ความเข้าใจถึงผู้ใช้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญและนำพาให้ธุรกิจของเรา นั้นประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เมื่อไรที่เราสามารถเข้าถึงใจผู้ใช้ได้และตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ในทันที อาการ "ติดหนึบบริการ" ของเราก็จะค่อยๆ เกิดขึ้น และถ้าเราเข้าถึงใจ (หรือถูกใจ) ลูกค้าหลายๆ คนที่มีปัญหาเหมือนๆ กันได้ โอกาสที่ Web Services ที่เราออกแบบไว้จะอยู่อย่างยั่งยืนก็จะ
ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้น
ทั้ง 5 ข้อนี้คือลักษณะของผลงานดิจิทัลพร้อมทั้งตัวอย่างเว็บที่สามารถเข้าใจธรรมชาติของผู้คนในยุคปัจจุบันและสนองความต้องการของพวกเขาได้
ทุกวันนี้คนเรามีความคิดสร้างสรรค์มากมายที่อยากจะถ่ายทอดออกมา ผลงานศิลปะต่างๆ ไม่ได้จำกัดอีกต่อไปว่าต้องมาจากศิลปินเท่านั้น แต่ทุกคนมีสิทธิที่จะสร้างสรรค์ผลงานและเผยแพร่ได้ด้วยตัวเองผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ต่างจากสมัยก่อนที่งานศิลปะนั้นหาดูได้จาก Art Gallery เท่านั้น การมีเว็บรวบรวมผลงานก็เหมือนเป็นศูนย์กลางการปล่อยไอเดียที่มีเพื่อให้คนอื่น ได้ชื่นชม ได้โหวต ได้แสดงความคิดเห็นถึงผลงานทีเราได้สร้างสรรค์ขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานในสายนี้ จากแมวมองที่คอยหานักสร้างสรรค์ผลงานหน้าใหม่จากเว็บประเภทนี้อีกด้วย
ตัวอย่างเว็บประเภทนี้คือ Behance ของนาย Scott Belsky ผู้มีวิสัยทัศน์ในการทลายกำแพงระหว่างงานศิลปะที่เคยตั้งอยู่แค่เพียงใน Gallery ให้เข้าถึงคนทั่วไป ทั้งผู้ชมและเจ้าของผลงานผ่านทางหน้าจออุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเว็บรวบรวมผลงานศิลปะนี้ก็ยังมีระบบการแบ่งหมวดหมู่อย่างละเอียด จนถูกใจผู้ชมแต่ละไลฟ์สไตล์ได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นการหาจากประเภทผลงาน ดูจากความนิยม ตามเวลา หรือแม้แต่เมืองที่ให้กำเนิดผลงานนั้นๆ รวมถึงเว็บนี้ยังใช้เป็นตลาดหางาน ระหว่าง
ผู้จ้างที่เข้ามาหาเจ้าของผลงานที่ถูกใจเพื่อจ้างพวกเขา หรือใช้สำหรับเจ้าของผลงานทีเข้ามานำเสนอผลงานของตัวเองเพื่อหางานก็ยังได้
• Glossom ซึ่งเป็นเว็บที่มีลักษณะเหมือนกับ Behance
• Logopond ที่เป็นแหล่งแสดง และแลกเปลี่ยนผลงานแต่เน้นไปทาง logo เท่านั้น
• design:related ที่เป็นเว็บรวบรวมผลงานที่มีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าปกหนังสือ แพ็คเกจผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่รูปแบบสถานที่มากมาย
เป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับเจ้าของไอเดียธุรกิจที่น่าสนใจ แต่กลับไม่มีเงินทุนมาช่วยสนับสนุน ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเว็บไซต์ก็ได้ดำเนินมาสู่ยุคของ Crowdsourcing ที่อาศัยผู้เริ่มต้นเป็นคนตั้งต้นอะไรบางอย่าง ก่อนที่จะใช้ผู้คนสนับสนุนมากกว่าหนึ่งคนเป็นแรงขับเคลื่อนเว็บไซต์เพื่อ วัตถุประสงค์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ก็มีการสร้างเว็บประเภทนี้มาหลายประเภทแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ทุน หรือความคิดเห็นต่างๆ
ซึ่งหลักการของเว็บประเภทนี้คือเปิดช่องทางให้ผู้ที่สนใจที่จะเปิดธุรกิจ และคิดว่ามีไอเดียดีมาพรีเซนต์ถึงธุรกิจตัวเองว่ามี
