สินค้า ไทยนั้นอาจจะดูว่ามีราคาถูกเมื่อได้คำนวณในสกุลเงินของต่างประเทศ แต่การขายสินค้าไปยังต่างประเทศในแบบ B2C(ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค นั้น) ผู้ซื้อสินค้าจะต้องชำระเงินค่าขนส่ง และบวกภาษีนำเข้าไปด้วย ซึ่งปัจจุบันค่าขนส่งสินค้า 1 กิโลกรัมไปยัง America บริษัทขนส่งจะคิดต้นทุนประมาณ 1,000 บาท
ดังนั้น สินค้าเหล่านั้นอาจจะมีราคาแพงกว่าการซื้อจากร้านค้าใน America ได้ ในระยะยาวต้นทุนในการผลิตของที่ประเทศไทยอาจจะสูงกว่าอินเดีย หรือจีน เพราะค่าแรงที่ปรับสูงขึ้นในไทย ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการขนส่งออกด้วยการขายของถูกได้ต่อไปแล้ว ดังนั้น ผู้ขายจึงต้องเน้นการตั้งราคาอย่างเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าของ
คู่แข่งที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนั้น การขายสินค้าบางชนิด เช่นเครื่องประดับที่น้ำหนักเบาและมีขนาดเล็กจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น เพราะมีการคำนวณน้ำหนักขั้นต่ำด้วยในการส่ง ผู้ขายจึงควรจะต้องนำเสนอสินค้าอย่างเครื่องประดับเป็นชุด แทนที่จะต้องแยกขายเป็นชิ้นๆ ซึ่งเมื่อถ้ารวมราคาเป็นชุดแล้วจะทำให้ลูกค้านั้นมีความรู้สึกว่าราคาไม่สูง มากนัก
ในกรณีที่ผู้ขายได้รู้ว่าตลาดหลักๆ ของตน เป็นกลุ่มลูกค้าประเทศอะไรแล้ว อาจจะคำนวณค่าจัดส่งโดยรวมเข้าไปในราคาของสินค้านั้นๆ เลย เพื่อที่จะช่วยในกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้ย่นเวลาสั้นขึ้น ในส่วนของการตั้งราคาเพื่อขายสินค้าผ่าน Internet นั้น ผู้ขายต้องคำนวณถึงต้นทุนอย่างรอบคอบ หรือแม้กระทั่งความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ลูกค้าทำรายการซื้อด้วยบัตรเครดิต ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียม 5% ซึ่งผู้ขายจะต้องคิดค่าใช้จ่ายไปรวมเป็นต้นทุนก่อนที่จะตั้งราคาสินค้าด้วย
Credit : waanvar