• หน้าแรก

  • เทคโนโลยี

  • เช็ครายชื่อธุรกิจเงินดิจิทัล ถูกกฎหมาย-ผิดกฎหมาย ! ป้องกันเสี่ยงถูกหลอก

เช็ครายชื่อธุรกิจเงินดิจิทัล ถูกกฎหมาย-ผิดกฎหมาย ! ป้องกันเสี่ยงถูกหลอก

  • หน้าแรก

  • เทคโนโลยี

  • เช็ครายชื่อธุรกิจเงินดิจิทัล ถูกกฎหมาย-ผิดกฎหมาย ! ป้องกันเสี่ยงถูกหลอก

เช็ครายชื่อธุรกิจเงินดิจิทัล ถูกกฎหมาย-ผิดกฎหมาย ! ป้องกันเสี่ยงถูกหลอก

แม้ปัจจุบันการซื้อ-ขายเงินดิจิทัล (Crypto Currency) ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะเปิดให้มีการลงทุนและทำธุรกิจได้อย่างถูกต้องแล้ว ตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 แต่การลงทุนดังกล่าว ก็ยังต้องลงทุนผ่านผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสเกิดการหลอกลวงได้ง่าย


          เห็นได้จากที่ผ่านมา ก.ล.ต. มีประกาศเตือนอยู่เรื่อย ๆ เกี่ยวกับการชักชวนให้นักลงทุนซื้อ-ขายเงินดิจิทัลแบบผิดกฎหมาย ทั้งการลงทุนผ่านเว็บไซต์สินทรัพย์ดิจิทัล, เปิดกระดานแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล, ชักชวนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อร่วมลงทุนโครงการต่าง ๆ หรือ เสนอขายโทเคนดิจิทัลใหม่ (ICO) เป็นต้น ทั้งนี้ Money2knowจึงได้รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัล มาให้ตรวจสอบกันว่ามีรายไหนบ้างได้รับอนุญาต-ไม่ได้รับอนุญาติ จาก ก.ล.ต.   

รายชื่อธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีใบอนุญาต 

          สำหรับปัจจุบัน พบว่ามีผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้รับอนุญาต จาก ก.ล.ต. ให้ประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 33 ราย ดังนี้ 

  1. payniex.com 
              2. misterchanger.com 
              3. thaiexchanger.com 
              4. egtexchange.com 
              5. digicardshop.com 
              6. superrichexchanger.com 
              7. emoneythai.com 
              8. i-exch.com 
              9. exchangercoin.com 
              10. gamershoppings.com 
              11. ecurrencyplus.com 
              12. ecurrencythailand.com 
              13. lnwexchanger.com 
              14. Facebook "rexchange168" 
              15. fxprimus.com (FXPRIMUS) 
              16. financial.org 
              17. บริษัท เอ็ม อาร์ ซี-บิช จำกัด (MRC-BIZ) 
              18. บริษัท Q Exchange 
              19. investglobalmanagement.com 
              20. iqoption.com 
              21. บริษัท ดีบี โฮลด์ จำกัด (มหาชน) (DB Hold) 
              22. Facebook "สอนมือใหม่เล่นหุ้น" 
              23. Facebook "พิมพ์ นารา (Pimnara Poonsawat)" 
              24. Facebook "Befaii Suwinya" 
              25. Every Coin 
              26. Orientum Coin หรือ ORT Coin 
              27. OneCoin และ OFC Coin 
              28. Tripxchain Coin หรือ TXC Coin 
              29. TUC Coin 
              30. ICO โดย G2S Expert 
              31. ICO โดย Singhcom Enterprise 
              32. ICO โดย Adventure hostel Bangkok 
              33. ICO โดย Kidstocurrency 

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาต 
 
          ขณะที่ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต สามารถลงทุนได้แบบถูกกฎหมายนั้น ปัจจุบันมีด้วยกัน 7 ราย แบ่ง ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) 5 ราย และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) 2 ราย  
 ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) 5 ราย ได้แก่ 
 
          1. บริษัท บิทคอยน์ จำกัด (BX) เว็บไซต์ : bx.in.th 
          2. บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BITKUB) เว็บไซต์ : bitkub.com 
          3. บริษัท แคชทูคอยน์ จำกัด (Cash2coin) เว็บไซต์ : cash2coins.com 
          4. บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (TDAX) เว็บไซต์ : tdax.com 
          5.  บริษัท คอยน์ แอสเซท จำกัด (Coin Asset) เว็บไซต์ : coinasset.co.th  
          ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) 2 ราย ได้แก่ 
          1. บริษัท คอยส์ ทีเอช จำกัด (Coins TH) เว็บไซต์ : Coins.co.th 
          2. บริษัท ดิจิทัลคอยน์ จำกัด (ThaiWM) เว็บไซต์ : thaiwm.com 

          การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการลงทุนรูปแบบนี้ มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น การตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ หากนักลงทุนมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถสอบถามได้ที่ Help Center ของ ก.ล.ต. โทร. 1207  
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : money.kapook 
โดย :
 2907
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2022 Google ประกาศว่า ในไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึงนี้จะมีการนำฟีเจอร์ทั้งหมดของ
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” เพราะ Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมาย บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่า ทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย
บริโภคส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ทั้งนี้เพราะ ตรายี่ห้อทำให้ผู้บริโภคแน่ใจว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการถูกต้องแล้ว และมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่ซื้อภายใต้ยี่ห้อที่ระบุไว้นั้น ตรายี่ห้อทำให้กระบวนการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์