อย่างที่รู้กันว่าการที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์นั้นมาจากหลายสาเหตุเช่น ติดผ่าน USB Drive หรือผ่านทาง Website หรือแม้กระทั้งโหลดมัลแวร์มาติดตั้งด้วยตัวเอง เพราะคิดว่าเป็นโปรแกรมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันแฮกเกอร์ก็ได้ใช้หลากหลายช่องทางในการแพร่มัลแวร์เพื่อหลอกล่อให้เรานำมัลแวร์มาติดตั้งที่เครื่องของเราเช่นกัน แต่จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเรารู้ว่ามีช่องทางไหนบ้างที่นิยมใช้ในการกระจายมัลแวร์ เพื่อที่เราจะได้ระมัดระวังมากขึ้น และปลอดภัยจากการติดมัลแวร์
หรือเรียกว่า (Micro job) จากการโฆษณาว่า ถ้าร่วมตอบแบบสอบถามหรือเข้าชมโฆษณา จะได้รับรางวัล หรือของสมมนาคุณ โดยเมื่อคลิกเข้าเว็บไซต์ไปแล้วก็จะติดมัลแวร์ที่แฝงอยู่ ซึ่งบางครั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้
เช่น Facebook หรือ Twitter โดยมีการสร้างเนื้อหาที่หลอกล่อให้เราเข้าใจผิดว่ามีโปรแกรมที่เราจำเป็นต้องใช้ ติดตั้งแล้วจะปลอดภัย และเมื่อเราหลงเชื่อกดเข้าไปก็เข้าทาง ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์ได้เช่นกัน
โดยการสร้างโปรไฟล์ที่สวยหรูดูดีมีความน่าเชื่อถือ แล้วทำการโฆษณาเป็นเหมืองขุดเงินดิจิทัล และมีโปรแกรมสำหรับขุดเหมืองแบบส่วนตัว ได้เงินเร็ว เงินไว รีบโหลดก่อนจะลบโพส แต่เมื่อโหลดมาติดตั้งไม่ใช่เงินนะแต่เป็น “มัลแวร์” แทน
ใต้วิดีโอยูทูปที่มียอดไลค์สูงไม่ว่าจะเป็น วิดีโอเรื่องการขุดเหมือง หรือ รีวิวสูตรโกงเกม และทำให้ like ของคอมเมนต์นั้นสูง และคอมเมนต์อื่น dislike สูง ทำให้ดูหน้าเชื่อถือ
ที่ทำการฝังมัลแวร์แฝงเอาไว้ วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแพร่กระจายมัลแวร์ เพียงแค่ปลอมเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง หรือสร้างเว็บปลอมตามความสนใจต่างๆ ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือเกมก็ตามที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งาน และทำการดาวน์โหลดในที่สุด
ด้วยการส่งข้อความหาแบบนิรนามว่า มีรูปแอบถ่ายของดาราดัง พร้อมแนบลิงก์มาให้โหลดด้วย เมื่อคลิกก็ติดตั้งมัลแวร์แบบอัตโนมัติ
โดยการตั้งห้องที่มีหัวข้อที่มีประเด็นดึงดูดน่าสนใจ อาทิเคล็ดลับสำหรับการขุดเหมือง หรือจะเป็นกลสำหรับโกงเกมดังต่าง ๆ แล้วเปิดเป็นสาธารณะ หลอกคนให้เข้ามาโหลดมัลแวร์ไปติดตั้งจัดได้ว่าเป็นช่องทางการแพร่มัลแวร์ได้จำนวนมหาศาล
ผ่านช่องทางการเอาเงินมาล่อใจ วิธีนี้ได้รับความนิยมมาก ทำโดยแจกโมเดลธุรกิจที่มีการรับประกันว่าสร้างเงินออนไลน์ได้ อาทิ อยู่บ้านก็หาเงินได้ หรืออยากรวยช่วยบอกต่อ ซึ่งเหยื่อก็จะทำการกดเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารมาอ่านซื่งในโฟลเดอร์ที่ดาวน์โหลดมาก็จะแนบมัลแวร์มาด้วย และถ้าทำการแชร์ไปในสังคมออนไลน์ ก็จะเป็นการแพร่มัลแวร์อีกทางหนึ่งไปด้วย
เป็นการแพร่มัลแวร์ไวรัสโดยการแข่งขันกันผ่านเกมเพื่อแจกของรางวัล โดยโพสต์รายละเอียดตามเว็บบอร์ดเกมต่าง ๆ ว่ามีเกมสนุกๆ ให้ร่วมเล่น เพียงโหลด text file เพื่อตอบคำถามก็ได้รับรางวัล แต่ text file นั้นเป็นมัลแวร์ปลอมไอคอนมาหลอก ซึ่งสิ่งที่แนบมาด้วยก็คือมัลแวร์นั่นเอง
สำหรับหลอกล่อ หนุ่มโสด สาวโสด ที่ต้องการหาคู่ ผ่านทางการพูดคุยต่างๆ ที่ระหว่างการคุยนั้นมีการส่งไฟล์รูปที่แฝงมัลแวร์มาด้วย ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะปล่อยมัลแวร์ได้แล้ว ยังอาจได้ข้อมูลส่วนตัวของฝั่งตรงข้ามมาแบล็กเมล์ด้วย
วิธีนี้เป็นการใช้ความอ่อนไหวของความรู้สึกของคนมาเป็นตัวล่อ เช่น การปลอมแปลง Profile ให้เป็นสาวสวย แล้วสร้างเรื่องร้าวฉาน แกล้งส่งข้อความไปว่ามีคลิปลับกับคนในครอบครัว แน่นอนเรื่องแบบนี้ไม่มีใครทนไหวแน่นอน เมื่อทำการกดไปด้วยความโมโห ก็เป็นการเปิดประตูรับโจรเข้าบ้านมาเต็ม ๆ
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เว็บใต้ดินเป็นช่องทางที่ไม่ปลอดภัย และเสี่ยงต่อการแพร่มัลแวร์ไวรัสต่าง ๆ แต่เมื่อมีการสร้างหัวข้อที่ล่อตาล่อใจสักหน่อยว่า “แค่ลงแอปพลิเคชันก็ได้เงิน” เมื่อคลิกลิงก์ก็จะทำการติดตั้งมัลแวร์ หรือแม้กระทั่งให้ผู้ที่สนใจติดต่อผ่านทาง Telegram วิธีนี้จะทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อติดต่อมาโดยตรง จากนั้นก็แค่ส่งเอกสารที่มีมัลแวร์กลับไปแทน และถ้ามัลแวร์นั้นเป็นแบบประเภทที่ขโมยข้อมูล ก็สามารถ ใช้ Profile ของเหยื่อมาสร้างหัวข้อสนับสนุนของแฮกเกอร์ ให้ดูน่าเชื่อถือได้อีกด้วย เช่น “ติดตั้งแล้วได้เงินจริงๆด้วย” เป็นต้น
ซึ่งวิธีการนี้สร้างกำไรได้มากที่สุด วิธีการคือเข้าไปในเว็บไซต์ที่เป็นเว็บบอร์ดของคนขุดเหมืองในส่วนที่มีการแชร์ โปรแกรม ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขุดเหมือง แล้วทำการคัดลอกข้อความทั้งหมดมา และแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น สเปน, เยอรมัน, หรือฝรั่งเศส แล้วนำไปโพสต์ในเว็บบอร์ดของประเทศภาษานั้นๆ พร้อมกับการแก้ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม แต่โปรแกรมกลับแนบเป็นลิงก์สำหรับโหลดมัลแวร์แทน
จาก 13 ช่องทางที่กล่าวด้านบน จะเห็นว่าเนื้อหาการหลอกให้หลงเชื่อนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ และของฟรี (เช่นซอฟต์แวร์ฟรี) แม้ว่าในบทความอ้างอิงมาจะเป็นบทความจากต่างประเทศ อาจจะมีบางช่องทางที่ภายในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมนัก แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เราไม่ควรเชื่อในเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือ ไม่ควรติดตั้งซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือแม้กระทั่งไม่ควรคลิกลิงก์ที่ไม่รู้ว่าปลายทางจะไปที่ไหน เว็บนั้นจะปลอดภัยหรือเปล่า “คิดก่อนคลิก” ที่จะดาวน์โหลดโปรแกรม หรือ เอกสารใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของคุณ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :www.hackread.com