ปัจจุบัน เราได้เข้าสู่ยุคหลังการใช้พีซีแล้ว (Post PC) เรากำลังจะเริ่มใช้พีซีของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน็ตบุ๊คกันน้อยลง หลายคนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือทำงานผ่านทางอุปกรณ์ ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือแท็ปเล็ตกันมากขึ้น และเราเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดินใช้บราวเซอร์ เริ่มหันไปใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือกันมากขึ้น จนตอนนี้เรามีแอพในมือถือมากมายนับล้านๆ แอพ หลายธุรกิจและหลายแบรนด์ต่างเริ่มหันมามองถึงการพัฒนาและสร้างแอพของตัวเอง เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงและสื่อสารลูกค้า แต่หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความคิดที่สร้างแอพของธุรกิจของคุณขึ้นมาอยู่ใน หัว ผมอยากให้คุณอ่านบทความนี้ให้จบก่อนครับ
ตอน นี้หลายบริษัทในไทย (และต่างประเทศ) ต่างพากันเฮโล พากันพัฒนาแอพในมือถือขึ้นมากันมากมาย เพราะมีความเชื่อและเหตุผลที่หลากหลาย โดยจุดเด่นใหญ่ๆ ที่ธุรกิจต่างๆ นำมาใช้เป็นเหตุผลในการสร้างแอพของตัวเองขึ้นมากกัน
1. จำนวนผู้ใช้มือถือ สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
2. เป็นช่องที่เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและทันที
3. บริการลูกค้าผ่านช่องทางใหม่ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น
4. เห็นชาวบ้านมีกัน เราต้องมีบ้าง เท่ห์ดี
แต่ เท่าที่เห็นๆ มาส่วนใหญ่ เหตุผลส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ข้อ 4 กัน คือเห็นชาวบ้านทำกันเลยอยากทำบ้าง หรือทำเพื่อทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กร หรือแบรนด์ออกมาดูดี และสาเหตุส่วนใหญ่ที่หลายคนทำแอพกันส่วนใหญ่เกิดจาก ผู้บริหารหรือฝ่ายการ ตลาดอยากให้มี ซึ่งทำให้มองข้าม ความต้องการของผู้ใช้ ว่าเค้าต้องการแอพ หรือบริการต่างๆผ่านมือถือจริงๆ หรือเปล่า
ปัจจุบัน เรามีแอพเกิดขึ้นมากมายนับล้านๆ แอพ และกว่า 60% ของคนทั่วไปจะโหลดแอพประมาณ 4-15 แอพต่อเดือน และส่วนใหญ่จะมีแอพประมาณ 20-30 แอพ แต่เค้าจะใช้แอพจริงๆ เป็นประจำแค่ 4-6 แอพต่อสัปดาห์เท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมีหลายแอพมากที่ หลายคนโหลดมาแล้วเปิดเพียงครั้งเดียว และหลังจากนั้นก็ไม่เคยเปิดอีกเลย ทำให้มีแอพต่างๆ มากมายถูกใช้เม็ดเงินมากมายลงทุนพัฒนาไปหลายล้านบาท แต่อาจจะมีเพียงแค่คนมาใช้จริงๆ ไม่ถึง 10 คนต่อวัน (ผมนับจากคนใช้จริง ไม่ใช้ยอดดาวน์โหลดนะ) ดังนั้นการที่เราต้องศึกษาดูให้ดีก่อนการพัฒนาแอพขึ้นมาว่า จะมีคนใช้จริงๆ หรือไม่
