เมื่อสมัย ค.ศ. 1890-1920 การบริหารการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตขององค์กรธุรกิจ ปริมาณที่จัดซื้อจัดหา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การควบคุมอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการกระจายพลังงานและใช้เสริมกับโครงสร้างวิศวกรรมขนาดใหญ่นำไปสู่โรงงานและสถานประกอบการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อความซับซ้อนของเทคโนโลยีการผลิตมีมากขึ้นหัวหน้างานเพียงไม่กี่คนจะไม่สามารถประสานงานที่รายละเอียดมากขึ้นในระบบการผลิตขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นพนักงานสายสนับสนุนต่างๆ ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในสถานประกอบการและโรงงานอาทิเจ้าหน้าที่งานเอกสารนักบัญชีเจ้าหน้าที่วางแผนเจ้าหน้าที่จัดซื้อผู้ควบคุมกระบวนการ (วิศวกร) เพื่อให้แต่ละงานสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งลักษณะตำแหน่งงานเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป
การปรับปรุงผลผลิตและการลดต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญผู้บริหารเริ่มให้ความสนใจในงานจัดซื้อมากขึ้นรวมถึงการพัฒนา
ความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์และการประเมินซัพพลายเออร์
บทบาทของการจัดซื้อในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าองค์กรธุรกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้เป็นเจ้าของ องค์กรจะไม่สามารถเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้ดีไปกว่าบริการที่ได้รับจากซัพพลายเออร์ซึ่งถ้าหากซัพพลายเออร์และวัตถุดิบมีปัญหาด้านคุณภาพก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อลูกค้ารวมทั้งเพิ่มต้นทุนขององค์กรในความพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เช่น ต้องมีต้นทุนในการจัดเก็บวัตถุดิบมากขึ้น
บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการจัดซื้อจัดหา เช่น การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบ เพื่อสนับสนุนจุดมุ่งหมายโดยรวมขององค์กร การเข้าถึงแหล่งซื้อใหม่ๆ วัตถุดิบชนิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แหล่งอุปทานใหม่ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นการพัฒนาซัพพลายเออร์และการบริหารความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างองค์กรมีความสำคัญต่อรูปแบบการแข่งขันพันธมิตร
Credit : ดร.ชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย