ทำเว็บแบบไหนถึงผิดลิขสิทธิ์?

ทำเว็บแบบไหนถึงผิดลิขสิทธิ์?



ใครที่ชอบหารูปจาก Google สวยๆ แล้วเอามาใช้บนเว็บไซต์ หรือเอาไปทำอะไรสักอย่าง ระวังให้ดี อาจมีหมายศาลส่งมาถึงบ้านคุณในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นได้!!

ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือความไม่รู้ว่า การค้นหารูป หรืออะไรสักอย่างใน Google แล้วเอามาใช้เป็นของตัวเอง มันคือการทำผิดกฎหมายดีๆ นี่เอง หรือแม้แต่การเซฟรูปจาก Facebook คนอื่นแล้วเอามาลงในเฟซของตัวเอง นี่ก็ถือว่าผิดเช่นเดียวกัน แล้วการกระทำแบบไหนบนโลกออนไลน์ที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะผิดลิขสิทธิ์บ้าง? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน เพื่อประโยชน์ของเจ้าของเว็บไซต์ทุกๆ ท่าน และเป็นการป้องกันความเสียหายไปในตัวด้วยครับ


ลิขสิทธิ์คืออะไร?

กฎหมายลิขสิทธิ์ มีขึ้นเพื่อปกป้อง คุ้มครอง ผู้สร้างเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์, เพลง, รูปภาพ, งานเขียน ฯลฯ ไม่ให้มีการนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้นๆ


เว็บไซต์มีลิขสิทธิ์หรือไม่?

เว็บไซต์ก็ถือเป็นชิ้นงานที่ได้รับการคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน เพราะถือว่าการสร้างเว็บไซต์เป็นการสร้างสรรค์ผลงานอย่างหนึ่ง ถ้ามีใครนำเอาส่วนหนึ่งส่วนใดของเว็บ หรือเนื้อหาภายในเว็บไปใช้ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ถือว่าผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย



เจ้าของเว็บอาจเป็นคนละเมิดลิขสิทธิ์แบบไม่ตั้งใจ!


ปัญหาเรื่องรูปภาพ

ในกรณีนี้ เราเคยพบเห็นเจ้าของเว็บไซต์บางรายกลายเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เสียเอง เพียงเพราะว่าไปเอารูปใน Google มาใช้บนเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของภาพไม่ได้อนุญาตให้นำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ สุดท้ายก็โดนฟ้องเรียกค่าเสียหายไปตามระเบียบ

การจะนำรูปมาใช้บนเว็บไซต์ เราแนะนำว่า ควรสร้างชิ้นงานนั้นขึ้นมาเอง หรือเลือกซื้อในเว็บขายรูป สองทางเลือกนี้ค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่ใช่ว่าการสร้างงานชิ้นนั้นคือการเอารูปอื่นมาทำซ้ำ หรือดัดแปลงให้ไม่เหมือนของเดิม อันนี้ก็ผิดนะครับ

ปัญหาเรื่องเนื้อหา

คอนเทนต์บนเว็บไซต์ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์นะครับ ทั้งวิดีโอ, บทความ, รูปภาพ, เสียง หรือโลโก้ต่างๆ การที่เจ้าของเว็บเอาบทความจากที่อื่นมาแปะไว้ โดยไม่ให้เครดิต หรือใส่ที่มาไว้ให้ ก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับการเอารูปใน Facebook, Instagram หรือโซเชียลอื่นๆ มาใช้บนเว็บของตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ ก็ผิดเหมือนกัน ถ้าโดนฟ้องขึ้นมาแก้ตัวอะไรไม่ได้เลยนะครับ

ส่วนเนื้อหาที่ลงแล้วไม่ผิดลิขสิทธิ์คือ ข้อมูลประเภทข้อเท็จจริง เช่น ข่าวประจำวัน, ราคาน้ำมัน และอื่นๆ ที่เป็นข่าวทั่วไป แต่ถ้าหากเป็นบทความเชิงวิเคราะห์ข่าว หรือผลการวิจัยที่ไม่ได้อนุญาตให้เผยแพร่เป็นสาธารณะ ถ้าเอามาลงก็ผิดเหมือนกัน



สรุปการทำเว็บแบบไม่ผิดลิขสิทธิ์

ถ้าหากเราต้องการจะทำเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมา และไม่อยากเสี่ยงต่อการโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ ควรจัดการประมาณนี้ครับ

– ข้อความ และเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ต้องถูกทำขึ้นมาใหม่ ไม่ก๊อปเว็บอื่นมา

– รูปภาพที่ใช้ในเว็บ ควรสร้างขึ้นมาใหม่ หรือเลือกซื้อจากเว็บขายภาพสต็อก

หลักใหญ่สำคัญๆ ก็น่าจะมีแค่สองเรื่องนี้ที่คนทำเว็บทุกคนควรระวังครับ อย่าเอาแต่ความง่ายเข้าว่าด้วยการค้น Google แล้วนำมาใช้ หรือไปก๊อปปี้รูปภาพคนอื่นมาใช้เอง แบบนี้ถือว่าไม่ใช่มืออาชีพครับ แล้วยังจะโดนฟ้องจนหมดตัวเอาง่ายๆ ด้วย



ที่มา: makewebeasy

โดย :
 2313
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรับผิดชอบของแผนกจัดซื้อ (Responsibility of purchasing section) การจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการผลิตและการดำเนินงานของธุรกิจเป็นภาระกิจที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติงานในช่วงหนึ่ง ๆ
ในการดำเนินธุรกิจ เรื่องกระแสเงินสดซึ่งหมุนเวียนภายในบริษัทเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ยิ่งหากเกิดอุบัติเหตุทางการเงินที่จำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วนขึ้น แต่บริษัทกลับมีเงินสดอยู่ไม่เพียงพอ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์