แก่นของกลยุทธ์

แก่นของกลยุทธ์

 

 

 

ผมเขียนหนังสือเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์มาก็หลายเล่มแต่เรื่องหนึ่งที่ยังไม่เคยเขียนถึงเลยเกี่ยวกับกลยุทธ์คือ สรุปแล้วแก่นของกลยุทธ์คืออะไร?

 

กูรูกลยุทธ์แต่ละท่านอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันไปบ้างว่า อะไรคือสาระสำคัญที่สุดของเรื่องกลยุทธ์ แต่ตามมุมมองของผมแล้ว แก่นของกลยุทธ์คือการสอนให้เรารู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดของเราไปในทางที่ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุดจะว่าไปแล้วก็คล้ายๆ กับแก่นของวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วยเหมือนกัน

 

กรอบความคิดด้านกลยุทธ์ที่เรียกว่า SWOT ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีนั้น เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดอันหนึ่ง เพราะสาระสำคัญของ SWOT คือการสอนให้เราตรวจสอบตัวเองว่า ตัวเรามีอะไรเป็นข้อได้เปรียบ (Strengths) และข้อเสียเปรียบ (Weaknesses) บ้าง และในขณะเดียวกันก็พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วยว่า มีโอกาส (Opportunities) และอันตราย (Threats) ซ่อนอยู่ตรงไหนบ้าง เพื่อที่เราจะได้ใช้ข้อได้เปรียบที่เรามีไปในทางที่ทำให้เราได้รับโอกาสมากที่สุด และพยายามวางตนให้อยู่ในตำแหน่งที่ข้อเสียเปรียบของเรา จะถูกโจมตีโดยภัยคุกคามให้มากที่สุดด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ข้อได้เปรียบ (ทรัพยากร) ของเราก่อประโยชน์ได้สูงที่สุดนั่นเอง

 

เรื่องแบบนี้บางทีก็เหมือนเป็นสามัญสำนึก แต่เราก็ไม่ค่อยจะได้ทำกัน เพราะมัวแต่มึนงงอยู่กับปัญหาประจำวันถ้าเป็นหลักกลยุทธ์แข่งขันทางธุรกิจของ Micheal E.Porter ก็สอนให้พิจารณาสิ่งแวดล้อม 5 อย่างของบริษัท (Porter's Five Forces) ได้แก่ ลูกค้า ซัพพลายเออร์ คู่แข่งปัจจุบัน คู่แข่งขันรายใหม่ และสิ่งทดแทน แล้วเลือกกลยุทธ์ที่ทำให้เราและบริษัทอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบหรือได้รับผลกระทบจากแรงดึงทั้ง 5 ในเชิงบวกมากที่สุด

แม้แต่ ซุนวู ก็ยังบอกให้แม่ทัพพิจารณาปัจจัยแวดล้อม 5 อย่าง (แม่ทัพ ขวัญทหาร ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ความชอบธรรม) ว่าฝ่ายไหนมีข้อได้เปรียบมากกว่ากัน ก็จะรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายมีชัยในที่สุด ดังนั้นคนเราไม่ว่าจะทำอะไรให้สำเร็จนั้น จึงต้องเริ่มต้นจากการประเมินสถานการณ์แวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้ดีที่สุดก่อน (รู้เขาและรู้เรา) แล้วจึงเลือกกลยุทธ์หรือวิธีการที่จะทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากที่สุดภายใต้สถานการณ์นั้นๆ นั่นเอง

 

ถ้าหากจะพิจารณานี้ให้ดีจะเห็นได้ว่า คำว่า "กลยุทธ์" นั้นจะเกี่ยวข้องกับคำว่า "เลือก" อยู่เสมอ นั่นคือ เราต้องเลือก ถึงจะเรียกว่า มีกลยุทธ์เด็กมัธยมที่ตั้งปณิธานกับตัวเองก่อนสอบว่าจะตั้งใจอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อนสอบ แบบนี้เป็นแค่เด็กที่มีความพยายาม แต่ไม่ใช่เด็กที่มีกลยุทธ์ เพราะการอ่านหนังสือให้มากที่สุดมันก็เป็นเรื่องที่นักเรียนทุกคนควรทำอยู่แล้ว แต่เด็กที่บอกว่าจะเลือกอ่านวิชาที่ถ้าหากใช้เวลาที่เหลืออยู่กับมันให้มากที่สุด จะทำคะแนนรวมเพิ่มขึ้นได้เยอะที่สุด ให้มากกว่าวิชาที่อ่านยังไงก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่ดี แบบนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นเด็กที่มีกลยุทธ์ เพราะรู้จักเลือกที่จะทำบางอย่างเพื่อให้ทำได้ดีเป็นพิเศษ โดยแลกกับการสละบางสิ่งบางอย่างไป เพื่อให้ผลลัพธ์สุทธิที่ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เด็กสองคนที่มีทรัพยากร (เวลาและสติปัญญา) เท่ากัน คนที่มีกลยุทธ์จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า เพราะรู้จักใช้ทรัพยากรให้ได้ผลลัพธ์กลับมามากกว่าเลือกที่จะเจาะกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มเพื่อให้สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนั้นๆ ได้ดีเป็นพิเศษ และทำให้เกิดความชัดเจนในภาพลักษณ์ของตัวสินค้า จนเกิดเป็นจุดแข็งที่คู่แข่งเลียนแบบได้ยาก คือตัวอย่างของธุรกิจที่มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจแล้ว

