ขายของออนไลน์อย่างยั่งยืน อย่าลืมการตลาดแบบ Content Marketing ที่เหนือคู่แข่งคุณ!

ขายของออนไลน์อย่างยั่งยืน อย่าลืมการตลาดแบบ Content Marketing ที่เหนือคู่แข่งคุณ!

>>> Facebook Page มักจะใช้ในการโพสต์เพื่อขายของอย่างเดียว เช่น สินค้ามีอะไรบ้าง ราคาสินค้า ลดราคาสินค้า โปรโมชั่นสินค้า ซึ่งนั่นเป็นข้อความที่แบรนด์อยากบอก แต่ไม่ได้คำนึงถึงผู้บริโภคเลยว่า พวกเขาต้องการอะไร ดังนั้นการทำ Content จึงควรคำนึงถึงกลุ่มคน 2 กลุ่ม ระหว่างเจ้าของแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารถึงสินค้าหรือบริการกับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือบริการที่แก้ไขปัญหาให้พวกเขาได้หรือทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ที่มา : www.ceoblog.co/wp-content/uploads/2017/08/sweetspot.jpg

Content Marketing คืออะไร?

     ลักษณะของ Content ที่ดีนั้น ไม่ใช่การทำให้คนเข้ามาเยี่ยมชมมากที่สุด ภาพสวยที่สุด บทความดีที่สุด แต่ Content ที่ดี คือ ข้อความที่แบรนด์ต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชม และให้ประโยชน์แก่กลุ่มผู้ชม

แล้วการทำ Content Marketing มีประโยชน์ต่อธุรกิจของเราอย่างไรบ้าง?

     ในบางครั้งผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Content Marketing อยู่ในรูปแบบของนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น หากคุณลองนึกภาพตามบทสนทนาดังต่อไปนี้

หยก : นี่ ๆ เธอเห็นบทความเจ๋ง ๆ จาก บิวตี้ บล็อกเกอร์ หรือยัง?
เจน : ยังไม่เห็นเลย มันคืออะไรอ่ะ?
หยก : ตอนนี้บิวตี้ บล็อกเกอร์ กำลังแข่งกันแต่งหน้า ในงานของแบรนด์ xxx อยู่ด้วยล่ะ แต่ละคนแต่งหน้าสวยมาก

     จากประโยคการสนทนาข้างต้น คุณก็จะเห็นได้ว่า หากเจ้า xxx นั่นคือแบรนด์ของคุณ มันก็จะเกิดการบอกต่อ แถมทรงพลังกว่าการที่แบรนด์พูดเองเพราะมันเป็นคำพูดที่ออกมาจากเพื่อนหรือคนที่คุณรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี

     สำหรับผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบของรูปธรรมจับต้องได้นั้น เช่น จำนวน Reach ที่เข้าถึงผู้คนบน Facebook จำนวนการมีส่วร่วมกับโพสต์ไม่ว่าจะเป็น Like, Share, Comment หรือ Tag เพื่อน ๆ ของพวกเขา ซึ่งการทำ Content Marketing บน Facebook Page ข้อดีก็คือ สามารถดูสถิติและตัวเลขต่าง ๆ ได้จาก Insight หรือข้อมูลเชิงลึกของเพจ

Content เปลี่ยนแปลงจากคนแปลกหน้ากลายมาเป็นลูกค้าได้อย่างไร?

     แม้ว่าผู้ใช้งานบน Facebook จะมีด้วยกันหลายล้านคน และเนื่องจาก Facebook Page สามารถสร้างได้ง่ายและฟรี ดังนั้น แม้ว่าจะมีโอกาสทางธุรกิจอยู่อย่างมากมาย แต่คู่แข่งก็มีมากเช่นกัน การสร้างนั้นง่าย แต่การสร้างให้ดีและเรียกความสนใจจากผู้ใช้งาน Facebook ได้นั้น สำคัญกว่า

     กลับมาที่การมีผู้ใช้งานบน Facebook หลายล้านคน ไม่ได้หมายถึงว่า พวกเขาจะกลายมาเป็นลูกค้าของเราทั้งหมด หรือต่อให้คุณต้องการให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้าคุณทั้งหมด ก็ต้องถามกับตัวคุณเองว่า คุณมีงบประมาณในการทำการตลาดมากพอที่จะเข้าถึงผู้คนนับล้านคนหรือไม่ เพราะหากคิดง่าย ๆ ว่า ต้นทุนในการเข้าถึงคน 1 คน ใช้งบประมาณ 1 บาท ถ้าต้องการเข้าถึงล้านคน คุณก็ต้องใช้งบประมาณ 1 ล้านบาท เป็นต้น

