เริ่มด้วย Facebook รุกด้วย Website !!!

เริ่มด้วย Facebook รุกด้วย Website !!!

     ซึ่งเมื่อเราได้ Content มาแล้ว ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการโปรโมท Content ที่เราสร้างขึ้น เพราะหาก Content ที่เราสร้างขึ้นมานั้น ไม่มีใครเข้ามาชมเลย มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร และสำหรับวิธีเริ่มต้นที่จะทำการโปรโมทได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด แถมยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสร้างอีกด้วยก็คือ การใช้ Facebook Page ในการโปรโมท Content

8 วิธีการโปรโมท Content บน Facebook Page

1. สามารถแชร์ Content ได้ถึง 4 รูปแบบ จาก Content เดียว

 Link Post – คุณสามารถโปรโมท Content จากเว็บไซต์มาที่หน้า Facebook Page ได้
 Image Post – หรือจะอัพรูปแล้วแปะลิงก์ไปยัง Content ก็ได้
 Video Post – กรณี Content นั้นมีวีดีโอ ก็ให้คุณอัพโหลดวีดีโอลงบนหน้า Facebook Page
 Text Post – หรือจะเป็นเพียงตัวหนังสือความยาวประมาณ 1 ประโยคแล้วแปะลิงก์ไปยัง Content

2. แชร์ Content บนโปรไฟล์ Facebook ส่วนตัว

ในกรณีที่คุณมักจะอัปเดตเกี่ยวกับธุรกิจของคุณในชีวิตประจำวัน ก็สามารถโพสต์เพื่อให้เพื่อน ๆ ของคุณได้เห็นความเคลื่อนไหวของธุรกิจของคุณที่กำลังอยู่ได้

3. Facebook Ads

แน่นอนว่าการทำธุรกิจ เรื่องของงบการตลาดย่อมจำเป็นต้งมีเป็นปกติอยู่แล้ว ดังนั้น จงกำหนดงบประมาณในแต่ละเดือนเพื่อโปรโมท Content ของคุณไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นตัวเร่งให้ผู้คนพบเห็น Content ได้เร็วยิ่งขึ้น และเป็นการหาลูกค้าทางอ้อมอีกด้วย

4. เขียนหัวข้อ Content ให้โดน

ทีมงานได้ลองทดสอบมาแล้วว่า แม้จะเป็น Content อันเดิม แต่หากมีการพัฒนาและเขียนหัวข้อและประโยคเกิร่นนำที่ดีและดึงดูด ผลลัพธ์ที่ได้นั้น จะกลายเป็นคนละเรื่องเลยทีเดียว

5. ทำรูปภาพกราฟฟิคให้สวยงามและสะดุดตา

เนื่องจาก Content ถูกแสดงขึ้นฟีดหน้าจอของผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก จึงไม่แปลกหากพวกเขาเลื่อนเลยผ่าน Content ของคุณไป เพราะด้วยรูปภาพที่ไม่ดึงดูดและสวยงามมากพอ เพราะเป็นสิ่งแรก ๆ ที่ผู้ใช้งานมักจะโฟกัสเวลาที่กำลังเล่น Facebook อยู่

6. ใช้เทคนิคการรวบรวม Content ยอดฮิตไว้ในโพสต์เดียวกัน

จะช่วยให้มีทราฟฟิคเพิ่มขึ้นจากบทความเก่า ๆ ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

7. ใช้การ Tag ถึง Influencer ในกรณีที่ Content เกี่ยวข้องโดยตรงกับคน ๆ นั้น

และเป็น Content ที่ทำให้ Influencer ดูดี ดูแล้วอยากแชร์ต่อให้กับกลุ่มผู้ติดตามของเขา แต่ห้ามสแปมหรือรบกวนจนบ่อยครั้งโดยเด็ดขาด แต่คุณอาจขออนุญาตพวกเขาหลังไมค์ก่อนที่จะทำก็สามารถทำได้

8. ทดสอบ ทดสอบ และทดสอบ

ในแต่ละเพจ ในแต่ละอุตสาหกรรม แม้กระทั่งในแต่ละแบรนด์ จะมีตัวเลขและสถิติที่แตกต่างกัน ดังนั้น จงวิเคราะห์ตัวเลขจากสิ่งที่ได้ทำลงไปว่า โพสต์แบบใดได้รับผลการตอบรับที่ดีที่สุดจากแฟนเพจ โพสต์ใดใช้แล้วมีออเดอร์เข้ามามากเป็นพิเศษ

คำถามคือ มี Facebook Page อยู่แล้ว ทำไมต้องใช้เว็บไซต์อีก?