 

เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องไม่เข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่า กลยุทธ์ ก็คือว่า การมีกลยุทธ์แล้วไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นผู้ชนะหรือต้องประสบความสำเร็จเสมอไป การมีกลยุทธ์ที่ดีเป็นเพียงการเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จให้สูงที่สุดเท่านั้น แต่สุดท้ายแล้วจะประสบความสำเร็จหรือไม่ยังต้องขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีอยู่เปรียบเทียบกับระดับความยากของอุปสรรคที่อยู่ตรงหน้าด้วย กลยุทธ์จึงไม่ได้การันตีความสำเร็จ แต่ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้เท่านั้น กองทัพที่มีทหารแค่ 500 คน ต่อให้มีกลยุทธ์ที่ดีขนาดไหนก็ยังยากที่จะเอาชนะกองทัพที่มีทหาร 5000 คนได้ แต่การมีกลยุทธ์ที่ดีย่อมดีกว่าไม่มีเลย

 

มีคนเคยถาม Porter ว่าที่จริงแล้วเราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์เสมอไปหรือเปล่า Porter ตอบว่า เว้นเสียแต่ว่าคุณจะมีทรัพยากรมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างมากมายมหาศาลขนาดที่ว่าต่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองแค่ไหนก็ยังเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่แล้ว เราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ด้วยกันทั้งนั้น บริษัทที่ยิ่งใหญ่ในยุคหนึ่งอย่างไมโครซอฟท์ตอนจุดสูงสุดอาจเลือกแข่งขันในทุกตลาดก็ได้ แต่สุดท้ายแล้วบริษัทแบบนี้ก็อาจแพ้ภัยตัวเองในที่สุด เพราะการขาดการโฟกัสที่ดีพอมีอีกสถานการณ์หนึ่งที่นักกลยุทธ์ยอมรับว่าเราอาจยังไม่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนก็ได้ ได้แก่ สถานการณ์ที่ทุกอย่างเพิ่งเริ่มต้น หรือเป็นสภาวะแวดล้อมที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะการมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนเกินไปอาจทำให้กลับตัวไม่ทันเวลาที่สถานการณ์เกิดการพลิกผันแบบกลับตาลปัตร การเหยียบเรือหลายแคมเอาไว้ก่อนแล้วรอจนกว่าสถานการณ์จะเริ่มนิ่งแล้วจึงค่อยๆ เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด จึงอาจเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในสถานการณ์เฉพาะแบบนั้น แต่ในสถานการณ์ส่วนใหญ่แล้ว เรามีควรมีกลยุทธ์ครับ

 

Credit : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ , กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
By : www.SoGoodWeb.com

 

 

โดย :
 3839
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แม้ตลาดสินค้าเด็กจะเป็นเพียงกลุ่มสินค้าเฉพาะสำหรับเด็กเล็ก ๆ แต่สินค้าเฉพาะเหล่านี้กลับเติบโตอย่างต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มว่ายังต้องการ “ไอเดียใหม่ ๆ” ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์พ่อแม่ยุคปัจจุบันมากขึ้น
สำหรับคนที่ทำการตลาดออนไลน์มา คงเคยรู้จักหรือได้ยิน 2 คำนี้มาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยว่า 2 อย่างนี้ แตกต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนที่ดีกว่ากัน แล้วธุรกิจของเราควรเลือกทำแบบไหน วันนี้ทีมงาน SoGoodWeb จะมาเล่าให้ฟังว่า 2 คำนี้ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรา เรามาเริ่มกันเลยน่ะค่ะ
การจัดซื้อเป็นหนึ่งในกิจกรรมโสจิสติกส์ขององค์กร ซึ่งในอดีตหลายองค์กรเข้าใจว่าการจัดซื้อเป็นงานที่ง่ายมาก ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเพียงแต่ติดต่อผู้ขายให้เสนอราคาและส่งมอบให้หน่อยงานที่ต้องการจัดซื้อหรือฝ่ายจัดซื้อ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์