• หน้าแรก

  • เกร็ดความรู้

  • เตรียมปิดบริษัท หรือเตรียมขยายออกไปนอกประเทศ เมื่อเปิด AEC เรื่องใกล้ตัวที่คุณ “ต้องรู้”

เตรียมปิดบริษัท หรือเตรียมขยายออกไปนอกประเทศ เมื่อเปิด AEC เรื่องใกล้ตัวที่คุณ “ต้องรู้”

  • หน้าแรก

  • เกร็ดความรู้

  • เตรียมปิดบริษัท หรือเตรียมขยายออกไปนอกประเทศ เมื่อเปิด AEC เรื่องใกล้ตัวที่คุณ “ต้องรู้”

เตรียมปิดบริษัท หรือเตรียมขยายออกไปนอกประเทศ เมื่อเปิด AEC เรื่องใกล้ตัวที่คุณ “ต้องรู้”

 

 

 

ผมเองได้มีโอกาสพบปะกับหน่วยงานด้าน SME ของเมืองไทยเยอะมาก และพบว่าตอนนี้หลายๆ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ต่างพากันพูดถึงแต่เรื่อง AEC ตอนแรกๆ ก็เฉยๆ แต่พอฟังๆ ไปและได้ยินบ่อยขึ้น และมาวิเคราะห์ตาม พบว่า AEC มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากของคนทำธุรกิจในเมืองไทย เพราะหากคุณสามารถปรับตัวได้ มันจะเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจคุณได้อย่างมาก

แต่หากคุณปรับตัวไม่ทัน ธุรกิจของคุณอาจจะโดนคู่แข่งจากต่างประเทศมากขายแข่งกับคุณได้ง่ายๆ ผมได้นำข้อมูลมาจาก คุณมานะผล ภู่สมบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและประธานกรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI)

 

AEC คืออะไร?

 

AEC คือ ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) จุดมุ่งหมายหลักคือ การนำเอาอาเซียนไปสู่การรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Single Pro duction Base) คล้ายๆ กับการรวมตัวของกลุ่มประเทศในฝรั่งยุโรปหรือ EU โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีใน 5 สาขาได้แก่ 1.สินค้า 2. บริการ 3. การลงทุน 4. เงินทุน และ

5. แรงงานฝีมือ

 

ซึ่งการเปิดเสรีในครั้งนี้ย่อมมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์มาก น้อยแตกต่างกันตามศักยภาพของผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ ซึ่งจะกล่าวถึงผลกระทบคร่าวๆ ที่จะเกิดขึ้นเป็นรายสาขาดังนี้

 

1.) ผลกระทบด้านการค้า

 

ด้านนี้เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (ASEAN Free Trade Area) เริ่มเมื่อปี 2535 โดยทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

 

ในปี 2553 นี้ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะต้องลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือ 0% ภายในปี 2558 ประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ต้องทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรจนเหลือ 0% กับการค้าขายในกลุ่มอาเซียนเช่นเดียวกัน

 

การเปิดเสรีทางการค้าของอาเซียน ทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการของไทยได้เปรียบคู่แข่งในอาเซียน อาทิ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ยาง และเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าส่งออกบางรายการจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผ้าผืน เม็ดพลาสติก เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สาเหตุที่ทำให้สินค้าส่งออกของไทยบางรายการแข่งขันได้ยากนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จาก ข้อตกลง AFTA

 

2.)ผลกระทบด้านบริการ

 

ในด้านนี้ประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุดในอาเซียน คือ ประเทศสิงคโปร์และเป็นประเทศ ที่จะได้รับประโยชน์ในด้านการบริการมากด้วย โดยเฉพาะในสาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ การขนส่งทางอากาศและโลจิสติกส์ ส่วนไทยก็มีศักยภาพสูงในการให้บริการในบางสาขา โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยวซึ่งไทยมีจุดแข็งอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้งความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการให้บริการที่เป็นมิตรของไทยที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังมีด้านสาขาการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และที่สำคัญราคาไม่สูงเกินไป สาขาด้านการแพทย์ยังรวมไปถึงการบริการด้านสุขภาพทั่วไป การบริการ ดูแลผู้สูงอายุและการบริการด้านความงาม ซึ่งล้วนเป็นธุรกิจบริการที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีด้านบริการ


3.) ผลกระทบด้านการลงทุน

 

จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 จะทำให้การลงทุนทางตรงจากประเทศอาเซียนด้วยกันเองเพิ่มมากขึ้น และจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการผลิต หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียนซึ่งมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในสาขาเกษตรและเกษตรแปรรูป รับเหมาก่อสร้าง เหมืองแร่ รวมทั้งภาคการผลิตที่นักลงทุนไทยมีความเชี่ยวชาญ

 

4.) ผลกระทบด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ

 

เป็นด้านที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เนื่องจากการเปิดเสรีดังกล่าวอาจทำให้แรงงานฝีมือในอาเซียนย้ายจากประเทศที่ มี

ค่าตอบแทนต่ำ ไปยังประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่า และมีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย อย่างเช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งหลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่าการเปิดเสรีแรงงานฝีมือดังกล่าว จะทำให้แรงงานฝีมือของไทยในบางสาขาย้ายไปทำงานในมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมก็กำลังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมืออย่างหนัก

 

5.) ผลกระทบด้านเงินทุน

 

ปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดของการเปิดเสรีที่ชัดเจนแต่ได้ มีการตกลงกันในเบื้องต้นว่าจะเร่งพัฒนาตลาดทุนร่วมกันจนนำไปสู่การรวมของ ตลาดทุนในอาเซียน และยินยอมให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรีมากขึ้น แต่ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งก่อนจะเห็นเป็นรูปธรรม

