หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาเว็บคือการค้นหา การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการค้นหาสิ่งใหม่ๆ ใน Google แหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ สำหรับผู้เริ่มต้นในพัฒนาเว็บนั้นจะต้องฝึกคิดวิเคราะห์ ก่อนลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเราก็มีตัวอย่างเว็บไซต์ที่จะช่วยให้เราฝึกเรียนรู้ได้ตามหลักอย่างถูกต้องมาให้ดูตามด้านล่าง
Mozilla Developer Network: MDN เว็บไซต์ที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นพร้อมกับได้ร่วมเรียนรู้กันคนอื่นๆ ซึ่งจะกรองผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ เครือข่ายข้อมูลนี้สามารถตอบทุกคำถามได้อย่างแม่นยำ
The New Boston: เป็นคลิปวิดีโอมีอาจารย์สอนใน Youtube โดยอาจารย์เหล่านี้จะมาแบ่งปันความรู้ฟรีๆ แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นใช้เว็บนี้จะบอกคุณเกี่ยวกับแต่ละภาษาใช้งานอย่างไร
Stack Overflow: เคยมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองหรือไม่ ถ้ามีแนะนำให้เข้าไปใช้งานเว็บนี้ได้เลย เว็บไซต์นี้จะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากทุกมุมไม่ว่าจะใหม่หรือเก่ามาแชร์ประสบการณ์ เว็บนี้จะทำให้เราได้เรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่นนั่นเอง
HTML: ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์ มีโครงสร้างประกอบไปด้วย tag และ attribute ต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการแสดงผลของข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ถ้าจะเขียนภาษาอื่นให้ได้ดีๆ เราต้องแม่น HTML ที่สุด เพราะทุกภาษานั้นเป็นส่วนเสริมของ HTML
CSS: เป็นภาษาที่มีรูปแบบการเขียน Syntax ที่เฉพาะ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เสริมภาษา HTML ให้สามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้กับเอกสาร HTML ได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น
PHP: เป็นภาษาสคริปต์ที่ถูกฝังในเว็บเพจ โดยเว็บเพจที่มีสคริปต์ PHP แทรกอยู่นั้นจะทำงานที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side Script) คือจะถูกประมวลผลการทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ก่อน แล้วจึงส่งผลการทำงานที่เป็น HTML มาแสดงผลที่ Browser ของผู้ใช้งาน
SQL: เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการฐานข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ SQL เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการออกแบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าคุณต้องการหรือไม่ แต่คุณจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของ SQL
JavaScript: หนึ่งในภาษายอดนิยมอย่างมากซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เว็บไซต์มีลูกเล่นในการทำงาน และตอบสนองต่อผู้ใช้มากยิ่งขึ้น โดยจะทำงานร่วมกับภาษา HTML
เมื่อคุณได้เรียนรู้ภาษาข้างต้นแล้วคุณสามารถเริ่มต้นเขียนโค้ดและพัฒนาเว็บไซต์ตั้งแต่เริ่มต้นได้เลย โดยสามารถตั้งค่าฐานข้อมูล MySQL และเซิร์ฟเวอร์ภายในเครื่องของคุณเพื่อรันและทดสอบโค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ XAMPP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบ Open source ให้ดาวน์โหลดมาใช้กันได้ฟรี อีกทั้งยังตั้งค่าใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มหัดเขียนเว็บไซต์ และทดลองการทำงานของ Web server เบื้องต้นด้วย
การเริ่มต้นให้สร้างเทมเพลตเกี่ยวกับเว็บไซต์ควรมีลักษณะอย่างไร ที่จะให้ความรู้สึกดีต่อผู้ใช้งาน ต่อมามีการอัปเดตเนื้อหาของหน้าเว็บแบบไดนามิก แบบฟอร์มปุ่มและลิงก์สามารถใช้เพื่อเรียกคำขอบนเซิร์ฟเวอร์ PHP สามารถรับคำขอประมวลผลข้อมูลเพื่อดำเนินการฐานข้อมูลตอบสนองต่อข้อมูลพร็อพเพอร์ตี้และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
API / ปลั๊กอิน มีบทบาทสำคัญในกระบวนการของการพัฒนาเว็บ ส่วน Github เป็นแพลตฟอร์มการพัฒนามีปลั๊กอินจำนวนมากที่จะช่วยเราในการปรับโฉมหน้าของเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ JavaScript เพื่อแสดงภาพเคลื่อนไหวและการทำงานด้านไคล์เอ็นต์อื่นๆ เช่น โปรแกรมแก้ไขข้อความ เป็นต้น
การพัฒนา: เมื่อเว็บไซต์ของเราได้รับการพัฒนาแล้วจะต้องมีการเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้จัก โดยเจ้าของเว็บจะต้องจดทะเบียนโดเมนเนม และเช่าพื้นที่โฮสต์ ก็สามารถนำเว็บเพจอัพโหลดขึ้นสู่อินเทอร์เน็ต ส่วนไคลเอ็นต์ FTP สามารถใช้เพื่ออัพโหลดไฟล์ของเว็บไซต์ไปยังโฟลเดอร์สาธารณะเพื่อการดูของทุกคน และเซิร์ฟเวอร์ MySQL ก็สามารถติดตั้งได้แบบเดียวกัน
SEO: การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกค้นหา สามารถทำให้เว็บไซต์ของเราติดหน้าแรกหรือติดอันดับต้นๆ บนผลการค้นหา การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาทำได้โดยใช้เมตาแท็กบนหน้าเว็บและเครื่องมือ SEO อื่นๆ เช่น Google Analytics เครื่องมือวิเคราะห์และเก็บข้อมูลเชิงสถิติของผู้เข้าเว็บไซต์ ที่จะทำให้เราทราบถึงปัญหาหรือโอกาสที่มีอยู่นั่นเอง
นอกเหนือจากนี้สาขาของ การพัฒนาเว็บ ก็มีอะไรให้เรียนรู้มากมายและไม่มีที่สิ้นสุด ในแต่ละวันมี อีกทั้งยังทำให้เรามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดังนั้นควรหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่บ่อยๆ
ที่มา: am2bmarketing.co.th