สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความเสถียรของระบบ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Security และ การยืนยันตัวบุคคล ซึ่งหากนำเทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure) มาใช้ก็จะสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้หมด เนื่องจากเราสามารถนำรหัสลับ (Encryption) มาใช้ ในกรณีที่ต้องการส่งข้อความที่เป็นความลับเพื่อให้ผู้รับเพียงคนเดียวเท่านั้น โดยการนำ Digital Signature หรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อยืนยันตัวบุคคล ซึ่งหากนำเทคโนโลยี PKI มาใช้ร่วมกับระบบอินเทอร์เน็ตในการทำ e-Auction ก็จะสามารถรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality) รักษาความครบถ้วนของข้อมูล (Data Integrity) การพิสูจน์ตัวตนผู้ส่งข้อมูล (Authenticity) และการห้ามปฏิเสธว่าตนไม่ได้ส่งข้อมูล (Non-Repudiation) ได้อีกด้วย ( อ้างอิงจาก : บทสัมภาษณ์ของ ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด รองผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ )
จุดประสงค์ของระบบ G-Procurement และระบบ E-Auction คือ ทำให้สามารถจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฝ่ายจัดซื้อมีความกระตือรือร้นในการทำงานมาขึ้น ปัญหาการฮั้ว การโกง และ คอร์รัปชั่นในวงราชการลดน้อยลง และท้ายที่สุดก็เพื่อทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐบาลมากขึ้น นั่นเอง
แม้ว่าเจตนาของการทำ อี-โพรเคียวเม้นท์จะเป็นไปในทางที่ดี แต่ประชาชนและผู้ตรวจสอบสังคมทั้งหลายก็คงจะวางใจกับเรื่องดังกล่าวไม่ได้ เนื่องจากเรื่องผลประโยชน์และเงินยังคงเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร ทั้งในส่วนบริษัทผู้ผลิตที่ต้องการได้โครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งมีมูลค่ารวมๆ กว่าแสนล้านบาทต่อปี หรือ บริษัทผู้เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องการรับงานภาครัฐ อาจจะมีบางรายที่เคยเข้าทางลัดเหมือนแต่ก่อนได้ และติดใจหันมาเข้าทางลัดผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ "อี-ฮั้ว"แทน
Credit : vclass.mgt