เทรนด์ในการทำ Video Marketing ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่เริ่มมีการพูดถึงตั้งแต่ปี 2020 และ ยังคงเป็นเทรนด์ที่นักการตลาดยังควรให้ความสนใจอยู่ โดยเราสามารถดูได้จากแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคยังคงใช้งานเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นแหล่งรวบรวมสื่อรูปแบบวิดีโอที่ใหญ่ที่สุด หรือแม้กระทั่งคอนเทนต์วิดีโอสั้นอย่าง TikTok หรือ Reels ที่มีผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่แบรนด์ควรหันมาทำ Video Marketing กัน
ทำไมธุรกิจ SME ควรหันมาทำ Video Marketing
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และผู้ประกอบการจำนวนมากมีความลังเลในการเริ่มต้นทำ Video Marketing โดยมีสาเหตุจากความยุ่งยาก การใช้เวลานาน และการใช้ต้นทุนสูง โดยจากผลสำรวจพบว่านักการตลาดที่ไม่ใช้วิดีโอ 16% ไม่ได้ใช้เพราะไม่มีเวลา ในขณะที่อีก 17% ไม่ได้ใช้เพราะคิดว่ามันแพงเกินไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะหลายท่านคงเคยได้รับชม Video จากแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มีต้นทุนในการทำ Production สูงๆ หรือ มีการจ้าง Influencer ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น แต่ในบทความนี้เราจะแสดงให้เห็นว่า การทำ Video Marketing สามารถเลือกทำในรูปแบบที่ใช้ต้นทุนต่ำให้เหมาะสมกับธุรกิจ SME กัน
ไอเดียในการทำ Video Marketing
สำหรับไอเดียในการทำ Video Marketing ที่ได้นำมาฝากในวันนี้ เป็นไอเดียที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถลงมือทำเองได้ เนื่องด้วยเป็นการนำเนื้อหาของแบรนด์ที่มีอยู่แล้วนำมาสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
หลายแบรนด์ดังที่เรารู้จัก และเป็นที่นิยมในวงกว้างล้วนมี Brand Storytelling ที่น่าสนใจ ชวนให้ผู้รับฟังรู้สึกอินตาม จนต้องซื้อสินค้ามาใช้และกลายเป็นลูกค้าขาประจำได้ เป็นเพราะแบรนด์ที่มีเรื่องราวจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงประวัติ จุดมุ่งหมาย สิ่งที่แบรนด์ให้คุณค่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้แบรนด์ต่างจากคู่แข่งมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถสายสัมพันธ์กับผู้รับฟังได้ หรือจุดร่วมที่แบรนด์มีร่วมกับผู้ฟังนั่นเอง โดยหลักการในการเล่า Brand Storytelling มีดังนี้
อีกหนึ่งไอเดียที่หลายแบรนด์สามารถหยิบจับขึ้นมาทำได้เลยในทันทีคือ วีดีโอที่อธิบายเกี่ยวกับสินค้า หรือรูปแบบการใช้งานของสินค้า ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ How to ขั้นตอนในการใช้งานเพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพในการนำไปใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเห็นรายละเอียดของสินค้าได้ชัดเจน และเข้าใจถึงคุณภาพของสินค้าของเราได้แม้ไม่ได้จับต้องสินค้าจริง หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของการอธิบายประโยชน์และรายละเอียดของสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสินค้าและบริการนั้นๆ โดยหลักการในการทำวีดีโอนี้ควรมีการตั้งคำถาม ดังต่อไปนี้
3. Video เบื้องหลังการทำงานของแบรนด์
ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมองหาความจริงใจ น่าเชื่อถือได้ และดูมีความเป็นกันเอง ไอเดียในการทำวิดีโอสำหรับแบรนด์จึงเป็นการถ่ายทำเบื้องหลัง เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของทีมงานเบื้องหลัง การแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว หรือกิจกรรมภายในทีมที่มีการทำร่วมกัน รวมถึงวิธีการในการผลิตสินค้า เป็นต้น
วิดีโอในรูปแบบนี้จะทำให้ผู้รับชมรู้สึกเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีข้อดี คือไม่ต้องใช้เวลานานในการวางเรื่องราวให้กับวิดีโอ เพราะในวิดีโอนี้เราจะแสดงให้เห็นถึงเบื้องหลังที่แบรนด์เป็นอยู่แล้ว เพื่อแสดงออกถึงความจริงใจ
เป็นการนำความคิดเห็นของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการแบรนด์ของเรามาใช้ในวิดีโอ ทั้งนี้สามารถทำออกมาได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การสัมภาษณ์ลูกค้า การนำความคิดเห็นบน Social Media มานำเสนอในรูปแบบ Infographic โดยการทำวิดีโอในลักษณะนี้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ดีกว่า จึงเป็นการเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้ดี
ไม่ว่าจุดประสงค์ในการทำ Video Marketing จะเป็นการสร้าง Awareness ให้กับแบรนด์ หรือจะเป็นการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า แต่ถ้าอยากให้การทำ Video Marketing ไม่เป็นการ Hard sale มากจนเกินไป แบรนด์ควรหันมาทำ Video ในแนว Educational หรือแนวให้ความรู้ โดยเป็นการให้ความรู้ในเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องไปกับแบรนด์หรือสินค้าของเรา เพื่อให้ผู้รับชมได้รับบางสิ่งกลับไปหลังจากการรับชม โดยวิดีโอแนวนี้จะมีจุดประสงค์หลักทำให้แบรนด์ได้รับ Awareness หรือ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนในการทำ Video Marketing
รูปแบบของวิดีโอที่แตกต่างกันนำมาสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ขั้นตอนแรกจึงควรเป็นการกำหนดเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการ เพื่อเป็นการวางกรอบในการวางแผนในการทำการตลาดด้วยวิดีโอต่อไป
2. รวบรวมไอเดียที่น่าสนใจมองหาไอเดียในการทำวิดีโอที่น่าสนใจจากแบรนด์อื่นๆ หรือคู่แข่งในตลาดของคุณ เพื่อให้ทราบแนวทางการทำ Video Marketing ที่มีอยู่และนำไปต่อยอดให้เหมาะสมกับแบรนด์ และสร้างความแตกต่างจากวิดีโอทั่วไป
3. เตรียม Script ของ Videoหลังจากมองหาไอเดียการทำวิดีโอที่น่าสนใจได้แล้ว ต่อไป คือ การเตรียม Script และการวาง Storyboard เพื่อให้เห็นภาพรวม และเพื่อสื่อสารกันภายในทีมด้วยหลักการ Storytelling ในที่นี้จะรวมไปถึงสถานที่ในการถ่ายทำที่สอดคล้องไปตามรูปแบบที่วางเอาไว้
4. รวบรวมเครื่องมือรวบรวมเครื่องมือที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ โดยสามารถเริ่มได้จากมือถือสมาร์ทโฟนในการถ่ายทำ ขาตั้งกล้อง ไมโครโฟน และเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการตัดต่ออย่างง่าย เหมาะสมกับแบรนด์
5. เริ่มต้นการถ่ายทำ
สุดท้ายก็เป็นแค่เพียงเริ่มต้นการถ่ายทำ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กเราไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการทำวิดีโอที่มีต้นทุนสูงๆ แต่ให้ความสำคัญในการสื่อสารตัวตนของแบรนด์ออกมาผ่านวิดีโอให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายที่แบรนด์ต่างการ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : Stepstraining