การบริหารความเสี่ยงจัดหาจัดซื้อ

การบริหารความเสี่ยงจัดหาจัดซื้อ

 

 

 

       โดยทั่วไปปัจจัยความเสี่ยงการจัดหาจัดซื้อมักเกิดจากค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นผลจากความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนหรือการปรับราคาขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้จำหน่าย เช่น การอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์ที่ส่งผลให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคอเมริกาเหนือมุ่งแหล่งจัดหาในแถบยุโรปซึ่งการลดค่าเงินดอลล่าร์ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อประเทศในภูมิภาคเอเซียโดยเฉพาะประเทศที่มุ่งการส่งออกสินค้าไปยังอเมริกา

 

       ผลจากการป้องกันค่าเงินดอลล่าร์ที่อ่อนตัวลงได้ส่งผลให้เกิดการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้นและสร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน ดังนั้นจึงมิอาจกล่าวได้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นผลจากองค์กรดำเนินนโยบายจัดซื้อจากผู้ส่งมอบรายเดียวและ

ผู้บริหารต้องหาเครื่องมือที่จะลด

 

       ความเสี่ยงการจัดหาจัดซื้อ เช่น ความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนสามารถจัดการด้วยการป้องกันความเสี่ยงทาง

การเงินโดยเฉพาะการสร้างสมดุลการไหลของต้นทุนหรือรายรับจากการลงทุนแต่ละภูมิภาคเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในกำลังการผลิตทั่วโลก

 

       ดังเช่นกลยุทธ์การผลิตแบบโตโยต้าที่มีนโยบายให้โรงงานแต่ละภูมิภาคดำเนินการผลิตเพื่อป้อนให้กับตลาดท้องถิ่นและรับบริการจากตลาดท้องถิ่นทำให้โตโยต้าสามารถปรับกระบวนทัศน์การผลิตหากเกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยน

 

       ส่วนการปรับขึ้นราคาของผู้ส่งมอบอาจบรรเทาปัญหาด้วยหลายแนวทาง เช่น การทำสัญญาระยะยาวการจัดหาผู้ส่งมอบรายใหม่และการสต็อกเผื่อในรายการที่จำเป็นแต่การการวางแผนจัดซื้อระยะยาวมักเกิดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อผลการดำเนินงาน หากราคาที่เคยตกลงไว้มีการปรับลดลงภายหลังซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดทุนอย่างการทำสัญญาซื้อน้ำมันที่ราคา 140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลเป็นระยะเวลา 2 ปีของสายการบินแห่งหนึ่งและราคาน้ำมันเกิดการปรับลดต่ำกว่า 40 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลส่งผลให้สายการบินดังกล่าวไม่สามารถแข่งขันกับสายการบินอื่นและกำลังอยู่สภาพใกล้ล้มละลาย

 

       สำหรับการทำสัญญากับผู้ส่งมอบรายอื่นจะเกิดประสิทธิผลเมื่อองค์กรสามารถรักษาระดับการผลิตเฉกเช่นโตโยต้าที่มุ่งความประหยัดจากขนาดระดับท้องถิ่นด้วยการจัดหาผู้ส่งมอบรายเดียวแต่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ส่งมอบทั่วโลกเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการจัดซื้อแต่ผู้ผลิตบางรายอาจใช้ผู้ส่งมอบหลายรายแม้ว่าจะไม่เกิดความประหยัดจากขนาดก็ตามโดยมุ่งตรวจติดตามเพื่อประเมินและเทียบเคียงผลงานระหว่างผู้ส่งมอบ

 

       สำหรับประเด็นการควบคุมสต็อกแบบทันเวลาพอดีเริ่มพูดถึงกันมากหลังเกิดเหตุการณ์ 911 แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ คือ การสร้างระบบสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งการเติมเต็มในสถานการณ์ปกติ และสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์ฉุกเฉิน อย่าง

โรงพยาบาลที่เก็บยาสำคัญบางตัวไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินแต่การลดความเสี่ยงสินค้าคงคลังไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือ การเติมเต็มสินค้าตามอุปสงค์ลูกค้าซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้บริหารจะต้องหาแนวทางป้องกันความผันผวนที่จะส่ง

