Influencer Marketing ทางเลือกใหม่ของการทำการตลาดออนไลน์

Influencer Marketing ทางเลือกใหม่ของการทำการตลาดออนไลน์

        ถ้าพูดถึงการตลาดที่ได้ผลที่สุดวิธีหนึ่ง หลายคนย่อมนึกถึงการตลาดแบบปากต่อปาก (Word of Mouth Marketing) เพราะเป็นการสื่อสารและบอกต่อกันระหว่างผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าจริงๆ ดังนั้นหลายๆ แบรนด์จึงเลือกที่จะใช้การตลาดแบบใช้คนที่มีชื่อเสียงอย่าง Influencer Marketing เพราะเปรียบเสมือนหนึ่งในผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้า และมีอิทธิพลในการบอกต่อ และโน้มน้าวให้คนมาใช้สินค้าและบริการตาม
Influencer คืออะไร

        Influencer คือ ผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล โดยเป็นผู้ที่ทำคอนเทนต์เผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube แล้วมีคนสนใจติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก ผู้ติดตามส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยทำงาน และมักคล้อยตามเนื้อหาหรือสิ่งที่ Influencer พูดโน้มน้าวใจได้ง่าย เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและจริงใจกว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ


Influencer Marketing คืออะไร

        Influencer Marketing หมายถึง ประเภทของการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้ Influencer ในการประชาสัมพันธ์ โฆษณา และสื่อสารตราสินค้า เพื่อเป้าประสงค์ทางการตลาด โดยเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์และตัวอินฟลูเอนเซอร์


ประเภทของ
Influencer

        Influencer สามารถแบ่งได้หลายประเภท ส่วนใหญ่มักแบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม ดังนี้

1. Nano Influencer: ผู้ติดตาม 1,000 - 10,000 คน

        เปรียบเสมือนบุคคลทั่วไปที่มีอิทธิพลในหมู่คนรู้จักหรือเพื่อนๆ เช่น ดาวโรงเรียน นักกีฬา ประธานนักเรียน หรือแม้แต่คนที่มีลักษณะโดเด่นจนเป็นที่น่าจดจำในหมู่เพื่อนๆ ทำให้การว่าจ้างจึงไม่สูงมากนัก และยังมีอิทธิพล มีความน่าเชื่อถือต่อบุคคลรอบข้างทั้งเพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก ฯลฯ

2. Micro Influencer: ผู้ติดตาม 10,000 - 50,000 คน

        มีฐานแฟนคลับจากแนวทางหรือคอนเทนต์ที่นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ และสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถดึงดูดผู้คนได้มากขึ้น และจะมีแนวทางการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจน เช่น ช่องทำอาหาร ช่องรีวิวร้านอาหาร ช่องท่องเที่ยว ฯลฯ ทำให้แบรนด์สินค้าสามารถเลือกว่าจ้างได้อย่างมีจุดประสงค์มากขึ้น

3. Mid-Tier Influencer: ผู้ติดตาม 50,000 - 100,000 คน

        มักจะมีแนวทาง และตัวตนที่ชัดเจนอยู่แล้ว และยังมีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้คนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รู้ว่ากลุ่มผู้ติดตามต้องการอะไร คอนเทนต์ลักษณะไหนที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ติดตามได้ ทำให้สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ได้ตรงกลุ่มมากยิ่งขึ้น เช่น ชอบคอนเทนต์แนวรีวิวอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

4. Macro Influencer: ผู้ติดตาม 100,000 - 1,000,000 คน

        กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเป็นอาชีพมากยิ่งขึ้น และมักจะโดดเด่นในช่องทางและแนวทางชัดเจน และส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่สร้างรายได้จากการทำคอนเทนต์ของตัวเอง ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการสร้างการรับรู้ได้ชัดเจน เพราะการสื่อสารมักจะถูกออกแบบมาโดยผ่านกระบวนการคิด และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด รวมไปถึงการทำคอนเทนต์ที่เป็นมืออาชีพ ตัวตนที่โดดเด่, และแนวทางของช่องทางที่ชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วขั้นนี้มักจะหันมาเป็น Influencer เต็มตัว เพราะสามารถหารายได้ที่เพียงพอจากการทำคอนเทนต์ของตัวเองได้แล้ว ทำให้มักจะมีการกลั่นกรองแบรนด์สินค้า และมีความละเอียดในการทำคอนเทนต์

5. Mega Influencer: ผู้ติดตาม มากกว่า 1,000,000 คนขึ้นไป

        บุคคลเหล่านี้จะมีชื่อเสียงมากในด้านด้านหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักกีฬา นักร้อง ที่ผู้คนให้การยอมรับ หรือเป็น Influencer ที่มีชื่อเสียงในวงกว้างซึ่งสามารถช่วยสร้างการรับรู้แบบไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย มีแรงจูงใจที่แตกต่าง เช่น ซื้อสินค้าตามดาราคนนี้ เพราะเป็นแฟนคลับ เป็นต้น


ข้อดีของการทำ
Influencer Marketing

1. เข้าถึงและโน้มน้าวผู้บริโภคได้ดีกว่าการตลาดแบบอื่น

        ผู้บริโภคจะรู้สึกถึงความใกล้ชิดมากกว่าการโฆษณาจากแบรนด์เอง ไม่ว่าจะทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือแบรนด์เนอร์ในเว็บไซต์ต่างๆ เพราะรู้สึกว่ามีผู้ใช้สินค้าจริงและเป็นบุคคลที่ตนรู้จัก ยิ่งเป็น Influencer ที่มีความสนใจตรงกับสินค้าและบริการก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ และโน้มน้าวใจผู้บริโภคได้ดีขึ้น

2. มีผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์

        การเลือกใช้ Influencer ที่เหมาะสมจะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูดีขึ้น หรืออาจเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปเลยก็ได้ เช่น สบู่สมุนไพรที่เดิมมีลูกค้าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ต้องการขยายกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่น การเลือกใช้คนที่มีอิทธิพลในกลุ่มวัยรุ่นก็ส่งผลต่อความคิดที่มีต่อแบรนด์มากขึ้น และช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้

3. วัดและประเมินผลได้

        แบรนด์สามารถดูกระแสตอบรับได้จากยอดการเข้าถึง (Reach) คือ ยอดผู้เข้าชม และยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) คือ จำนวนยอดการกดไลค์ (Like) การแชร์ (Share) การคอมเมนต์ (Comment) ไปจนถึงการตรวจสอบและติดตามข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่คลิกผ่านลิงค์จาก Influencer แล้วเข้าไปซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของแบรนด์ก็สามารถทำได้ เพื่อประเมินผลว่ากลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จหรือไม่ และทำให้วางแผนกลยุทธ์ครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น


กลยุทธ์การทำ Influencer Marketing

        การทำ Influencer Marketing ต้องมีกลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์ดูน่าสนใจ มีเอกลักษณ์ ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุด คือ กลยุทธ์ "SEED Strategy" ซึ่งมีแนวทางกลยุทธ์ ดังนี้

S: Sincere (ความจริงใจ)

        ผู้บริโภคในปัจจุบันรู้เท่าทันสื่อและการตลาดมากขึ้นและยังมีช่องทางการรับข้อมูลมากมาย ดังนั้นการตลาดที่ดีต้องมีความจริงใจ Influencer ที่เลือกใช้ควรเป็นคนที่มีคาแรคเตอร์ของตัวเอง ดูน่าเชื่อถือ เป็นธรรมชาติ และเนื้อหาของการรีวิวไม่ควรพูดถึงแต่ข้อดีของสินค้าจนดูเป็นการอวยเกินไป ให้พูดถึงข้อเท็จจริงด้วย แต่ไม่ใช่การพูดถึงข้อเสีย

