การรีแบรนด์ (Rebranding) ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนที่มีผลต่อแบรนด์สินค้า-บริการอย่างมาก ๆ การทำการรีแบรนด์ มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการเป็นอย่างดี วางแผนการรีแบรนด์ให้รอบคอบ รัดกุม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ในบทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรีแบรนด์กันให้มากขึ้น
การรีแบรนด์ คืออะไร?
การรีแบรนด์ (Rebranding) คือ กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่ง เป็นกระบวนการการปรับเปลี่ยนภาพจำของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น ตราสินค้า (Logo) ป้ายหรือรูปโฉมขององค์กร รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้า หีบห่อบรรจุ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการรีแบรนด์ (Rebranding) ก็เพื่อสร้างความสดใหม่ให้กับสินค้า-บริการและองค์กร เพื่อให้มีความดึงดูดมากขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ เนื่องจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนแบรนด์ไปสู่แบรนด์ใหม่ที่ดีกว่าเดิมโดยคำนึงถึงผลในระยะยาว
ควรรีแบรนด์ตอนไหนดีที่สุด?
การรีแบรนด์ มักถูกเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้แก่
ช่วงเวลาของการรีแบรนด์ (Rebranding) นั้น ต้องบอกว่าไม่มีช่วงเวลาที่ถูกหรือผิด แต่หากต้องการรีแบรนด์ ควรทำอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงผลในระยะยาว ที่สำคัญต้องไม่รีแบรนด์บ่อยจนทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน
ก่อนรีแบรนด์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ก่อนอื่นคุณต้องทราบวัตถุประสงค์ของ การรีแบรนด์สินค้า-บริการ ของคุณให้ชัดเจนว่า คุณรีแบรนด์เพื่ออะไร ? เพื่อแก้ปัญหาอะไร ? เพื่อที่จะได้วางกลยุทธ์ทางการตลาดนี้ได้อย่างตรงจุด
กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณคือใคร เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมตัวให้ดีก่อนทำการรีแบรนด์ เพราะถ้ารีแบรนด์ไปแล้ว สินค้า – บริการทีความใหม่และทันสมัยขึ้นก็จริง แต่ถ้าไม่มีลูกค้า ก็ถือว่าการรีแบรนด์นั้นไม่ประสบผลสำเร็จได้
การรีแบรนด์นั้นไม่ควรทำบ่อยๆ เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคการเกิดสับสน ดังนั้น ในการตัดสินใจรีแบรนด์สินค้า – บริการ ให้มองภาพรวมและผลของการรีแบรนด์ในระยะยาวทั้งหมดให้ดีเสียก่อน ควรวางกลยุทธ์ให้รอบคอบ เนื่องจากในการรีแบรนด์ครั้งหนึ่งๆ มักมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แถมยังต้องสร้างความรับรู้ให้กับผู้บริโภคใหม่อีกด้วย หากวางแผนไม่ดีพอ อาจส่งผลเสียกับแบรนด์ได้
ขั้นตอนการรีแบรนด์ ต้องทำอย่างไร?
การรีแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ควรเริ่มตั้งแต่รากฐานและโครงสร้างขององค์กรทั้งหมด โดยเริ่มจากการกำหนดจุดยืนของแบรนด์ใหม่ที่จะเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ กำหนดวัตถุประสงค์ในการรีแบรนด์ กลุ่มเป้าหมาย สร้างความต่าง ฯลฯ และนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาประกอบการเปลี่ยนแปลงของแบรนด์ อย่าเปลี่ยนเพียงแค่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะอาจสร้างความไม่ชัดเจน และไม่ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น
การรีแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ให้ผู้บริโภคที่เป็นคนภายนอกเกิดแรงจูงใจที่จะเชื่อมั่นในจุดยืนใหม่ของแบรนด์ ต้องเริ่มจากภายในองค์กร ที่ต้องมีความแข็งแรงและเชื่อมั่นในจุดยืนเดียวกัน
เมื่อทำการรีแบรนด์แล้ว ควรสื่อสารไปยังผู้บริโภคให้ชัดเจน เพื่อที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้ และเพิ่มการจดจำแบรนด์โฉมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว อย่างในยุคปัจจุบันช่องทางในการสื่อสารก็มักจะอยู่ในรูปของสื่อออนไลน์
การรีแบรนด์ส่งผลดีอย่างไร?
การรีแบรนด์เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทนำมาใช้ เพื่อประโยชน์หลาย ๆ อย่าง ได้แก่
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : kovic