดินทางหรือค่าน้ำมันในกรณีที่เดินทางไปรับเอง เป็นต้น
กล่อง เทปกาว แผ่นสติกเกอร์ติดชื่อ เครื่องปริ้นท์ชื่อขนาดเล็ก ฯลฯ ที่ต้องใช้ในการแพ็กสินค้าเพื่อจัดส่งล้วนเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการขายของออนไลน์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทว่าสามารถลดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้ หากมีการบริหารจัดการที่ดี
เช่น การกำหนดราคาสินค้า ที่นำเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้เข้าไปคิดเป็นต้นทุนด้วย โดยอาจจะมีการบวกค่ากล่อง ค่าอุปกรณ์ยิบย่อยเข้าไปเป็นต้นทุนก่อนตั้งราคาขาย เพื่อไม่ให้ต้นทุนส่วนนี้กินกำไรที่เราควรจะได้ และลูกค้าไม่รู้สึกแพงเกินไป
หัวใจของการขายสินค้าออนไลน์คือการส่งสินค้าเร็วทันใจ และถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย "ค่าขนส่งสินค้า" จึงเป็นต้นทุนที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับผู้ค้าออนไลน์ และเป็นต้นทุนที่ส่งผลว่าแม่ค้าจะได้กำไรมากหรือไม่เลยทีเดียว
ดังนั้น ร้านค้าออนไลน์จึงควร "เปรียบเทียบ" ผู้ให้บริการขนส่งเพื่อหาบริการที่เหมาะกับกิจการของตัวเองมากที่สุด เช่น ราคา ขนาด คุณภาพการขนส่ง การติดตามสินค้า ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนค่าส่งสินค้าได้แล้ว
การทำการตลาด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการทำการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบันจะมีต้นทุนเหล่านี้เข้ามาเพิ่มด้วย เช่น การทำโฆษณาบนสื่อออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Tiktok ฯลฯ
ดังนั้น การขายสินค้าออนไลน์จึงควรเตรียมต้นทุนในเรื่องของการทำการประชาสัมพันธ์ หรือควรจะมีการวางแผน ก่อนจ่ายเงินโฆษณาก็จะช่วยให้ได้การโฆษณานั้นมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนที่ควักกระเป๋าจ่ายออกไปมากที่สุด
ในช่วงเริ่มต้นการขายสินค้าออนไลน์ต้องมีการสร้างแบรนด์ เพื่อสร้างการรับรู้ และเป็นที่จดจำให้กับลูกค้าให้ได้ โดยอาจมีหลายองค์ประกอบ เช่น การออกแบบสัญลักษณ์ของแบรนด์ การสร้างเว็บไซต์ เปิดเพจเฟซบุ๊ก ถ่ายภาพสินค้า ฯลฯ
ต้นทุนส่วนนี้อาจมีเฉพาะกับบางร้าน โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถออกแบบหรือลงมือทำเองได้ อาจจะต้องจ้างนักออกแบบทำให้ แต่ในกรณีที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีทักษะในการออกแบบอยู่แล้วหรือสามารถทำงานส่วนนี้เองได้ ก็จะช่วยประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ไป
ร้านค้าออนไลน์หลายแห่งเริ่มหันมาใช้บริการในการ “ไลฟ์” หรือถ่ายทอดสดในออนไลน์ ในกรณีที่การไลฟ์มีผู้ชมจำนวนมาก จะต้องอาศัยระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลลูกค้าแบบอัตโนมัติเพื่อลดการใช้แรงงานคน ช่วยลดความผิดพลาด และช่วยร่นระยะเวลา
การเลือกใช้ระบบจัดการหลังบ้านที่มีบริการแตกต่างกันออกไป ย่อมมีต้นทุนในเรื่องของการจ้างงานผู้ให้บริการนอกองค์กร หรือซื้อโปรแกรม ซึ่งมีทั้งการจ้างแบบรายเดือน หรือเป็นการติดตั้งระบบแล้วบริหารจัดการต่อเองก็มีเช่นกัน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : Bangkokbiznews