ความต้องการของผู้ใช้บริการ
ต้อง ดูก่อนว่า ลูกค้าของเรามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะใช้แอพที่เราสร้างขึ้นมา ลองไปศึกษาดูสิว่า แอพที่เราจะพัฒนาขึ้นมา จะไปช่วยอะไรลูกค้าเราได้บ้าง (อันนี้แนะนำให้ทำการศึกษาความต้องการของลูกค้าจริงๆ ก่อนพัฒนา) และเรายังทราบได้อีกว่า เราควรจะพัฒนาแอพบนแพล็ทฟอร์มอะไรเช่น iOS หรือ Android ให้ดูความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง อย่ามามั่วและโมเมเอาเอง
แอพคุณมีความจำเป็นที่ต้องใช้หรือไม่
บาง ครั้งลูกค้าคุณ อาจจะมีความต้องการใช้แอพที่ไม่จริง หากคุณถามเค้าๆ ก็อาจจะอยากบอกว่าอยากได้ แต่หากคุณถามลงไปลึกๆ คุณก็อาจจะพบว่าเค้าอาจจะไม่ได้มีความต้องการที่แท้จริงในการใช้แอพของคุณ ดังนั้นการศึกษาความต้องการและดูความจำเป็นคือสำคัญที่สุดในการทำแอพขึ้นมา ต้องดูว่าบริการที่คุณจะพัฒนาขึ้นมาให้เค้าใช้มัน "จำเป็น" ต่อกลุ่มเป้าหมายของคุณหรือไม่
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาแอพขึ้นมา
คุณต้องวิเคราะห์ให้ชัด เป้าหมายของแอพที่จะพัฒนาขึ้นมา ทำเพื่ออะไร เช่น เพื่อเพิ่มช่องทางการให้บริการ, เป็นการเก็บมูลลูกค้า, เพิ่มช่องทางการขาย เป็นต้น และมีการวางเป้าหมาย (KPI) ที่วัดได้อย่างชัดเจน เช่นจำนวนคนดาวน์โหลด, จำนวนคนใช้งานแอพในแต่ละวัน (อันนี้สำคัญที่สุด) เพราะถือว่าเป็นสิ่งสะท้อนว่าคนมีการใช้งานแอพจริงๆ เพราะหลายครั้งที่คนโหลดแอพไป แต่แทบไม่เคยเปิดมันอีกเลย
แพล็ทฟอร์มหรือพัฒนาบนระบบอะไรดี
หลาย คนชอบถามผมว่าจะพัฒนาบนระบบอะไรดี แต่อย่างที่บอกไปตอนต้น คือพัฒนาแอพอยู่บนระบบมือถือที่ลูกค้าคุณใช้มากที่สุด (คุณต้องหาให้เจอ) แต่หากคุณไม่จำเป็นต้องการความสามารถหรูหราอลังการงานสร้างมากนัก ผมแนะนำให้พัฒนาเป็น "เว็บรูปแบบมือถือ (Mobile Version)" แล้วให้ลูกค้าคุณดาวน์โหลดไอค่อนไปแทน และเมื่อเค้าคลิกที่ไอค่อน มันจะวิ่งมาที่หน้าของ "เว็บรูปแบบมือถือ" ซึ่งไม่ว่าจะเป็นมือถือระบบปฏิบัติการอะไรก็แล้วแต่เช่น iOS, Android, Blackberry หรือ Nokia รุ่น 10 ปีก่อน ก็จะรองรับ
ดัง นั้นก่อนการจะพัฒนาแอพในมือถือให้กับธุรกิจของคุณคุณต้อง ดูข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ให้ครบถ้วนเสียก่อน ที่จะตัดสินใจพัฒนาแอพอะไรขึ้นมาตามใจ หรือตามความอยากของผู้บริหารหรือฝ่ายการตลาดเท่านั้น "ความต้องการจริงของลูกค้า" จะเป็นตัวกำหนดหลักว่า ธุรกิจคุณควรจะพัฒนาแอพในมือถือหรือไม่ เพราะ หากทำออกมาแล้วไม่มีคนใช้ สู้เสียว่าอย่าไปเสียเงิน เสียเวลาไปทำมันเลยครับ มันน่าเสียดายทรัพยากรที่เราต้องสูญเสียไปครับ เดียวจะหาว่าผมไม่เตือน
Credit : pawoot
By : www.SoGoodWeb.com