แต่คำถามที่สำคัญกว่าก็คือ “หากวันหนึ่งคุณไม่สามารถเข้า Facebook ได้ หรือ Facebook โดนบล็อค หรือคนไม่นิยมใช้งานกันแล้ว ธุรกิจของท่านจะทำอย่างไร?

เพราะอย่าลืมว่า Facebook เป็นเพียงช่องทางหนึ่งที่ใช้ในการโปรโมทธุรกิจของเราเท่านั้น แต่หากต้องการสร้างแบรนด์ระยะยาวอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนหน้าร้านของธุรกิจท่าน ซึ่งเราจะมาดูข้อดีข้อเสียของ Facebook Page กับ Website กันค่ะ

ในด้านของ “ค่าใช้จ่ายในการสร้าง”

Website: มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันที่ต้องการ
Facebook Page: ฟรี! (อาจมีค่าออกแบบหน้าปกและดีไซน์เล็กน้อย)

ในด้านของ “การสร้างแบรนด์และการปรับแต่ง”

Website: สามารถสร้างแบรนด์ได้เป็นอย่างดีโดยออกแบบให้ดูเป็นมืออาชีพและสามารถปรับแต่งอะไรก็ได้ตามใจคุณ เพราะคุณคือเจ้าของเว็บไซต์แต่เพียงผู้เดียว
Facebook Page: คุณจำเป็นต้องทำตามกฏอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นแล้วคุณอาจถูกระงับการเข้าใช้งานได้


ในด้านของ “เวลาที่ใช้ในการสร้าง”

Website: อาจใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงในการตั้งค่า
Facebook Page: ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ก็สามารถออนไลน์ได้แล้ว

ในด้านของ “การอัปเดตข้อมูล”

Website: คุณสามารถอัปเดตได้บ่อยตามต้องการ
Facebook Page: อาจใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง 24 ชั่วโมงขึ้น หรือเปลี่ยนได้จำนวนจำกัด หรือบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนได้เลย

ในด้านของ “การจัดการกับระบบ”

Website: ต้องใช้บุคคลากรที่มีทักษะเกี่ยวกับเว็บไซต์ และหากฐานข้อมูลเว็บไซต์มีขนาดใหญ่ จะยุ่งยากในการจัดการ
Facebook Page: จัดการได้ง่าย ใช้ทักษะคอมพิวเตอร์พื้นฐานทั่ว ๆ ไปก็สามารถทำได้

ในด้านของ “Search Engine Optimization – SEO”

Website: ได้รับผลประโยชน์จากผู้คนที่ค้นหาบน Google ได้อย่างเต็มที่ เพราะเว็บไซต์คือฐานข้อมูลที่ Google ใช้แสดงผลการค้นหา และมีโอกาสติดอันดับผลการค้นหาเป็นอับต้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่เว็บไซต์มีการปรับแต่ง SEO ให้เหมาะสม
Facebook Page: ไม่ค่อยได้รับประโยชน์จาก Google มากนัก เนื่องจาก Facebook และ Google เป็นคู่แข่งขันกันในทางตรงและทางอ้อม ทำให้ Google เก็บข้อมูลจาก Facebook เพียงบางส่วนมาแสดงผลการค้นหา

ในด้านของ “การตลาด”

Website: คุณต้องลงทุนและลงแรงอย่างมหาศาลในการที่จะได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า แต่จะเป็นผลลัพธ์ที่มั่นคงและยั่งยืน เมื่อเว็บไซต์ประสบความสำเร็จในด้านของ SEO และกลุ่มเป้าหมายค้นพบคุณบน Google
Facebook Page: ลงทุนและลงแรงน้อยกว่า และมีโอกาสเกิดไวรัลได้ดีกว่า เพราะเป็นการตลาดที่เพื่อนบอกต่อเพื่อน ซึ่งจากสถิติพบว่า ผู้คนมักเจะชื่อในสิ่งที่เพื่อนของเขาพูด

ในด้านของ “การขายสินค้า”

Website: คุณสามารถเพิ่มร้านค้าออนไลน์ให้กับเว็บไซต์ของคุณได้อย่างเต็มที่ ทุกรูปแบบตามที่คุณต้องการ
Facebook Page: ไม่มีเครื่องซับพอร์ทในการขายสินค้าดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีฟังก์ชันให้ใส่รายละเอียดสินค้า แต่ก็ยังไม่มีระบบที่ดีพอ

ในด้านของ “การติดตั้งซอร์ฟแวร์”

Website: คุณสามารถติดตั้งซอร์ฟแวร์อะไรก็ได้ลงบนเว็บไซต์ของคุณได้อย่างไม่จำกัด
Facebook Page: ไม่สามารถติดตั้งซอร์ฟแวร์ใด ๆ ได้เลย ต้องใช้เฉพาะสิ่งที่ Facebook จัดหาไว้ให้เท่านั้นในด้านของ “Customer Support”

Website: สามารถใช้ตัวช่วยในการซับพอร์ทลูกค้าได้เช่น ตั้งโปรแกรมแชทอัตโนมัติเบื้องต้น หรือติดตั้งระบบหรือซอร์ฟแวร์ลงบนเว็บไซต์
Facebook Page: มีโอกาสในการทำลุกค้าตกหล่น เนื่องจากข้อความไม่แสดงผล หรือแสดงผลได้ไม่ดีพอ และไม่มีตัวช่วยใด ๆ นอกจากส่งข้อความไปคุยกับลูกค้าหรือแจ้งอัปเดตหน้าเพจ

     หากเปรียบเทียบกันหมัดต่อหมัดแล้ว ในระยะยาว Website ยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า เพราะคุณสามารถควบคุมทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง ในขณะที่ Facebook ก็มีข้อจำกัดในการใช้งาน และเจ้าของก็คือ Mark Zuckerberg นั่นเอง ดังนั้นผมแนะนำว่าให้คุณทำทั้งสองอย่างจะเวิร์คมาก เพราะต่างมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป

Advanced การต่อยอดการตลาดจาก Facebook สู่ Website

     โดยปกติแล้วคนทั่วไปมักจะไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าตั้งแต่แรกเห็น แต่โดยเฉลี่ยแล้ว หากพวกเขาได้รับรู้หรือมองเห็นสินค้าหรือบริการเหล่านั้น ก็มีโอกาสสูงที่จะกลายมาเป็นลูกค้าได้ ดังนั้น Facebook จึงมีฟังก์ชันที่เรียกว่า Re-targeting สำหรับเว็บไซต์ขึ้นมา

Re-targeting คืออะไร?

     Re-targeting คือการทำการตลาดรูปแบบหนึ่งที่ต้องการให้โฆษณานั้นแสดงผลติดตามกลุ่มเป้าหมายเป็นระยะ ๆ โดยวิธีการทำงานก็คือ เมื่อมีผู้ใช้งานเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ติดโค้ด Facebook Re-targeting เอาไว้ เจ้าตัวโค้ดนี้ก็จะจดจำว่า Facebook User ใด ที่เคยเข้ามาอ่านหน้าเว็บไซต์นี้บ้าง จากนั้นก็จะขึ้นข้อมูลเป็นจำนวนตัวเลขในฐานระบบของ Facebook ว่ามีจำนวนผู้ใช้งานเข้ามาหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ กี่คน

     จากนั้น เมื่อคุณออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Content ก่อนหน้านี้ คุณสามารถให้โฆษณา Facebook แสดงผลเฉพาะกลุ่มที่เคยเข้าไปอ่าน Content นั้น ๆ ได้ ซึ่งผลที่ได้ก็คือ เป็นการเสนอสินค้าหรือบริการแก่กลุ่มที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้การแสดงโฆษณาต่อกลุ่มคนเหล่านี้ มีโอกาสในการปิดการขายได้สูงกว่า รวมไปถึงงบประมาณที่ใช้ในการเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้จะถูกลงเป็นอย่างมากอีกด้วย

     และการที่คุณจะทำ Re-targeting ได้ก็จำเป็นต้องมีทั้ง Facebook Page และ Website เสียก่อน โดยคุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติม วิธีการทำ Re-targeting ได้ที่นี่ค่ะ