ดังนั้น งานด้านการทำ Content Marketing ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากซะทีเดียว และเห็นผลลัพธ์อาจไม่ทันใจ แต่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว

โดยลำดับการเปลี่ยนคนแปลกหน้ากลายมาเป็นลูกค้าของคุณ จะมีลำดับขั้นตอนดังนี้:

  • คนแปลกหน้า
  • คนแปลกหน้า กลายมาเป็นผู้เยี่ยมชม
  • จากผู้เยี่ยมชมกลายมาเป็นผู้ติดตาม
  • จากผู้ติดตามกลายมาเป็นลูกค้า
  • จากลูกค้ากลายมาเป็นผู้บอกต่อและซื้อซ้ำ

     ซึ่งในระหว่างการเปลี่ยนสถานะของผู้คน 5 ขั้นตอนนี้ จำเป็นที่จะต้องใช้ Content Marketing ให้เหมาะสมกับกลุ่มคนแต่ละขั้นอีกด้วย โดยให้คุณลองนึกภาพตามดูว่า ถ้าคุณเสนอขายของกับคนแปลกหน้าเลย โอกาสที่จะปิดการขายได้นั้นจะต่ำมาก และอาจจะทำให้คน ๆ นั้นเลิกติดตามแบรนด์คุณไปเลยก็ได้ ดังนั้นคุณจึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขาก่อน และเมื่อพวกเขาเชื่อถือแบรนด์คุณ พวกเขาก็จะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณในที่สุด

คำถามต่อมาก็คือ เงินทุนน้อย ทีมงานน้อย จะทำ Content Marketing ได้หรือไม่? อย่างไร?

     หลังจากที่คุณพบจุดกึ่งกลางระหว่างข้อความของแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารออกไปและข้อมูลที่กลุ่มลูกค้าต้องการรับฟังได้แล้ว

     คุณจำเป็นที่จะต้องรู้ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เป็นอย่างดีว่า พวกเขาต้องการอะไร? พวกเขามีปัญหาอะไร? แล้วให้คุณโฟกัสไปที่การสร้าง Content แบบ “Evergreen” หมายถึงการสร้าง Content ที่เป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย ไม่ตกยุค สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลได้ตลอด ไม่ว่าจะผ่านไปหลายปีก็ตาม ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สำหรับ Evergreen Content

  • การดูแลคุณแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • อาหารคลีนสำหรับลดความอ้วน
  • การแต่งหน้าเจ้าสาว
  • ฝึกพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองที่บ้าน

     ทีนี้คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องผลิต Content จำนวนมาก ๆ ออกมาในทุก ๆ วัน เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ก็ให้คุณโฟกัสไปที่การสร้าง Evergreen Content สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็เพียงพอในช่วงเริ่มต้นทำการตลาดแล้ว
การกำหนดกลยุทธ์ให้กับ Content

     ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นทำ Content Marketing คุณจำเป็นที่จะต้องทำ Content Strategy หรือการกำหนดกลยุทธ์ก่อน เพื่อให้ Content ออกมามีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดและบรรลุตามจุดประสงค์ที่ต้องการ โดยการกำหนดกลยุทธ์ให้กับ Content Marketing สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ

วิสัยทัศน์ คุณคิดอย่างไรในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า แล้วการทำ Content Marketing จะช่วยให้ธุรกิจของคุณบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร?

เป้าหมาย วัตถุประสงค์ในการทำ Content Marketing สามารถแบ่งออกได้เป็น

การรับรู้ถึงแบรนด์ (Awareness)
เพิ่มการมีส่วนร่วม (Engagement)
เพิ่มยอดขาย (Sales)

การค้นคว้าวิจัยกลุ่มผู้มุ่งหวัง ค้นหากลุ่มคนที่คุณต้องการนำเสนอสินค้าและกลุ่มคนที่ต้องการรับฟังจากคุณ

  • อายุ เพศ ที่อยู่อาศัย ความสนใจ หน้าที่การงาน
  • แหล่งชุมนุมบนโลกออนไลน์ของกลุ่มคนเหล่านี้
  • ช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายใช้ในการติดต่อสื่อสาร
  • ใครคือผู้มีอิทธิพลที่พวกเขามักติดตามและรับฟัง
  • พวกเขามีปัญหาอะไรที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข


สไตล์ในการนำเสนอ Mood & Tone ที่จะใช้ในการแสดงความเป็ตัวตนของแบรนด์คุณ รวมไปถึงรูปแบบการผลิตเนื้อหา ประเภทบทความ รูปภาพ หรือวีดีโอ

ไอเดียการผลิต แหล่งข้อมูลในการนำมาผลิตเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นจากเว็บไซต์อื่น จากการสนทนากันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย คำถามที่พบบ่อยในอุตสาหกรรมของคุณ ปัญหาที่มักพบเจอในธุรกิจของคุณที่ผู้คนมักประสบปัญหา

การดูแลและการจัดการ การมอบหมายงาน ผู้รับผืดชอบงาน การตรวจสอบงาน การเก็บสถิติ รวมไปถึงการนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อยอด

กำหนดบุคคลิกของแบรนด์ให้ชัดเจน

     Facebook Page จำเป็นต้องมีแอดมินที่คอยดูแลการอัปเดตเนื้อหาและการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแอดมินอาจมีได้หลายคน แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ แอดมินทุกคนจำเป็นที่จะต้องมีบุคคลิกของแบรนด์เดียวกัน ต่อให้แอดมินเปลี่ยนงานแล้วมีแอดมินที่เข้ามารับหน้าที่แทน ก็จำเป็นที่จะต้องคงเอกลักษณืของแบรนด์เอาไว้

     หากเปรียบเทียบเป็นคน ๆ หนึ่ง เราจะกำหนดให้คน ๆ นั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น หากสินค้าของคุณคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการสื่อสารคือกลุ่มของผู้หญิงออฟฟิศ คุณอาจกำหนดให้บุคคลิกของแบรนด์เป็น ผู้หญิงออฟฟิศ วัย 25 ปี ที่ชอบการแต่งหน้าและดูแลตัวเองให้มีบุคคลิกดีอยู่เสมอ เป็นคนง่าย ๆ สบาย ๆ แต่ค่อนข้างจริงจังกับงาน เป็นต้น ซึ่งต่อให้แอดมินคุณเป็นผู้ชายก็ตาม ก็จำเป็นที่จะต้องสวมบุคคลของแบรนด์ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

เรียนรู้การสร้าง Content Marketing Funnel เปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชมให้กลายมาเป็นลูกค้า

ที่มา : www.ceoblog.co/wp-content/uploads/2017/08/funnel-ceo.png

Content Marketing Funnel คือขั้นตอนการเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าไปเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลำดับ ดังนี้

ลำดับที่ 1 การค้นพบแบรนด์เป็นครั้งแรก (Discovery)

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ : การหาลูกค้าโดยทางอ้อมและสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์
วิธีการ : Content ให้ความรู้และ Content ไวรัล

ในขั้นตอนนี้แบรนด์ของคุณยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก รวมไปถึงบางอุตสาหกรรมที่ยังใหม่มาก คุณจึงจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับแวดวงในอุตสาหกรรมที่คุณกำลังทำอยู่ แม้ว่าในช่วงนี้ คุณสามารถผลิต Content ที่มีคุณภาพ และผู้คนก็เชื่อถือข้อมูลนั้นจากคุณในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ก็อาจจะยังไม่ก่อให้เกิดการซื้อขายขึ้น เพราะในระหว่างที่กลุ่มเป้าหมายกำลังเสพย์ Content ของคุณอยู่นั้น พวกเขากำลังสะสมความน่าเชื่อของแต่ละแบรนด์ที่พวกเขาได้รับ เพื่อจัดอันดับแบรนด์ที่อยู่ในใจของพวกเขา จนกระทั่งคุณสามารถที่จะทำให้พวกเขาติดตามคุณ จนกลายเป็น Top of mind กลายเป็นตัวแรกลำดับแรก ๆ หากนึกถึงสินค้าหรือบริการที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมของคุณ

ลำดับที่ 2 การพิจารณาตัวเลือกที่มีอยู่ (Consideration)

