ถ้าคุยกับเว็บดีไซเนอร์ มีความเป็นไปได้สูงว่าเค้าจะไม่รู้ว่า API คืออะไร ขอสรุปง่าย ๆ ว่ามันเป็น ชุดคำสั่งที่เอาไว้ให้เว็บไซต์อื่นมาใช้เชื่อมต่อกับเว็บไซต์เราได้ง่าย ๆ อย่างในกรณีนี้ Google ก็อนุญาตให้เราใช้ชุดคำสั่งเพื่อดึงฟ้อนต์จากกูเกิ้ลมาใส่เว็บเราง่าย ๆ นั่นเอง
โดยเมื่อก่อน ถ้าเราจะใช้ฟ้อนต์แปลก ๆ บนเว็บ แล้วเครื่องของคนเข้าชมเว็บไซต์เราไม่มีฟ้อนต์นั้น เค้าก็จะมองไม่เห็น ซึ่งทำให้เว็บดีไซเนอร์ต้องไปเขียนตัวอักษรใส่รูปแล้วเอามาแปะแทน แต่หลัง ๆ มานี้ก็มีวิธีที่จะเอาฟ้อนต์แปลก ๆ พวกนั้นมาใช้ในเว็บไซต์เราออกมาหลายวิธี การใช้ Javascript ของ Google Font API ก็เป็นหนึ่งในนั้น
สำหรับวิธีอื่น ๆ ก็เช่น การใช้ Flash (siFR), Javascript (Cufon) หรือแม้แต่ CSS3 ก็สามารถใช้ @font-face ได้เช่นกัน โดยแต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น ในด้านความเร็ว หรือในด้านบราวเซอร์ที่รองรับ
สำหรับวิธีใส่ฟ้อนต์จากกูเกิ้ลในเว็บไซต์เราก็ไม่ยากเลย ขอแค่มีความรู้ CSS นิดหน่อยก็พอ
แต่สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐาน CSS หรือ HTML เลย สามารถใช้เครื่องมือ Font Preview เพื่อทดสอบและสร้างโค้ดไว้ไปแปะบนหน้าเว็บไซต์ได้เลย มาดูกันเลยดีกว่าว่าวิธีใช้ฟ้อนต์จาก Google Font API ทำอย่างไร:
ฟ้อนต์ยังมีไม่เยอะ ถ้าอยากได้แบบมีฟ้อนต์ให้เลือกเยอะ ๆ ลองไปใช้บริการเสียตังค์ของ Typekit ดูนะ
หน้านี้จะบอกชื่อคนดีไซน์ ชื่อฟ้อนต์ ขนาดไฟล์ (ส่วนใหญ่จะเบามาก เพราะถูกบีบอัดแล้ว)
ตัวอย่างเช่น ผมใช้ฟ้อนต์ชื่อ Reenie Beanie ก็จะต้องก็อปปี้โค้ดแบบนี้
<link href='http://fonts.googleapis.com/css?family=<strong>Reenie+Beanie' rel='stylesheet' type='text/css'>
แค่นี้ ตอนโหลดหน้าเว็บไซต์ ก็จะมีการโหลดฟ้อนต์นี้ขึ้นมาเพื่อให้พร้อมใช้งานแล้ว
แค่กำหนดชื่อฟ้อนต์ที่เราเลือกใน font-family ก็ใช้งานได้แล้ว ลองดูตัวอย่างด้านล่าง
h1 { font-family: 'Reenie Beanie', arial, serif; }
โค้ดนี้จะใช้ฟ้อนต์ Reenie Beanie กับแท็ก H1 ครับ ซึ่งจะเห็นว่ามีการตั้งฟ้อนต์ไว้ 3 อัน คือ Reenie Beanie, arial, และ serif
การตั้งแบบนี้ CSS จะเรียกใช้จากซ้ายไปขวา ถ้าหาฟ้อนต์แรกไม่เจอก็จะไปโหลดฟ้อนต์สอง (Arial) และถ้าหาฟ้อนต์สองไม่เจอก็จะไปเรียกฟ้อนต์ที่สาม (Serif) สำหรับใน Firefox ระหว่างที่โหลดไฟล์ฟ้อนต์จากGoogle Font API มาแสดงผล ก็จะแสดงฟ้อนต์ Arial ก่อน
Google Font API ถือเป็นบริการ Font Replacement อีกตัวที่น่าสนใจ เพราะทำได้ง่าย ฟรี และถูกลิขสิทธิ์ นอกจากนั้นยังไม่ต้องสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ ส่วนข้อเสียก็อาจเป็นเรื่องจำนวนฟ้อนต์ที่ยังมีให้เลือกใช้น้อยอยู่