การบริหารความเสี่ยงจัดหาจัดซื้อ

การบริหารความเสี่ยงจัดหาจัดซื้อ

 

 

 

       โดยทั่วไปปัจจัยความเสี่ยงการจัดหาจัดซื้อมักเกิดจากค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นผลจากความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนหรือการปรับราคาขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้จำหน่าย เช่น การอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์ที่ส่งผลให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคอเมริกาเหนือมุ่งแหล่งจัดหาในแถบยุโรปซึ่งการลดค่าเงินดอลล่าร์ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อประเทศในภูมิภาคเอเซียโดยเฉพาะประเทศที่มุ่งการส่งออกสินค้าไปยังอเมริกา

 

       ผลจากการป้องกันค่าเงินดอลล่าร์ที่อ่อนตัวลงได้ส่งผลให้เกิดการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้นและสร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน ดังนั้นจึงมิอาจกล่าวได้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นผลจากองค์กรดำเนินนโยบายจัดซื้อจากผู้ส่งมอบรายเดียวและ

ผู้บริหารต้องหาเครื่องมือที่จะลด

 

       ความเสี่ยงการจัดหาจัดซื้อ เช่น ความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนสามารถจัดการด้วยการป้องกันความเสี่ยงทาง

การเงินโดยเฉพาะการสร้างสมดุลการไหลของต้นทุนหรือรายรับจากการลงทุนแต่ละภูมิภาคเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในกำลังการผลิตทั่วโลก

 

       ดังเช่นกลยุทธ์การผลิตแบบโตโยต้าที่มีนโยบายให้โรงงานแต่ละภูมิภาคดำเนินการผลิตเพื่อป้อนให้กับตลาดท้องถิ่นและรับบริการจากตลาดท้องถิ่นทำให้โตโยต้าสามารถปรับกระบวนทัศน์การผลิตหากเกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยน

 

       ส่วนการปรับขึ้นราคาของผู้ส่งมอบอาจบรรเทาปัญหาด้วยหลายแนวทาง เช่น การทำสัญญาระยะยาวการจัดหาผู้ส่งมอบรายใหม่และการสต็อกเผื่อในรายการที่จำเป็นแต่การการวางแผนจัดซื้อระยะยาวมักเกิดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อผลการดำเนินงาน หากราคาที่เคยตกลงไว้มีการปรับลดลงภายหลังซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดทุนอย่างการทำสัญญาซื้อน้ำมันที่ราคา 140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลเป็นระยะเวลา 2 ปีของสายการบินแห่งหนึ่งและราคาน้ำมันเกิดการปรับลดต่ำกว่า 40 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลส่งผลให้สายการบินดังกล่าวไม่สามารถแข่งขันกับสายการบินอื่นและกำลังอยู่สภาพใกล้ล้มละลาย

 

       สำหรับการทำสัญญากับผู้ส่งมอบรายอื่นจะเกิดประสิทธิผลเมื่อองค์กรสามารถรักษาระดับการผลิตเฉกเช่นโตโยต้าที่มุ่งความประหยัดจากขนาดระดับท้องถิ่นด้วยการจัดหาผู้ส่งมอบรายเดียวแต่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ส่งมอบทั่วโลกเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการจัดซื้อแต่ผู้ผลิตบางรายอาจใช้ผู้ส่งมอบหลายรายแม้ว่าจะไม่เกิดความประหยัดจากขนาดก็ตามโดยมุ่งตรวจติดตามเพื่อประเมินและเทียบเคียงผลงานระหว่างผู้ส่งมอบ

 

       สำหรับประเด็นการควบคุมสต็อกแบบทันเวลาพอดีเริ่มพูดถึงกันมากหลังเกิดเหตุการณ์ 911 แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ คือ การสร้างระบบสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งการเติมเต็มในสถานการณ์ปกติ และสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์ฉุกเฉิน อย่าง

โรงพยาบาลที่เก็บยาสำคัญบางตัวไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินแต่การลดความเสี่ยงสินค้าคงคลังไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ คือ การเติมเต็มสินค้าตามอุปสงค์ลูกค้าซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้บริหารจะต้องหาแนวทางป้องกันความผันผวนที่จะส่ง

