PDPA (Personal Data Protection Act) คืออะไร
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า PDPA เป็นกฎหมายที่ถูกออกแบบมาเพื่อกำหนดมาตราการและหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ แม้ว่าประเทศไทยจะได้มีการออกกฎหมายนี้ภายหลังประเทศอื่น แต่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย หากพิจารณาดูแล้ว เราทุกคนก็คงต้องเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง เช่น การสมัครสมาชิกเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือการให้ข้อมูลส่วนตัวแบบออฟไลน์ เช่น การยื่นใบสมัครงาน หรือการสมัครสมาชิกกับทางศูนย์การค้า ก็เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งที่ควรจะต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมาย โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีการเลื่อนการบังคับใช้ PDPA ไปยังวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เนื่องจากสถานการของโรคโควิด 19 ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจก็มีความตื่นตัวอย่างมากและมีการเตรียมพร้อมทั้งทางด้านการปฏิบัติและนโยบายเพื่อให้มีความสอดคล้องกันกับ PDPA
GDPR (General Data Protection Regulation) คืออะไร
สหภาพยุโรป หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า EU ได้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ภายใต้ชื่อ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลอย่างมากและส่งผลให้ประเทศหรือกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ มีความตื่นตัวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และถือได้ว่าตัว GDPR เองก็เป็นกฎหมายต้นแบบของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ทั่วโลก รวมไปถึง PDPA ของประเทศไทยหรือประเทศสิงคโปร์ด้วย จนถึงมีคำพูดที่ว่า “หากผ่าน GDPR ก็ถือว่าผ่าน PDPA ด้วย” อย่างไรก็ตามแม้ว่า GDPR จะถูกนำมาเป็นต้นแบบในการร่างกฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคล กฎหมายของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกันตามบริบทของเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนไปถึงวัฒนธรรม โดยที่ในบทความนี้จะพูดถึงความแตกต่างระกว่าง GDPR ของสหภาพยุโรป และ PDPA ของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตาม GDPR และ PDPA มีอะไรบ้าง
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : openpdpa.org , pdpacore.com
การเขียนบทความลงบนเว็บไซต์มีหลายประโยชน์ ดังนี้:
เพิ่มการมองเห็นและการเข้าถึง: บทความที่มีคุณภาพและมีเนื้อหาที่น่าสนใจสามารถช่วยเพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์จากผู้ใช้งานใหม่ๆ ผ่านการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต (SEO) ซึ่งช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหา