ทำเว็บแบบไหนถึงผิดลิขสิทธิ์?

ทำเว็บแบบไหนถึงผิดลิขสิทธิ์?



ใครที่ชอบหารูปจาก Google สวยๆ แล้วเอามาใช้บนเว็บไซต์ หรือเอาไปทำอะไรสักอย่าง ระวังให้ดี อาจมีหมายศาลส่งมาถึงบ้านคุณในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นได้!!

ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือความไม่รู้ว่า การค้นหารูป หรืออะไรสักอย่างใน Google แล้วเอามาใช้เป็นของตัวเอง มันคือการทำผิดกฎหมายดีๆ นี่เอง หรือแม้แต่การเซฟรูปจาก Facebook คนอื่นแล้วเอามาลงในเฟซของตัวเอง นี่ก็ถือว่าผิดเช่นเดียวกัน แล้วการกระทำแบบไหนบนโลกออนไลน์ที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะผิดลิขสิทธิ์บ้าง? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน เพื่อประโยชน์ของเจ้าของเว็บไซต์ทุกๆ ท่าน และเป็นการป้องกันความเสียหายไปในตัวด้วยครับ


ลิขสิทธิ์คืออะไร?

กฎหมายลิขสิทธิ์ มีขึ้นเพื่อปกป้อง คุ้มครอง ผู้สร้างเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์, เพลง, รูปภาพ, งานเขียน ฯลฯ ไม่ให้มีการนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้นๆ


เว็บไซต์มีลิขสิทธิ์หรือไม่?

เว็บไซต์ก็ถือเป็นชิ้นงานที่ได้รับการคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน เพราะถือว่าการสร้างเว็บไซต์เป็นการสร้างสรรค์ผลงานอย่างหนึ่ง ถ้ามีใครนำเอาส่วนหนึ่งส่วนใดของเว็บ หรือเนื้อหาภายในเว็บไปใช้ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ถือว่าผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย



เจ้าของเว็บอาจเป็นคนละเมิดลิขสิทธิ์แบบไม่ตั้งใจ!


ปัญหาเรื่องรูปภาพ

ในกรณีนี้ เราเคยพบเห็นเจ้าของเว็บไซต์บางรายกลายเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เสียเอง เพียงเพราะว่าไปเอารูปใน Google มาใช้บนเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของภาพไม่ได้อนุญาตให้นำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ สุดท้ายก็โดนฟ้องเรียกค่าเสียหายไปตามระเบียบ

การจะนำรูปมาใช้บนเว็บไซต์ เราแนะนำว่า ควรสร้างชิ้นงานนั้นขึ้นมาเอง หรือเลือกซื้อในเว็บขายรูป สองทางเลือกนี้ค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่ใช่ว่าการสร้างงานชิ้นนั้นคือการเอารูปอื่นมาทำซ้ำ หรือดัดแปลงให้ไม่เหมือนของเดิม อันนี้ก็ผิดนะครับ

ปัญหาเรื่องเนื้อหา

คอนเทนต์บนเว็บไซต์ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์นะครับ ทั้งวิดีโอ, บทความ, รูปภาพ, เสียง หรือโลโก้ต่างๆ การที่เจ้าของเว็บเอาบทความจากที่อื่นมาแปะไว้ โดยไม่ให้เครดิต หรือใส่ที่มาไว้ให้ ก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับการเอารูปใน Facebook, Instagram หรือโซเชียลอื่นๆ มาใช้บนเว็บของตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ ก็ผิดเหมือนกัน ถ้าโดนฟ้องขึ้นมาแก้ตัวอะไรไม่ได้เลยนะครับ

ส่วนเนื้อหาที่ลงแล้วไม่ผิดลิขสิทธิ์คือ ข้อมูลประเภทข้อเท็จจริง เช่น ข่าวประจำวัน, ราคาน้ำมัน และอื่นๆ ที่เป็นข่าวทั่วไป แต่ถ้าหากเป็นบทความเชิงวิเคราะห์ข่าว หรือผลการวิจัยที่ไม่ได้อนุญาตให้เผยแพร่เป็นสาธารณะ ถ้าเอามาลงก็ผิดเหมือนกัน



สรุปการทำเว็บแบบไม่ผิดลิขสิทธิ์

ถ้าหากเราต้องการจะทำเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมา และไม่อยากเสี่ยงต่อการโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ ควรจัดการประมาณนี้ครับ

– ข้อความ และเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ต้องถูกทำขึ้นมาใหม่ ไม่ก๊อปเว็บอื่นมา

– รูปภาพที่ใช้ในเว็บ ควรสร้างขึ้นมาใหม่ หรือเลือกซื้อจากเว็บขายภาพสต๊อก

หลักใหญ่สำคัญๆ ก็น่าจะมีแค่สองเรื่องนี้ที่คนทำเว็บทุกคนควรระวังครับ อย่าเอาแต่ความง่ายเข้าว่าด้วยการค้น Google แล้วนำมาใช้ หรือไปก๊อปปี้รูปภาพคนอื่นมาใช้เอง แบบนี้ถือว่าไม่ใช่มืออาชีพครับ แล้วยังจะโดนฟ้องจนหมดตัวเอาง่ายๆ ด้วย



ที่มา: makewebeasy

โดย :
 2106
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดซื้อสีเขียวพลิกวิกฤตโลกร้อน หนึ่งในวิธีหลายๆอย่างที่ภาคธุรกิจจะสามารถร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยเฉพาะในประเด็นการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนก็คือการเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อ
หลังจากที่ Facebook ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ คือให้ผู้ใช้งานสามารถกด Reaction ต่างๆ ในคอมเม้นได้แล้ว โดยสัญลักษณ์แสดงความรู้สึกต่างๆ ก็จะเหมือนกับที่สามารถกดได้ในโพสต์ คือ ถูกใจ (Like), รักเลย (Love), ฮา (Haha), ว้าว (Wow), เศร้า (Sad), และโกรธ (Angry) โดยฟีร์เจอร์ใหม่นี้ได้สร้างสีสันให้กับการใช้ Facebook เป็นอย่างมาก

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์