ผลกระทบต่อการเติมเต็มอุปสงค์นั่นคือ การใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงด้วยการรวมสินค้าคงคลัง (Inventory Pool) เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการส่งมอบที่ส่งผลให้เกิดปัญหาของขาดและการใช้ผู้ส่งมอบมากกว่าหนึ่งรายเพื่อลดความสูญเสียเมื่อผู้ส่งมอบไม่สามารถจัดหาของได้ทันเวลา ด้วยเหตุนี้อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสนับสนุนการป้องกันความเสี่ยงนั่นคือ การแบ่งปันข้อมูลอย่างรวดเร็วทางออนไลน์เพื่อให้คู่ค้าระดับปลายน้ำสามารถใช้ข้อมูลในการวางแผนนอกจากนี้ยังสนับสนุนผู้สั่งซื้อเพื่อสืบค้นข้อมูลแหล่งจัดหาปัจจัยการผลิตจากตลาดทั่วโลก

 

การเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าระหว่างคู่ค้า

 

       แต่ปัญหาที่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ประสบคือ การสต็อกมากเกินความจำเป็นซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยเฉพาะปัญหาการเสื่อมสภาพของสินค้าอย่างสินค้าประเภทเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีระยะการสต็อกราว 3-4 เดือน หากจัดเก็บสต็อกนานกว่าระยะเวลาดังกล่าวก็จะส่งผลให้เกิดผลการขาดทุนจากต้นทุนการจัดเก็บและการลดลงของราคาสินค้า นอกจากนี้ความหลากหลายประเภทสินค้าเพื่อมุ่งตอบสนองให้กลุ่มลูกค้าตามคำสั่งซื้อได้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นอย่างกรณีผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายระบบสื่อสาร (Network Equipment) รายใหญ่ใช้กลยุทธ์ว่าจ้างผู้ผลิตภายนอก (Outsourcing)

 

       ทำให้ลดความสูญเปล่าการจัดเก็บสต็อก หรือกรณีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายรายได้สั่งซื้อชิ้นส่วนจากผู้ผลิตภูมิภาคอื่นที่มีต้นทุนแรงงานถูกกว่ากลยุทธ์ดังกล่าวถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรข้ามชาติที่มุ่งสร้างความสามารถการแข่งขันจากฐานการผลิตภูมิภาคอื่น ดังนั้นผู้บริหารสามารถบรรเทาปัญหาด้วยทางเลือกหลายแนวทาง ดังเช่น การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานร่วมกัน (Common Part) และกลยุทธ์เลื่อนเวลา (Postponing) เพื่อชะลอการประกอบขั้นสุดท้ายจนกว่าได้รับคำสั่งซื้ออย่างกรณี

Hewlett-Packard (HP) ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาและมลรัฐวอชิงตันสหรัฐอเมริกาดำเนินกลยุทธ์การเลื่อนเวลาทางรูปแบบสินค้า (Form Postponement) โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าแต่ละถูมิภาคจะมีมาตรฐานอุปกรณ์เชื่อมต่อ อย่าง สายไฟ เครื่องแปลงไฟและฉลากคำแนะนำต่างกัน ดังนั้น HP จึงชะลอการประกอบขั้นสุดท้ายด้วยการสต็อกชิ้นส่วนมีมาตรฐาน สายไฟ และเครื่องแปลงไฟที่ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (Regional Distribution Center) เพื่อตอบสนองอุปสงค์ให้ลูกค้าแต่ละภูมิภาคเมื่อทราบอุปสงค์แท้จริงหรือได้รับคำสั่งซื้อ

 

Credit : โกศล ดีศีลธรรม
By : www.SoGoodWeb.com

 

โดย :
 12224
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเพจของคุณกำลังประสบปัญหาการเข้าถึงลดน้อยลง ควรตรวจสอบคอนเท้นต์ที่คุณโพสว่า เข้าข่ายคอนเท้นต์คุณภาพต่ำหรือไม่ ลองปรับเปลี่ยนคอนเท้นต์และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสื่อสารกับแฟนเพจของคุณเท่านั้น
ด้วยภาวะการแข่งขันสูงมากในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจ SME ที่จะมาสู้รบปรบมือกับบรรดากิจการทุนหนาที่ต่างทุ่มงบประมาณในการส่งเสริมการตลาดโดยเฉพาะงบโฆษณาเพื่อช่วงชิงตำแหน่งผู้นำตลาด
ต่างก็เป็นเทคนิคในการทำการตลาดออนไลน์บนหน้าค้นหา (Search Marketing) เทคนิคในการวางแผนและลงมือทำที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายหลักเดียวกันคือการเพิ่ม Traffic หรือยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสการขายให้กับสินค้าหรือบริการของธุรกิจ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์