DIGITAL MARKETING

DIGITAL MARKETING

 

 

กระแส Digital TV ที่กำลังจะมีในเมืองไทยทำให้การทำตลาดผ่านเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต) พวก คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ ที่เราเรียกรวมๆ ว่า Digital Marketing มาแรงและเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการรายย่อยและนักการตลาดทั่วไปต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

 

หลายท่านก็เคยได้ยินกลยุทธ์การตลาดแบบ 4 จอ ที่รวมจอคอมพิวเตอร์ จอสมาร์ทโฟน จอแท็บเล็ต และจอทีวี ที่นักการตลาดสามารถใช้กลยุทธ์ให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานประสานกันเพื่อสื่อสาร ค้นหาความต้องการของผู้บริโภคและตอบสนองให้โดนใจแบบรวดเร็ว

 

ท่านอาจจะสื่อสารถึงลูกค้าเป้าหมายผ่านสมาร์ทโฟน เช่น ส่งข้อความประชาสัมพันธ์แล้วลูกค้าสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทีวีและสั่งซื้อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์

 

สิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องเข้าใจคือลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นและเป็นผู้กำหนดการรับข้อมูลข่าวสารของตนเอง เพราะฉะนั้นหากท่านไม่เข้าใจและติดตามพฤติกรรมของลูกค้าเป้าหมายอย่างแท้จริงท่านไม่มีโอกาสได้เจอและติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างแน่นอน โดยทั่วไปลูกค้าในยุคปัจจุบันถึงอนาคตจะสื่อสารออนไลน์เพื่อการหาข้อมูล การติดต่อสื่อสาร หาความสุขหรือความบันเทิง และแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย

 

อินเทอร์เน็ต (Internet) ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ที่สำคัญคือลูกค้าเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น (Individual) และเป็นฝ่ายเลือกหรือควบคุมการสื่อสาร นอกจากนี้ผู้บริโภคยังสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive) ผมมักจะพูดติดตลกว่า 3 I ซึ่งเป็นเรื่องที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการทำการตลาดปัจจุบัน

 

ความจริงหลักการ ทฤษฏี และกลยุทธ์การตลาดยังเหมือนเดิม ไม่ว่าการวิจัยตลาด การเลือกส่วนตลาด ตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งการตลาด ส่วนประสมการตลาด (4P/4C) แต่ต้องปรับใช้ให้เหมาะกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

 

นับแต่ที่ WWW (World Wide Web) เป็นที่นิยมแพร่หลายในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันได้ ก็เกิดธุรกิจมากมายทั้งการค้า การศึกษา ฯลฯ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมาย เกิดการทำ E-Commerce และบริษัทบนอินเทอร์เน็ต (Website) มากมายที่เรียกว่า บริษัทดอทคอม จนถึงช่วงต้นศตวรรษ 2000 ที่บริษัทเหล่านี้ล้มละลายอย่างมากมายในสหรัฐอเมริกาจนทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกอยู่ช่วงหนึ่ง หลังจากการปรับเทคโนโลยีให้ดีขึ้น เหมาะสมขึ้นและนำการตลาดเข้ามาใช้มากขึ้น การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตก็กลับมาเฟื่องฟูอีกจนถึงปัจจุบันนี้

 

หากจะพูดถึงการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตแล้ว เราแบ่งได้เป็น 3 ช่วงที่เราเรียกกันติดปากว่า Web 1.0, Web 2.0 และ Web 3.0 ผมจะอธิบายง่ายๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดมากนัก เพราะบทความนี้เพียงต้องการให้ท่านผู้อ่านรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีกับการตลาดเท่านั้น

 

Web 1.0 ที่หลายท่านเรียกว่าเป็นเว็บไซต์ประเภทอ่านอย่างเดียว (Read-Only Web) อินเทอร์เน็ตได้ถูกคิดค้นในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1969 เริ่มต้นใช้ด้านการทหารและการสืบราชการลับ ต่อมาได้พัฒนาเรื่อยมาจนเกิด WWW และนำมาใช้ทางธุรกิจในช่วงต้นศตวรรษ 1990

 

Web 1.0 คือเว็บไซด์ที่ยังใช้กันอยู่มากในบ้านเรา อย่างเช่น บริษัททำเว็บไซต์ของตนเองให้ข้อมูลสินค้าและมีระบบสั่งซื้อ (Shopping Cart) และชำระเงินแต่การส่งสินค้ายังต้องใช้ระบบการส่งสินค้าแบบเดิมๆ ลูกค้าไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบริษัทมากนัก

 

Web 2.0 ที่หลายท่านเรียกกันว่า อ่านและเขียน (Read-Write Web) ที่เริ่มรู้จักกันแพร่หลายในปี 2004 ลักษณะเด่นของเว็บในรุ่นที่สองนี้คือการที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้และแบ่งปันได้อย่างพวก Social Web ต่างๆ ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Blog เป็นต้น เว็บรุ่นนี้แหละครับที่ทำให้การทำการตลาดเปลี่ยนไปมากอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันทั้งการทำวิจัยตลาด การเสนอสินค้า การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย แม้แต่การทำกลยุทธ์ CRM, CSR

 

Web 3.0 ที่หลายท่านเรียกว่า อ่าน เขียน และดำเนินการ (Read-Write-Execute) ที่อินเทอร์เน็ตถูทำให้ฉลาดขึ้น ผู้ใช้ไม่เพียงแต่โต้ตอบได้รวดเร็วยังสามารถกำหนดเครื่องมือหรือ Software ที่สามารถใช้หาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว เทคโนโลยีจะจดจำสิ่งที่ท่านต้องการจากพฤติกรรมที่ท่านใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญในวงการคาดกันว่า Web 3.0 จะเป็นที่แพร่หลายในปี 2020

 

ท่านที่เชี่ยวชาญเรื่อง Social Media/Social Network สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทำการตลาดได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นเคยไม่เคยทดลองใช้ เทคโนโลยีพวกนี้ ต้องเริ่มทำความรู้จัก เข้าใจ และใช้มันให้เป็นประโยชน์แล้วครับ เพราะไม่เช่นนั้นท่านตามโลกปัจจุบันไม่ทันแน่นอน ต้องเริ่มก่อนที่จะตกยุคอย่างที่วลีฝรั่งว่า It Now or Never

 

จากรูปท่านจะเห็น Social Media หลากหลายรูปแบบ (Application, Website) สามารถใช้เป็นเครื่องสื่อสารและทำการตลาดได้อย่างเหมาะสม เช่น หากท่านต้องการแบ่งปันข้อมูล หรือใช้กลยุทธ์บอกต่อ (Word of Mouth) ท่านควรใช้ YouTube, Flickr, Facebook เป็นต้น

 

หลักการง่ายๆ ของกลยุทธ์ Digital Marketing สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ

  1. Pull Digital Marketing Strategy กลยุทธ์นี้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายเลือกข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น การสื่อสาร และข้อเสนอทางการตลาด ฯลฯ เพราะฉะนั้นนักการตลาดต้องพยายามทำให้แบรนด์ หรือข้อเสนอของท่านเป็นที่สะดุดตา พบเจอได้ง่าย และชักจูงให้ผู้บริโภคสนใจและทำการซื้อสินค้าหรือกิจกรรมต่างๆ ตามที่ท่านต้องการในที่สุด ท่านควรใช้กลยุทธ์ เช่น Search Engine Optimization, Viral Marketing, Social Media Marketing, Email Marketing เป็นต้น
  2. Push Digital Marketing Strategy กลยุทธ์นี้นักการตลาดเป็นฝ่ายสื่อสาร ส่งข้อมูล ข่าวสาร ข้อเสนอ ฯลฯ ไปยังผู้บริโภค เช่นการโฆษณาบนเว็บไซต์ ส่งสติ๊กเกอร์ผ่าน Line ท่านควรใช้กลยุทธ์ เช่น Search Engine Advertising, Webinars/Seminars, Demonstrations, Free Trial เป็นต้น

