การจัดซื้อของบริษัทที่มีกระบวนการจัดซื้อแบบโซ่อุปทานที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการทำงาน อาทิเช่น ERP, MRP นั้น เป็นส่วนประกอบชิ้นใหญ่ของการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
(Leenders M.R. , 1997) ปี 1980 บริษัทต่างๆ เริ่มนำระบบ Electronic Data Interchange: EDI ได้นำมาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับ
ผู้ขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งและรับใบสั่งซื้อ/ใบกำกับภาษี สำหรับระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นเครื่องมือของโรงงานต่างๆนำมาใช้กับการจัดการบริหารวัตถุดิบ และผู้ขายสินค้ากับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง (direct material) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล กำหนดระยะเวลา จำนวนวัตถุดิบที่ต้องการใช้ของโรงงาน และจำนวนวัตถุดิบคงเหลือของผู้ขายวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างระบบการบริหารวัตถุดิบของโรงงานกับระบบการขายของผู้ขายวัตถุดิบโดยตรง ต่อมากลางปี 1990 บางบริษัทได้นำระบบคอมพิวเตอร์ที่มีใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลของความต้องการและปริมาณของสินค้ามาใช้สร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าของบริษัทในการจัดซื้อสินค้าที่สนับสนุนการผลิต (indirect procurement)
การจัดซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง(Direct procurement) เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบและวัตถุดิบที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป อาทิเช่น แผ่นเหล็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ส่วนการจัดซื้อสินค้าประเภท
สนับสนุนการผลิต (Indirect procurement) เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการเพื่อบำรุงรักษา ซ่อมแซม และปฏิบัติงาน (maintenance, repair and operation: MRO) ของโรงงานและเครื่องจักร และสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับส่วนสุดท้ายของสินค้าของโรงงานหรือส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขายโดยตรง บริษัทที่นำระบบ ERP มาใช้ในระยะแรกนั้นนำมาใช้เพื่อบริหารการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงและปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงสำหรับกระบวนเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่ผลิตเท่านั้น บางบริษัทก็นำระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) มาใช้กับสินค้าประเภทสนับสนุนการผลิต (indirect procurement) พบว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพการจัดการกระบวนการโซ่อุปทานของ MRO ของโรงงานได้เป็นอย่างดี ด้วยว่าการนำระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) มาเปรียบเทียบกับระบบ ERP จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายถูกกว่า มีความยืดหยุ่นมากกว่า
ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) สามารถจำแนกได้ดังนี้ การสั่งซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(electronic ordering) ประมูลราคาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet bidding) บัตรจัดซื้อ (purchasing card) ประมูลราคาแบบราคาต่ำลง
(reverse auction) และการผสมผสานระบบจัดซื้อเข้ากับระบบภายในบริษัท (integrated automatic procurement systems) (Moon, 2005) ตามแนวความคิดหลักของระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) คือการรวมความต้องการของผู้ใช้สุดท้าย (requester) กับรายการสินค้าของผู้ขายหลายรายผ่านแคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic catalog) และช่วยปิดช่องว่างในกระบวนการโซ่อุปทานที่จัดซื้อสินค้าประเภทสนับสนุนการผลิต (Indirect procurement) อาทิเช่น การบันทึกข้อมูลซ้ำ
(re-entry of data) ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการต้นทุนของบริษัทได้เป็นอย่างดี และขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) คือนำไปเชื่อมโยงกับตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-markets) เพื่อสร้างความแข็งแรงของการจัดซื้อในกระบวนการโซ่อุปทาน ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นได้แก่ Ariba, Commerce One or SAP
(Thomas Puschmann, 2005)
สรุปได้ว่าระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการของกระบวนการโซ่อุปทานในการจัดหาและจัดซื้อสินค้าประเภทสนับสนุนการผลิต (Indirect goods) ที่มีพื้นฐานบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต และตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-markets) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกได้รายงานว่าบริษัทใช้ระบบเทคโนโลยี่ด้านอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะลดต้นทุนด้านกิจกรรมรายการต่างๆ (transaction cost) ลดราคาซื้อสินค้า (purchase price) ลดระยะเวลาขั้นตอนในการออกใบสั่งซื้อ (purchase order processing cycle time) และเพิ่มความรวดเร็วในการนำสินค้าออกสู่ตลาด (Dawn H. Pearcy 2004)
Credit : กฤศ ฉายแสงเดือน