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ : การหาลูกค้าทางตรง
วิธีการ : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อกลุ่มเป้าหมายรู้จักคุณในระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่พวกเขามองหาก็คือ ปัญหาของพวกเขายังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นในขั้นตอนนี้ เป็นโอกาสดีของแบรนด์คุณที่จะนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้ผลจริงกับกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งอาจเป็นคำแนะนำเบื้องต้น แต่ข้อควรระวังก็คือ พวกเขายังไม่เชื่อมั่นในแบรนด์คุณมากขนาดนั้น ให้ระวังการนำเสนอขาย ซึ่งอาจจะเกิดกำแพงขึ้นระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ เพราะเมื่อพวกเขาได้รับวิธีการแก้ไขปัญหาจากคุณแล้ว พวกเขาก็สามารถแยกแยะระหว่างแบรนด์คุณกับคู่แข่งได้ว่า จะเลือกใช้บริการของเจ้าใด

ลักษณะ Content ที่กลุ่มเป้าหมายมองหาคือ

  • กรณีศึกษา
  • Content ประเภท How-to ที่สินค้าหรือบริการของคุณใช้ในการแก้ไขปัญหา
  • รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

ลำดับที่ 3 การเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าเป็นลูกค้า (Conversion)

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ : การปิดการขายกับลูกค้า
วิธีการ : ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและคุณค่าของสินค้าที่แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครที่ลูกค้าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในขั้นตอนนี้ เตรียมพร้อมที่จะควักเงินออกจากกระเป๋าแล้ว และเชื่อมั่นในแบรนด์ของคุณมากพอระดับหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะการโน้มน้าวและการปิดการขายของคุณเพื่อเปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชมกลายมาเป็นลูกค้าอย่างเต็มตัว

และสิ่งที่สามารถช่วยในการโน้มน้าวที่ช่วยให้การปิดการขายได้ดียิ่งขึ้นก็คือ

  • การรีวิวสินค้า
  • Testimonial
  • ขั้นตอนการชำระเงินที่ง่าย น่าเชื่อถือและมีความปลอดภัย

     โดยในขั้นตอนนี้ คุณสามารถนำเสนอการขายได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะกลุ่มเป้าหมายพร้อมเปิดใจที่จะรับฟังข้อเสนอจากแบรนด์คุณแล้ว โดยคุณสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รวมไปถึงคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ รวมไปถึงความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์คุณที่ไม่เหมือนใคร

ลำดับที่ 4 การเก็บรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ (Retention)

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ : การรักษาฐานลูกค้าเก่า
วิธีการ : ให้ความช่วยเหลือ ซับพอร์ทและการสานสัมพันธ์

ในฐานะผู้ประกอบการจะทราบกันดีว่า การนำเสนอขายสินค้าหรือบริการแก่ลุกค้าเก่านั้น สามารถทำได้ง่าย ประหยัดต้นทุนและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการนำเสนอขายสินค้าหรือบริการให้กับกลุ่มที่ยังไม่เคยอุดหนุนสินค้าของแบรนด์มาก่อน

ดังนั้น การรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้ จึงมีความสำคัญที่ไม่แพ้กันกับการหาลูกค้าใหม่ แต่การสื่อสารของกลุ่มลูกค้าเก่าเหล่านี้ ก็จะมีการนำเสนอ Content ที่แตกต่างจากลำดับขั้นตอนที่ผ่าน ๆ มา

ลักษณะของ Content สำหรับการรักษาฐานลูกค้าเก่า

  • การซับพอร์ทลูกค้าหลังการขาย
  • การให้ข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า
  • การใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
  • การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ
  • กำหนดบทบาทหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของทีม Content

     หลังจากที่คุณได้กำหนดกลยุทธ์ในการสร้าง Content Marketing แล้ว ทีนี้ก็มาถึงการวางกรอบการทำงานรวมไปถึงการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบให้กับทีมงานแต่ละส่วน แม้ว่าทีมงานที่พูดถึงนั้นจะหมายถึงตัวคุณคนเดียวก็ตามที แตกต่างกันก็เพียงคุณอาจจะต้องใช้เวลาในการทำงานนานขึ้นและลดจำนวนปริมาณงานให้น้อยลง ตามทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

สร้างทีม Content ของคุณ

ที่มา : www.ceoblog.co/wp-content/uploads/2017/08/team-ceo.jpeg

คนกำหนดและวางแผนกลยุทธ์ด้าน Content

     คือคนที่สามารถทำการวิจัยก่อนการผลิต Content ของแบรนด์คุณได้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นว่า แบรนด์ของคุณควรมี Mood & Tone ยังไง, สร้าง Content ให้กับกลุ่มเป้าหมายใด, ต้องหาใครมาร่วมทีมบ้าง หรือแม้กระทั่งให้คำปรึกษาคุณในด้านการทำการตลาดด้วย Content ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจ

นักเขียนและสร้าง Content

นักเขียนที่ดีจำเป็นที่จะต้องรู้จักตัวตนของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน รวมไปถึง Mood & Tone ภาษาที่ใช้ บุคคลการนำเสนอผ่านตัวหนังสือ รูปภาพหรือวีดีโอ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็น Content ให้กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณได้เสพย์กัน ซึ่งแน่นอนว่าหากคุณยังไม่มีนักเขียน คุณก็อาจจะต้องพึ่งการใช้บริการจากฟรีแลนซ์ที่ค่อนข้างมีประสบการณ์ด้านการเขียน Content ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมของคุณ ซึ่งแน่นอนว่าก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมเข้ามา หรือคุณอาจมอบหมายงานให้กับทีมงานที่คุณมีอยู่ ณ ปัจจุบัน สำหรับคนที่มีทักษะเกี่ยวกับการเขียน โดยอาจเพิ่มเบี้ยเลี้ยงหรือแบ่งเบาภาระงานปกติไปให้กับคนอื่นในทีม เพื่อที่จะให้เขามีเวลามาใช้กับการเขียน Content มากขึ้น

บรรณาธิการ

บรรณาธิการคือคนที่สามารถมองเห็นภาพรวมของ Content ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการมีทักษะในการดัดแปลงและแก้ไขงานเขียน ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งเราอาจจะพบว่า แม้ว่านักเขียนที่มีฝีมือดี ก็อาจจะเป็นงานยาก หากให้มาขัดเกลา ดัดแปลงและแก้ไขงานของตัวเอง โดยบรรณาธิการที่ดีนั้น จะสามารถช่วยแนะนำและพัฒนางานเขียนให้แก่นักเขียนเพื่อผลิตผลงานที่ดีขึ้นได้อีกด้วย

คนประสานงาน

แน่นอนว่าเมื่อมีคนภายในองค์กรเยอะขึ้น และแต่ละคนก็มัวยุ่งแต่กับงานของตัวเอง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ประสานเพื่อให้แต่ละฝ่ายทำงานไดลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งบุคคลนี้จะใส่ใจในเรื่องรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แผนกอื่น ๆ อาจมองข้ามไป รวมไปถึงมีทักษะการจัดการที่ดี เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพที่ดีที่สุด

เมื่อไหร่ที่คุณควรหาทีมงานเข้ามาเสริมทัพ?

     เริ่มแรกคุณอาจเป็นคนที่ทำทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมด แต่คุณจะพบว่าคุณจะดำเนินการได้ช้าและใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นเมื่อบริษัทคุณเติบโตขึ้น คุณอาจเริ่มจากการว่าจ้างฟรีแลนซ์มืออาชีพที่เชี่ยวชาญงานเขียนและงานสร้าง Content เข้ามาช่วยงานเป็นโปรเจค แล้วสำรวจดูว่า คุ้มค่ากับการลงทุนนั้นหรือไม่ โดยคุณอาจจะพิจารณาจ้างเป็นประจำหรือโปรเจคระยะยาวในภายหลังก็ได้

     และเมื่อธุรกิจคุณเติบโตมากพอระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ไปไม่ถึงเป้าหมายที่ต้องการ คุณอาจจะต้องเพิ่มจำนวนและคุณภาพของ Content ซึ่งจะทำให้มีปริมาณมากขึ้น ใช้เวลามากขึ้น ซึ่งคุณอาจจะต้องพิจารณาหาบรรณาธิการมาจัดการกับจำนวน Content ที่มากขึ้นเหล่านั้นด้วย รวมไปถึงเมื่อทีมงานคุณมีเพิ่มขึ้น คุณก็จำเป็นที่จะต้องหาคนประสานงานมาช่วยให้งานนั้นลุล่วงและเสร็จสมบูรณ์

6 ขั้นตอนวิธีการผลิต Content

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดตารางการเผยแพร่ Content

เมื่อมีกำหนดการและตารางเวลาที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการผลิต Content ได้ถูกต้องและครบถ้วนตามกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทีม Content ของคุณมีหลายคน ก็จำเป็นที่จะต้องกำหนดตารางการทำงานให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกส่วนได้ทำงานอย่างเป็นระบบและผลิตผลงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพ

ขั้นตอนที่ 2 ดูแลการจัดการทั้งหมดในกระบวนการผลิต Content

แน่นอนว่า แม้จะกำหนดตารางเวลาในการทำงานที่ชัดเจน แต่หากมีขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเกิดสะดุดขึ้นมา มันก็จะทำให้ส่วนที่เหลือได้รับผลกระทบตามมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น นักเขียนเกิดป่วยกระทันหันจึงไม่สามารถผลิต Content ได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ทำให้เกิดความสูญเสียในด้านของโอกาสทางธุรกิจได้ ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีจัดการและแก้ไขปัญหาเพื่อให้งานนั้นลุล่วงไปได้ด้วยดี

ขั้นตอนที่ 3 กำหนดงานเขียนให้กับนักเขียน

แม้ว่าการมีนักเขียนภายในองค์กรที่เป็นพนักงานประจำจะมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมคุณภาพของ Content การประสานงาน แต่ก็อย่าลืมว่ายังมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่รับงานฟรีแลนซ์ที่พร้อมจะทำให้งานให้กับคุณอีกมากมาย ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีศักยภาพในอุคสาหกรรมนั้น ๆ รวมไปถึงประสบการณ์การทำงาน อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยโดยที่บริษัทคุณไม่ต้องไปหาซื้อมา เช่น คอมพิวเตอร์กราฟฟิค เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดเวลาในการสร้าง Content

ในหลาย ๆ ครั้งคุณจะพบว่า แม้ว่าคุณจะกำหนดตารางอย่างชัดเจนแล้ว แต่ก็อาจจะทำงานเสร็จไม่ทันกำหนดที่วางเอาไว้ เพราะอย่าลืมว่า ธุรกิจของคุณไม่ได้มีแต่การสร้าง Content เพียงอย่างเดียว ไหนจะต้องดูแลลูกค้า ขายของ ส่งของ จัดการของในคลังสินค้า แต่ยังไงคุณก็จำเป็นที่จะต้องหาเวลาในการผลิต Content ขึ้นมา เพื่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว

ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงและแก้ไข Content

วิธีการเขียนที่ดีก็คือ การเขียนอย่างต่อเนื่องโดยพยายามอย่าให้การเขียนสะดุด แม้ว่าจะมีคำผิด ตกหล่นอยู่บ้าง ก็สามารถกลับมาแก้ไขในภายหลังได้ จำไว้ว่า การปล่อยให้การเขียนไหลลื่นนั้นย่อมดีกว่าการที่จะมานั่งแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน และหากคุณมีบรรณาธิการที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเขาไปเลย

ขั้นตอนที่ 6 พิสูจน์อักษร

ก่อนการเผยแพร่ทุกครั้ง คุณจำเป็นที่ต้องพิสูจน์อักษรหรือตรวจสอบความถูกต้องของงานให้เกิดความผิพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะในหลาย ๆ ครั้งหากเผยแพร่ไปแล้ว โดยที่ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ก็อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจของคุณได้

ข้อควรระวัง

การสร้าง Content ให้เน้นที่คุณภาพมากกว่าจำนวน เพราะอย่าลืมว่าผู้คนกำลังค้นหาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของคุณอยู่ และหากพวกเขาค้นหาคุณเจอแล้วพบว่า ข้อมูลที่คุณมอบให้พวกเขานั้น ไม่มีคุณภาพ มันจะกลายเป็นผลร้ายแทนที่จพเป็นผลดี และพวกเขาอาจไม่กลับมาหาแบรนด์คุณอีกเลย

ทีนี้ก็ถึงตาที่คุณจะเริ่มต้นผลิต Content เพื่อทำการตลาดให้กับธุรกิจคุณกันได้แล้ว ผมแนะนำว่า เมื่อคุณอ่านจบ คิดได้ให้ทำทัน

.

.

ขอบคุณที่มา : CEO blog

โดย :
 2172
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Google Adwords คืออะไรแล้วมันดีต่อธุรกิจของคุณยังไง ?
การตลาดออนไลน์เป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับธุรกิจทุกประเภท แต่เจ้าของธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จในการตลาดออนไลน์ได้ โดยการวางแผนตั้งเเต่เริ่มต้น
รู้จักกับ Google Search Console เครื่องมือดูแลเว็บไซต์ สำหรับสาย SEO

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์