 

โดยสรุปท่านต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้ในสร้างสิ่งเหล่านี้

  1. สร้างการรับรู้ของแบรนด์ (Building Brand Awareness) เป็นสิ่งสำคัญในการทำการตลาด เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการหรือรู้ถึงปัญหาหรือความต้องการของตนเอง ที่เรียกว่า Lead Generation โดยใช้เครื่องมือ เช่น Search Engine Optimization, Email Marketing ท่านสามารถใช้เครื่องมือการตลาดแบบเดิมๆ เสริมได้ เช่น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ Telemarketing เป็นต้น
  2. ช่วยการค้นหา (Facilitating Discovery) หลังจากผู้บริโภคทราบความต้องการของตนเองหรือเกิดความต้องการแล้ว งานขั้นต่อไปของท่านคือต้องช่วยนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้บริโภคต้องการเพื่อการตัดสินใจ แน่นอนท่านต้องพยายามโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเลือกแบรนด์ของท่าน กลยุทธ์ที่ใช้บางตัวอาจจะทำหน้าที่ในการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน เช่น Search Engine Advertising, Search Engine Optimization ฯลฯ
  3. เสนอทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (Guiding Solution) เมื่อผู้บริโภคได้รับข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจแล้ว ท่านต้องเสนอสิ่งที่ท่านสามารถตอบสนองความต้องการนั้น และต้องโน้มน้าวสร้างความมั่นใจให้กับแบรนด์ของท่าน เครื่องมือที่ควรพิจารณาใช้ เช่น Trial/Demonstration, Viral Marketing, Reference Marketing เป็นต้น
  4. ขายและปิดการขาย (Sales and Close Sale) เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อแบรนด์ของท่านแล้ว งานขั้นสุดท้ายคือการเลือกวิธีการขายและปิดการขายที่เหมาะกับท่านและลูกค้าของท่าน สินค้าบางอย่างอาจขาย ชำระค่าสินค้าและส่งมอบสินค้า ออนไลน์ ได้ เช่น การดาวน์โหลดสินค้าบางอย่างอาจต้องส่งพนักงานขายไปชี้แจงและทำการขาย สินค้าบางอย่างอาจต้องให้ลูกค้าไปรับสินค้าด้วยตนเอง หรือส่งสินค้าให้ทางไปรษณีย์ หรือส่งสินค้าไปให้ เป็นต้น

 

เรื่องสำคัญคือผู้บริโภคในยุคปัจจุบันต้องการมีส่วนร่วม (Customer Engagement) เป็นตัวของตัวเอง และมีความต้องการมากขึ้น ที่สำคัญคือท่านต้องตอบสนองให้โดนใจและรวดเร็ว

 

 

Credit : Marketeer.co.th

By : www.SoGoodWeb.com

โดย :
 2148
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปลาทูออนไลน์ยังขายผ่านเว็บไซต์จนเป็นที่รู้จักไปไกลทั่วโลก ไม่ใช่แต่เพียงปลาทูออนไลน์เท่านั้น ยาหม่อง ทาทูทาทู ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดย่อม สามารถขึ้นบนเว็บไซต์อาศัยผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซ ได้เช่นเดียวกัน
Internet Attraction Marketing อาวุธลับนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพ กับการดึงดูดลูกค้า ที่มุ่งเน้นในการขายสินค้า และบริการออกไปให้คนกลุ่มใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
สินค้าไทยนั้นอาจจะดูว่ามีราคาถูกเมื่อได้คำนวณในสกุลเงินของต่างประเทศ แต่การขายสินค้าไปยังต่างประเทศในแบบ B2C(ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค นั้น) ผู้ซื้อสินค้าจะต้องชำระเงินค่าขนส่ง

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์