 

หากจะพูดถึง AEC ให้เข้าใจถึงผลกระทบ ข้อดีข้อเสีย กฎระเบียบต่างๆSMEs อย่างลึกซึ้งและกระจ่าง คงต้องใช้นานเลยทีเดียว และต้องพูดต่อกันหลายฉบับ คงไม่สามารถเล่าให้ทุกท่านฟังได้ทั้งหมดทุกเนื้อหา ทุกรายละเอียดหากท่านต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย www.fti.or.th หรือ www.smi.or.th ว่า AEC มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

ผมว่านี้คือบทความที่จะแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ AEC ผมแนะนำให้คุณหาข้อมูลเพิ่ม และเตรียมรับมือกับการมาของ AEC เพราะหากมีการรวมกันของกลุ่มประเทศในอาเซียน จะมีธุรกิจบางประเภทเสียเปรียบ และได้เปรียบครับ หากคุณเป็นธุรกิจที

เสียเปรียบก็ควรปรับเปรียบ หาแนวทางในการเติบโตต่อไป แต่หากใครได้เปรียบ ก็ควรจะใช้โอกาสนี้ เติบโตและขยายธุรกิจออกไปยังประเทศในกลุ่ม AEC เลยครับ เอาละ อ่านจบแล้ว ก็คิดและวางแผนเลยครับ สิ่งที่ยากที่สุดคือการลงมือทำ…. รีบซะก่อนที่มันจะช้าเกินไป

 

Credit :คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม) กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com
By : www.SoGoodWeb.com

 

 

โดย :
 2598
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา สถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างพากันลงทุนจำนวนมากกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างช่องทางให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้น แน่นอนว่าแนวโน้มการศึกษาในปี 2017 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี "ประชาชาติธุรกิจ" จึงรวบรวมแนวโน้มการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้ดังนี้ เยสคอร์ส (YesCourse) ผู้สร้างแพลตฟอร์มการกระจายการศึกษาออนไลน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกได้ขายหลักสูตรการศึกษาออนไลน์ของตน โดยปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 3,500 สถาบันการศึกษาระบุว่า ในปีที่ผ่านมาการศึกษาออนไลน์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาอย่างมาก และเป็นตัวเสริมให้การศึกษาแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนจากทุกที่ แต่ในปี 2017 ระบบการเรียนออนไลน์แบบเสมือนจริง Virtual Reality (VR) จะกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นและได้ยิน VR ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาแล้ว เช่น การบิน การทหาร และเกม แต่ในอนาคต VR จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้และตื่นตัวในการเรียนรู้มากขึ้น แนวโน้มต่อมา คือ Cloud Migration หรือการเคลื่อนย้ายฐานข้อมูลต่าง ๆ สู่คลาวด์ ซึ่งสถาบันการศึกษานำข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงระบบไอทีของตนเองสู่ระบบคลาวด์มากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายเอง ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการบริหารทรัพยากรของระบบ และสามารถแบ่งทรัพยากรร่วมกันได้ง่าย อีกหนึ่งแนวโน้มที่ YesCourse พูดไว้ คือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analytics) และการเรียนเชิงทำนาย (Predictive Learning) ซึ่งในทุก ๆ ครั้งที่ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ พวกเขาทิ้งรอยดิจิทัลไว้ (Digital Footprint) สิ่งนี้ทำให้สถานศึกษา และครูผู้สอนสามารถใช้ทำนายเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน และสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นข้อดีต่อการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากร เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ส่วนเว็บไซต์ Pathway to Financial Success บอกว่า แนวโน้มการศึกษาจะเข้าสู่ยุค The Internet of Things (IoT) เพราะอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์โฟน โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ แท็บเลต สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรียนรู้มากขึ้นทุกวัน โดยบริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner Inc.) ทำนายว่า ในปี 2020 จะมีอุปกรณ์สิ่งของต่าง ๆ เชื่อมต่อกันไม่ต่ำกว่า 20.8 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก ดังนั้น รัฐบาลแห่งประเทศอังกฤษจึงทุ่มงบฯลงทุนด้านการวิจัยและศึกษาด้าน IoT ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านปอนด์ในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์จาก IoT ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning), รู้จักการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning), กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและยั่งยืน (Self-directed Learning), ส่งเสริมเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning), สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equality) และสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Creating Smart Classroom) นอกจากนั้น Real-World Case Studies หรือกรณีศึกษาจากโลกแห่งความจริงจะเข้มข้นมากขึ้นในทุกวิชา เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน และเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าข้อมูลในตำรา กรณีศึกษาในโลกแห่งความจริงยังเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ในขณะที่ "บิล เกตส์" นักธุรกิจชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลวิเคราะห์ไว้ว่า ค่าใช้จ่ายการศึกษาจะน้อยลงและทุนการวิจัยจะมากขึ้น "เป็นที่รู้กันว่างานวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการต่อยอดการศึกษา แต่ที่ผ่านมานักวิจัยหลายคนต่างต้องวิ่งเต้นหาทุนวิจัย และหาการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ฟรีจากระบบการศึกษาที่เรียกว่า MOOCs (Massive Online Open Courses) จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเรียนน้อยลง ผู้เรียนสามารถมีทุนวิจัยของตนเอง" "ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้สอนจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน ไม่ต้องสร้างห้องเรียนหรืออาคารเรียน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็
กูรูกลยุทธ์แต่ละท่านอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันไปบ้างว่า อะไรคือสาระสำคัญที่สุดของเรื่องกลยุทธ์ แต่ตามมุมมองของผมแล้ว แก่นของกลยุทธ์คือการสอนให้เรารู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดของเราไปในทางที่ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์