รายละเอียด จุดเด่นและความน่าสนใจอย่างไร อาจมีตัวอย่างสินค้าและบริการมาลงไว้เพื่อกระตุ้นความสนใจจากบรรดานายทุนได้มากขึ้น ซึ่งบรรดานายทุนที่ว่านี้ก็ไม่ใช่ใครแต่เป็นคนทั่วไปที่เข้ามาดูในเว็บ แล้วอยากมีส่วนร่วมในการเปิดร้านเหล่านี้ โดยใช้เงินเริ่มต้นเพียง 10$ เท่านั้นก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเหล่านี้ได้แล้ว โดยผลตอบแทนสำหรับนายทุนรายย่อยเหล่านี้ก็คือสินค้าและบริการจากทางร้านตาม ข้อกำหนดที่ตั้งไว้นั่นเอง ซึ่งโมเดลธุรกิจนี้ถือเป็นการสนับสนุนการสร้างธุรกิจในชุมชนให้มีเงินหมุน เวียนในชุมชนของตัวเอง รวมถึงถ้าหากมีร้านที่น่าสนใจมากๆ ก็จะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมกันได้อีกด้วย
ตัวอย่างเว็บประเภทนี้ได้แก่ Kickstarter ที่มีจุดประสงค์เพื่อหาเงินลงทุนให้กับบรรดาธุรกิจไอเดียดีแต่ขาดเงินในการเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่ง Business Model (โมเดลธุรกิจ) ชนิดนี้สร้างผลกำไรให้กับทุกฝ่ายมีแต่ได้กับได้ โดยกำไรของทาง Kickstarter นั้นจะได้จากปริมาณของธุรกิจที่ได้รับเงินทุน ส่วนฝ่ายที่หาเงินทุนก็จะได้เงินทุนตามต้องการ ถ้าหากมีไอเดียธุรกิจที่เข้าตาบรรดานายทุนรายย่อยอย่างคนทั่วไปหลายๆ คน และฝ่ายที่ให้เงินทุนก็ถือเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเปิดธุรกิจด้วยเงินเพียง ไม่กี่บาทเท่านั้น และยังได้ผลตอบแทนเป็นสินค้าและบริการภายในร้านอีกด้วย
• threadless ก็เป็นเว็บไซต์การรวมตัวกันของกลุ่มดีไซเนอร์ที่มาขายของดีไซน์สวยๆ มากมาย
• INNOCENTIVE เป็นเว็บที่เปิดโอกาสให้องค์กรมาระบุปัญหาที่ต้องแก้ไขในองค์กรตัวเองเอาไว้ และให้คนในทุกสาขาอาชีพมาช่วยนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหา
• Siamsquare ของไทย ก็เป็นเว็บที่เป็นร้านแฟชั่นออนไลน์ที่ใช้โมเดลของ Crowdsourcing เช่นกัน
• Starbuck ก็เคยจัดตั้ง My Starbucks Idea เพื่อชวนคอกาแฟมาร่วมออกความเห็นต่างๆ ให้กับ Starbucks เพื่อนำไปปรับใช้จริง
รูปแบบของเว็บประเภทนี้คือเปลี่ยนจากการแชร์ความคิดเห็น แชร์รูป เป็นการแบ่งปันเรื่องราวที่เราแต่งขึ้น หรือเรื่องราวที่
เกิดขึ้นจริงด้วยตัวเราเองแทน ทำให้เว็บประเภทนี้เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่รวบรวมประสบการณ์และเรื่องราวที่หลากหลายจากผู้คนทั่วทุกมุมโลกที่ต้องการเผยแพร่เรื่องเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้อ่านและรับรู้เรื่องราวประสบการณ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจได้บ้าง
ด้วยความหลงใหลในการเล่าเรื่องแต่เบื่อในรูปแบบเดิมๆ ของเว็บทั่วๆ ไปทำให้ Jonathan Harris ตัดสินใจสร้างเว็บไซต์ Cowbird ที่อนุญาตให้คนทั่วไปได้มาโพสเรื่องราวของตัวเองกันอย่างแพร่หลาย และยังมีฟังก์ชันให้คนดูได้กด Love สำหรับเรื่องราวที่ถูกใจ และปุ่ม Retelling สำหรับเรื่องที่น่าสนใจจนอยากจะบอกต่อให้กับผู้อื่นลองอ่านดูบ้าง จนกลายเป็น Community ของคนชอบเล่าเรื่องที่มีการตกแต่งที่เก๋ไก๋สวยงามน่าใช้ รวมถึงยังมีการแบ่งหมวดหมู่ตามความสนใจของไลฟ์สไตล์แต่ละคนให้ได้ลองอ่านกัน ดูด้วย จึงถือเป็นอีกแพลตฟอร์มการเล่าเรื่องดีๆ ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าไปร่วมแชร์ประสบการณ์ร่วมกันได้ไม่ยากเลย
หากใครสนใจเข้าไปเขียน หรืออ่านเรื่องราวเหล่านี้ก็ยังมีอีกหลายเว็บไซต์เช่น FanStory, SHARED STORIES, Stories.coop หรือ Shared Story Worlds
เป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับในยุคที่คนส่วนใหญ่ใช้ Social network เป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตนของเราให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ ว่าในขณะนั้น เราคิดอะไรอยู่ เราอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร ก็เป็นสิ่งที่เราต้องการให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งรูปแบบของเว็บประเภทนี้ก็จะมีแตกต่างกันออกไป Foursquare ก็ยังคงเป็นเว็บที่สนุกสำหรับการอัปเดตให้คนอื่นรู้ได้ว่าเราอยู่ที่ไหน พร้อมทั้งยังมีลูกเล่นในการสะสมตราสัญลักษณ์เมื่อเรา check-in ได้ครบตามเงื่อนไขต่างๆ เป็นต้น
นอกจาก Four Square แล้วก็ยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมายอย่าง App.net ก็เป็นเว็บหรูๆ อีกหนึ่งเว็บ ที่มีลักษณะคล้ายกับ Twitter ในอุดมคติของผู้ใช้ เพราะต้องเสียค่าสมัครเป็นรายปีถึงจะมีสิทธิใช้ได้ เมื่อสมัครแล้วเราก็จะมีสิทธิโพสเรื่องราวต่างๆ ใน Timeline ไม่ต่างจากใน Twitter เลย หรือจะเป็นเว็บแนะนำร้านอาหารของคนไทยอย่าง Wongnai ที่ให้ผู้คนมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับร้านอาหารที่ตัวเองได้ไปลิ้มลองมา จากร้านต่างๆ ซึ่งนอกจากจะให้เรทติ้ง และคำแนะนำได้แล้ว ก็ยังสามารถ check-in ตามร้านต่างๆ ที่เราเคยไปกินมา เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ติดตามประวัติการกินของเราได้ด้วย
เว็บไซต์ประเภทนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจคนมีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมใดสักอย่างให้สำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ตัวเว็บอาจใช้การจัดอันดับหรือมีลูกเล่นต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนานและกระตุ้นให้ผู้เข้าใช้สนใจที่จะเริ่มต้นกิจกรรม เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น รวมถึงการแชร์สิ่งต่างๆ ที่ของสิ่งที่เราตั้งใจจะทำว่ามีการพัฒนาไปในทางใดบ้าง ติดปัญหาอะไร หรือมีความคืบหน้า
มากแค่ไหน มาให้คนคอยได้ติดตามและช่วยเสนอความเห็นต่างๆ หรือแม้แต่ให้กำลังใจกับพวกเขาได้อีกด้วย
เหมือนอย่างเว็บไซต์ FITOCRACY ของ Brian wang ที่มีจุดยืนชัดเจนในการผลักดันให้คนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นโดยเริ่มจาก การออกกำลังกายหรือเล่นฟิตเนต ที่จะทำให้เราไม่ต้องเล่นคนเดียวให้เหงาอีกต่อไป เพราะเราสามารถแชร์เรื่องราว สูตรการออกกำลังกาย สูตรการกินอาหาร และผลความคืบหน้าต่างๆ ว่าน้ำหนักลดไปเท่าไรแล้ว ตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน รวมไปถึงการจัดวางตารางการออกกำลังกายต่างๆ ที่ให้คนอื่นเข้ามารับชมกันได้ นอกจากนี้ถึงมีระบบ level และค่าประสบการณ์ของผู้ใช้แต่ละคนเป็นรางวัลเมื่อมีการออกกำลังกายอีกด้วย โดยในทุกๆ สัปดาห์ก็จะมีการจัดอันดับคนที่เป็นผู้เข้าใช้ที่น่าจับตามองที่สุดใน สัปดาห์นั้นๆ ยิ่งทำให้การออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นในครั้งนี้น่าสนใจกว่าการเล่นคนเดียวเป็นอย่างมาก
ความต้องการเหล่านี้อยู่รอบตัวเราแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่อยากแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้คนอื่นได้เห็นกลุ่มผู้สนใจลงทุนธุรกิจแต่ยังไม่มีทุน คนที่ชอบแชร์เรื่องราวให้คนอื่น คนที่ชอบแสดงตัวตนของตัวเองให้คนอื่นยอมรับ และสุดท้ายกลุ่มคนที่ต้องการแรงผลักดันในชีวิตเพื่อให้มีกำลังใจไปสู่ความสำเร็จมากขึ้น เพียงแค่เราลองสังเกตว่าคนรอบตัวเราต้องการอะไร เพื่อตอบสนองในความต้องการเหล่านั้น เพียงเท่านี้ธุรกิจที่เราสร้างมาย่อมประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
Credit : incquity.com