[n.] ธง ผืนธง, ร่มธง
[syn.] flag
[adj.] ที่ดีหรือเด่นเป็นพิเศษ ที่ประสบผลสำเร็จ
[n.] พาดหัวข่าว
[syn.] headline
ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF, JPEG, PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด
ปกติแล้วภาพในแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์
1. สร้างความสนใจเพื่อดึงดูดใจให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ กดที่ตำแหน่งโฆษณา Banner เข้าไปดูเว็บไซต์ของผู้ลงโฆษณา ซึ่งเราจะพบเห็นการโฆษณาในรูปแบบนี้กับ affiliate program และ pay per click บางตัว เช่น Google AdSense เป็นต้น
2. โลโก้ตำแหน่งโฆษณา Banner ยังสามารถช่วยเราสร้าง Brand ให้กับสินค้า หรือบริษัทได้อีกทางหนึ่ง เมื่อผู้เยี่ยมชมพบเห็นโลโก้ตำแหน่งโฆษณา Banner นั้นๆปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ สามารถทำให้ผู้พบเห็นรู้จักสิ่งที่เราต้องการนำเสนอได้มากขึ้นอีกด้วย
3. การออกแบบโลโก้ตำแหน่งโฆษณา Banner ไว้เพื่อใช้ Promote เว็บไซต์ ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของเราได้ เพราะแสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราให้ความสนใจต่อรายละเอียดต่างๆ ซึ่งแม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ของเราย่อมเกิดความไว้วางใจที่จะใช้บริการสินค้า และบริการของผู้โฆษณาตามมา
คือ รูปแบบและสีสันควรกลมกลืนกับเว็บไซต์ ไม่ใช้รูปแบบที่โดดเด่นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป จนทำให้ขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของเว็บไซต์หลัก นอกจากนั้นเนื้อหาที่แสดงบนแบนเนอร์ไม่ควรมีมากจนเกินไป เพราะผู้ชมเว็บไซต์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของเนื้อหาที่ปรากฏอยู่บนแบนเนอร์มากนัก แต่ควรให้ความสำคัญกับภาพรวมที่สามารถสร้างแรงดึงดูดให้ผู้ชมเว็บไซต์หันมามอง ในส่วนแบนเนอร์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวจะต้องไม่สร้างความรำคาญให้กับเว็บไซต์หลัก