     คุณอาจเคยพบว่า ยิงโฆษณาบน Facebook เพื่อให้คนเข้ามาซื้อสินค้าที่ Website แต่ปรากฎว่าขายไม่ได้เลยหรือขายได้น้อยกว่าที่คาดหวังเอาไว้มาก ทำให้คุณต้องมานั่งลุ้นในแต่ละวันว่า โฆษณาที่ลงไปจะขายได้หรือไม่ เพราะเนื่องจากแบรนด์ของคุณอาจยังไม่เป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าใหม่มากพอ ซึ่งลูกค้าก็ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจอุดหนุนสินค้าของคุณ ดังนั้นคีย์สำคัญก็คือ เราจำเป็นต้องมีการติดต่อพูดคุยเพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเคิมแก่ลูกค้า

Lead Generation คืออะไร?

เครดิตภาพ: www.ceoblog.co/wp-content/uploads/2017/08/why-website.jpg

Lead Generation คือกระบวนการสร้างรายชื่อติดต่อของกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสกลายมาเป็นลูกค้าของคุณ

จากรูปด้านบนในวงกลม คือ สถานะของผู้คน ที่เริ่มตั้งแต่ยังไม่รู้จักแบรนด์ของคุณจนกลายมาเป็นลูกค้า โดยอธิบายจากภาพได้ดังนี้

  • Strangers – คนแปลกหน้า ซึ่งยังไม่เคยรู้จักแบรนด์คุณมาก่อนเลย
  • Visitors – ผู้เยี่ยมชม ซึ่งหมายถึง พวกเขาได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์ และได้เสพย์ Content ที่แบรนด์ป้อนมาให้
  • Leads – กลุ่มผู้ที่สนใจในสินค้าหรือบริการของแบรนด์ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นลูกค้า
  • Customers – ลูกค้าของแบรนด์ที่อุดหนุนสินค้าและบริการ
  • Promoters – ลูกค้าแชร์ประสบการณ์ที่ได้รับจากแบรนด์ โดยการบอกต่อ ๆ กันกับกลุ่มเพื่อน ๆ ของพวกเขา

คุณจะเห็นได้ว่ากลุ่มคนที่อยู่ในขั้นตอนของ Leads นั้น มีโอกาสปิดการขายได้ดีว่ากลุ่ม Strangers หรือ Visitors

  • จุดประสงค์ : ต้องการข้อมูลการติดต่อจากกลุ่มเป้าหมาย
  • วิธีการ : ส่งทราฟฟิคจาก Facebook ไปยังหน้าเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์
  • เทคนิค : ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้พวกเขายินดีที่จะแลกกับข้อมูลการติดต่อ ยกตัวอย่างเช่น eBook, ข้อมูลเชิงลึก หรืิอสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น

     จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า คุณสามารถต่อยอดจากเว็บไซต์ได้อย่างมากมาย และบวกกับการใช้ข้อดีของ Facebook ช่วยในการทำการตลาด ก็จะยิ่งส่งผลให้มีประสิทธิภาพและทรงพลังมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผมแนะนำว่าให้คุณทำควบคู่กันไป โดยให้ Website เปรียบเสมือนสำนักงานใหญ่ของคุณ และให้ Facebook เปรียบเสมือนช่องทางในการโปรโมทแบรนด์ของคุณ

.

.

ขอบคุณข้อมูลจาก : CEO blog

โดย :
 1799
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Facebook LIVE คือ การสร้าง “โพสต์” ประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานสามารถถ่ายทอดวิดีโอแบบเรียลไทม์ (Real Time) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งบนบัญชีส่วนตัวและบนเพจ โดยผู้ใช้งานคนอื่นๆ สามารถเข้ามาดู คอมเมนต์ กดไลก์ กดแชร์ การถ่ายทอดสดได้พร้อมกัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะติดตามเพจหรือไม่ก็ตาม
เจ้าของธุรกิจหลายคนจะรู้สึกเหมือนกันว่าการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน และเข้าใจยาก หลายต่อหลายครั้งที่เขาจ่ายเงินทำโฆษณาออนไลน์ไป แต่กลับไม่ได้ลูกค้ามากขึ้นดังที่ใจคิด

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์