Vero เอเจนซี่ที่ปรึกษาด้านการตลาด บอกว่า จากผลการศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Impact Study) ให้คำจำกัดความ Influencer คือ บล็อกเกอร์หรือบุคคลบนโลกออนไลน์อื่นๆ ที่มีผู้ติดตามมากพอที่จะสร้างผลกระทบด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้
Influencer มีหลายแบบ เช่น กูรูด้านความงามและแฟชั่น คนที่ชอบท่องเที่ยวและชิมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเกม ดนตรี ภาพยนตร์ รวมไปถึง Celebrity คนดังที่ออกสื่อโซเชี่ยลเป็นประจำ
ผลการศึกษายังบอกอีกว่า คนยุค Millennial (อายุ 24-35 ปี) และ Gen Z (อายุ 16-23 ปี) เชื่อถือในตัวอินฟลูเอนเซอร์บนสื่อโซเชียลมากกว่าแคมเปญโฆษณาราคาแพงใดๆจะสามารถทำได้ ส่วนหนึ่งเพราะคนกลุ่มนี้รับข่าวสารการตลาดผ่านการติดตาม Influencer มากกว่าโฆษณาแบบอื่น (เป็นทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือออนไลน์) เห็นได้จาก
ไบรอัน กริฟฟิน ซีอีโอของ Vero บอกว่า การเติบใหญ่ของอินฟลูเอนเซอร์ไม่ใช่การโหมกระแส แต่เป็นการเปลี่ยนวิธีการทำตลาดที่คาดหวังผลได้ในอนาคต ซึ่ง Influencer เติบโตมาพร้อมๆ กับ คนยุค Millennial Gen Z นั่นเอง
ผลการศึกษาฉบับเต็มคือ The power of influencer marketing มาจากการสัมภาษณ์ Gen Z และกลุ่ม Millennial ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ รู้ว่า Influencer ได้รับค่าตอบแทน (เป็นเงินหรือสิ่งของ) จากการพูดถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ และมองว่าไม่เป็นปัญหา เพราะเชื่อว่า Influencer แนะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยสุจริตใจเท่านั้น
Gen Z และกลุ่ม Millennial ที่ตอบแบบสอบถามชอบที่จะเห็น Influencer คนโปรดเสนอผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริง และกว่า 83% ชอบดูวิดีโอมากกว่าดูแคภาพถ่าย และชอบการรีวิวที่มีรายละเอียดครบถ้วน แต่ต้องชี้คุณสมบัติเด่นๆ ให้เห็นด้วย
Influencer บน Social Media ต่างจากโฆษณาแบบดั้งเดิม หรือการใช้คนดังมาพูดแทนแบรนด์ คือ Influencer จะโต้ตอบและพูดคุยกับผู้ติดตามอยู่เป็นประจำ ทำให้แฟนๆ ปรึกษา คุยง่ายเหมือนเพื่อน ดังนั้นจะเป็นการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย (Relatability) และความเป็นเอกลักษณ์ (Authenticity)
สรุป
ทุกวันนี้ใครจะซื้อของต้องดูรีวิวก่อน ดู Youtube หรือ Influencer คนโปรดนำเสนอโปรดักส์ให้ฟัง ทำให้บริษัทโฆษณาหรือคนที่อยากทำการตลาดในกลุ่ม Gen Z Millennial หันมาจ้าง Influencer มากขึ้น นี่คืออาชีพใหม่หรือเปล่า?
ขอบคุณแหล่งที่มา : Line Today