E: Expertise (ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน)

        การทำการตลาดที่มีข้อมูลครบถ้วน พิสูจน์ได้ จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าแบรนด์เชื่อถือได้ นำมาสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้นการเลือก Influencer ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านที่ตรงกับแบรนด์จึงเป็นเรื่องสำคัญ

E: Engagement (การเข้าถึง)

        การสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพไม่ได้วัดจากจำนวนผู้ติดตามเพียงอย่างเดียว แต่ทางแบรนด์ควรดูยอด Engagement ด้วย คือ การกดไลค์ (Like) การแชร์ (Share) การคอมเมนต์ (Comment) รวมกันแล้วควรคำนวณได้เป็น 5% ของจำนวนยอดผู้ติดตามทั้งหมด

D: Different (ความแตกต่าง)

        Influencer ในปัจจุบันมีจำนวนไม่ใช่น้อย ดังนั้นนอกจากยอดผู้ติดตาม ความรู้ความเชี่ยวชาญของ Influencer แล้ว ก็ควรเลือกผู้ที่มีเอกลักษณ์ เพื่อให้โดดเด่นออกมาจากคนอื่นๆ โดยต้องไม่ลืมคำนึงถึงความเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย


สรุป

        การทำ Influencer Marketing เป็นหนึ่งในการตลาดใหม่ในยุคดิจิตัลที่เพิ่มทางเลือกให้แบรนด์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทุกแบรนด์เริ่มตระหนักถึงความสำคัญ ทำให้การแข่งขันเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องระวังที่สุดในการทำ Influencer Marketing คือ การเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับแบรนด์และสินค้าที่ต้องการขาย อย่าคำนึงแต่จำนวนผู้ติดตามเท่านั้น เพราะถ้าเลือกไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็จะเป็นการทำตลาดที่เสียเปล่า หรือถ้าคนที่เลือกมามีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่น่าเชื่อถือ ก็จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

 


ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
aun-thai, thewisdom

โดย :
 1507
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บนโลกของ Online Business ในทุกวันนี้ การทำเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า หรือเป็นศูนย์กลางของข้อมูลทุกอย่างอาจไม่เพียงพอต่อการสร้าง Leads เพื่อให้ลูกค้าใหม่เข้ามาหาเรา ดังนั้น เจ้าของธุรกิจจึงต้องหันไปทำการตลาดผ่านทาง Social Media กันมากขึ้นเพื่อสร้างจุดสนใจให้กับผู้คนทั่วไป แต่การทำการตลาดผ่านทาง Social Media ก็ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ บางคนทำแล้วปัง บางคนทำแล้วร่วง ก็มีกรณีศึกษาให้เห็นกันอยู่มากมาย วันนี้เราจึงสรุปข้อควรระวังในการทำการตลาดผ่าน Social มาให้ทุกคนได้ศึกษากันเพื่อเป็นแนวทางป้องกัน จะต้องระวังอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ
ได้รับคำถามนี้ ทั้งจากโทรศัพท์ และข้อความทาง Facebook เข้ามาสอบถามกันเป็นจำนวนมาก ว่าทำไมคนที่ขายของออนไลน์, ร้านค้า หรือบริษัทถึงต้องมี เว็บไซต์ เป็นของตัวเองด้วย ในเมื่อก็มี Facebook Fanpage ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็น เว็บไซต์ ของบริษัทอยู่แล้ว สู้เอาเงินที่จะไปลงทุน ทำเว็บไซต์ มาจ่ายเป็นค่า Promote Page ใน Facebook ดีกว่ามั้ย?
เจ้าของธุรกิจหลายคนจะรู้สึกเหมือนกันว่าการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน และเข้าใจยาก หลายต่อหลายครั้งที่เขาจ่ายเงินทำโฆษณาออนไลน์ไป แต่กลับไม่ได้ลูกค้ามากขึ้นดังที่ใจคิด

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์