ผลกระทบต่อการเติมเต็มอุปสงค์นั่นคือ การใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงด้วยการรวมสินค้าคงคลัง (Inventory Pool) เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการส่งมอบที่ส่งผลให้เกิดปัญหาของขาดและการใช้ผู้ส่งมอบมากกว่าหนึ่งรายเพื่อลดความสูญเสียเมื่อผู้ส่งมอบไม่สามารถจัดหาของได้ทันเวลา ด้วยเหตุนี้อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสนับสนุนการป้องกันความเสี่ยงนั่นคือ การแบ่งปันข้อมูลอย่างรวดเร็วทางออนไลน์เพื่อให้คู่ค้าระดับปลายน้ำสามารถใช้ข้อมูลในการวางแผนนอกจากนี้ยังสนับสนุนผู้สั่งซื้อเพื่อสืบค้นข้อมูลแหล่งจัดหาปัจจัยการผลิตจากตลาดทั่วโลก

 

การเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าระหว่างคู่ค้า

 

       แต่ปัญหาที่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ประสบคือ การสต็อกมากเกินความจำเป็นซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยเฉพาะปัญหาการเสื่อมสภาพของสินค้าอย่างสินค้าประเภทเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีระยะการสต็อกราว 3-4 เดือน หากจัดเก็บสต็อกนานกว่าระยะเวลาดังกล่าวก็จะส่งผลให้เกิดผลการขาดทุนจากต้นทุนการจัดเก็บและการลดลงของราคาสินค้า นอกจากนี้ความหลากหลายประเภทสินค้าเพื่อมุ่งตอบสนองให้กลุ่มลูกค้าตามคำสั่งซื้อได้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นอย่างกรณีผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายระบบสื่อสาร (Network Equipment) รายใหญ่ใช้กลยุทธ์ว่าจ้างผู้ผลิตภายนอก (Outsourcing)

 

       ทำให้ลดความสูญเปล่าการจัดเก็บสต็อก หรือกรณีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายรายได้สั่งซื้อชิ้นส่วนจากผู้ผลิตภูมิภาคอื่นที่มีต้นทุนแรงงานถูกกว่ากลยุทธ์ดังกล่าวถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรข้ามชาติที่มุ่งสร้างความสามารถการแข่งขันจากฐานการผลิตภูมิภาคอื่น ดังนั้นผู้บริหารสามารถบรรเทาปัญหาด้วยทางเลือกหลายแนวทาง ดังเช่น การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานร่วมกัน (Common Part) และกลยุทธ์เลื่อนเวลา (Postponing) เพื่อชะลอการประกอบขั้นสุดท้ายจนกว่าได้รับคำสั่งซื้ออย่างกรณี

Hewlett-Packard (HP) ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาและมลรัฐวอชิงตันสหรัฐอเมริกาดำเนินกลยุทธ์การเลื่อนเวลาทางรูปแบบสินค้า (Form Postponement) โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าแต่ละถูมิภาคจะมีมาตรฐานอุปกรณ์เชื่อมต่อ อย่าง สายไฟ เครื่องแปลงไฟและฉลากคำแนะนำต่างกัน ดังนั้น HP จึงชะลอการประกอบขั้นสุดท้ายด้วยการสต็อกชิ้นส่วนมีมาตรฐาน สายไฟ และเครื่องแปลงไฟที่ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (Regional Distribution Center) เพื่อตอบสนองอุปสงค์ให้ลูกค้าแต่ละภูมิภาคเมื่อทราบอุปสงค์แท้จริงหรือได้รับคำสั่งซื้อ

 

Credit : โกศล ดีศีลธรรม
By : www.SoGoodWeb.com

 

โดย :
 11870
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคยไหมค่ะ เวลาที่เราไปสถานที่หนึ่ง แล้วอยากได้พิกัดของสถานที่นั้นๆ เพื่อเอาไปใช้กับงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ให้เพื่อนๆ ตามมาโดยสะดวก หรือเพื่อปักหมุดเก็บไว้ใช้ในกรณีอื่นๆ วันนี้ทีมงานSoGoodWeb มีวิธีการง่ายๆ ที่จะดูพิกัดจากระบบ Android โดยไม่ต้องพึ่ง App เสริมใดๆ มาฝากกันค่ะ เพียงคุณใช้โปรแกรม Google Map ที่ติดมากับเครื่อง แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ
Trello เป็นเครื่องมือที่ให้บริการฟรี ยืดหยุ่น และเป็นวิธีที่เป็นภาพชัดเจนในการจัดการทุกๆ สิ่งกับทุกๆ คน
ให้บริการบนระบบ Cloud Computing, ลูกค้าได้รับเว็บไซต์ที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร, เว็บไซต์มีความสวยงาม ตามประเภทธุรกิจ, ลูกค้ามอบหมายให้ CreativeWeb เป็นผู้จัดทำเว็บไซต์แทนลูกค้า

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์