3 แนวคิดสู่การสร้างนวัตกรรมแบบ Google

3 แนวคิดสู่การสร้างนวัตกรรมแบบ Google

 

3 แนวคิดสู่การสร้างนวัตกรรมแบบ Google

 

 

       หากเราคิดถึงคำว่า "นวัตกรรม" สิ่งแรกๆ ที่เรานึกถึงอาจจะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฮเทคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฮบริด

ไอแพด มือถือสมาร์ทโฟน หรืออินเตอร์เน็ต สิ่งประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกเหล่านี้ส่งผลให้บริษัทส่วนใหญ่ปรารถนาที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในลักษณะการปฏิวัตินวัตกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป ในความจริงแล้วนวัตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นวิวัฒนาการที่ค่อยๆ พัฒนามาอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการปฏิวัติเพียงแค่ครั้งเดียว ยิ่งเราผนวกรวมความคิดดีๆ เข้าไปที่ธุรกิจของเรามากเท่าใด “นวัตกรรม” ก็จะมีโอกาสเกิดมากขึ้นอีกเช่นกัน

 

       ในปี ค.ศ. 1999 Merhdad Baghai, Stephen Coley และ David White ได้แนะนำ Three Horizons Model to innovation in The Alchemy of Growth (แปลความหมายคร่าวๆ ได้ว่า 3 แบบแผนวิธีคิดในการสรรค์สร้างพัฒนานวัตกรรม) ด้วยประโยชน์ของ Three Horizons Model หรือกรอบการทำงานเพื่อพัฒนานวัตกรรม บริษัททุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่ จะสามารถเริ่มต้นสร้างนวัตกรรมได้ทั่วทั้งองค์กร

 

       ซึ่ง Google บริษัทมหาชนอเมริกันที่เราทุกคนต่างคุ้นเคยกันดีได้นำโมเดลนี้ไปเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร ข่าวดีก็คือ เราสามารถทำตามแบบพิมพ์เขียวของ Google ได้ (Google"s blueprint) เราจะพบว่าบริษัทของเราอาจมีนวัตกรรมได้มากกว่าที่เราคิด และที่สำคัญคือสามารถจัดการทรัพยากรที่จะใช้สำหรับการเติบโตในอนาคตได้อีกด้วย

 

       ก่อนจะไปรู้จัก Google’s blueprint เราขอทำสรุปความเข้าใจสั้นๆ เกี่ยวกับ Three Horizons Model หรือกรอบการทำงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมกันก่อน โดยกรอบการทำงานนี้จะเน้นไปที่การพัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ โดยไม่ละเลยสิ่งที่ดีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ประกอบด้วยสามส่วน ดังนี้

 

 

 

 

- ส่วนแรก แสดงถึงธุรกิจหลักที่ระบุได้อย่างง่ายดายและชัดเจนที่สุด ที่ประกอบด้วยชื่อบริษัท ผู้ที่ให้ผลกำไรที่ใหญ่ที่สุด กระแสเงินสด ให้เราโฟกัสไปที่จุดหลักๆ พวกนี้และปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น

 

- ส่วนที่สอง สำหรับธุรกิจออฟไลน์ก็เปิดโอกาสตัวเองในโลกไซเบอร์ (ออนไลน์) นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสแล้วยังมีแนวโน้มที่จะสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำในอนาคตได้อีก

 

- ส่วนที่สาม ริเริ่มความคิดสำหรับการเจริญเติบโตของผลกำไรในการลงทุนกับกิจการขนาดเล็ก เช่นโครงการวิจัย โครงการนำร่อง หรือกลุ่มคนกลุ่มเล็กในธุรกิจใหม่

 

       แล้ว Google นำหลัก Three Horizons Model มาปรับใช้อย่างไร?

 

ตลาดที่มีอยู่ เทคโนโลยีที่มีแล้ว

 

       นี่อาจจะเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอยู่บ้าง แต่ Google ใช้ 70% ของเวลาและทรัพยากรในการสร้างนวัตกรรมในกลุ่มตลาดเดิมที่ตนเองถือครองอยู่ โดยใช้เทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่แล้วด้วยเหตุผลที่ดีคือเราสามารถใช้สิ่งนี้เป็นหลักสำคัญในการป้องกันตำแหน่งการค้าในตลาดการแข่งขันของเรา นวัตกรรมในส่วนนี้ช่วยให้เราอยู่ในตลาดการแข่งขันได้ และยังเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานไปในตัวอีกด้วย

 

       ในขณะที่การสร้างนวัตกรรมในตลาดเดิมโดยใช้เทคโนโลยีเดิมดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดสำหรับการทดลองทำและนำมาใช้ แต่วิธีการนี้กลับถูกธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กละเลยเพราะอาจจะมองว่าการไปลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่สำหรับตลาดใหม่ดูจะมีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า อย่างไรก็ดีถ้าหากได้ลองใช้เวลาในการสำรวจตลาดลูกค้าที่เราครอบครองอยู่แล้ว แล้วเริ่มต้นพัฒนาสิ่งต่างๆ จากผลิตภัณฑ์หรือความรู้ความสามารถที่เรามีอยู่ โอกาสที่จะล้มเหลวก็ย่อมต่ำกว่า และมีโอกาสจะประสบความสำเร็จมากกว่าด้วย

 

มุมมอง SME

 

       สมมติว่าเราเป็นเจ้าของร้านขายขนมเค้กที่มีลูกค้าขาประจำแวะเวียนมาอุดหนุนอยู่ตลอดและมีแผนอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เราจะเลือกทำอะไรดี? ถ้ามองแบบ google แล้ว แทนที่เราจะหัดทำไอศครีมหรือทำอาหารโดยที่เราไม่เคยทำและไม่มีความรู้ความเข้าใจมาก่อนเลย เราใช้ความชำนาญในการทำขนมเค้กที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาสูตรขนมเค้กใหม่น่าจะดีกว่า อาจจะลองสังเกตดูว่าตลาดในปัจจุบันมีความนิยมหรือให้ความสำคัญกับอะไรบ้าง เช่นช่วงนี้คนอาจจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น เราก็อาจจะพัฒนาสูตรขนมเค้กที่ดีต่อสุขภาพและยังคงรสชาติอร่อยด้วยโดยปรับเปลี่ยนสูตรนิดหน่อย จากที่ปกติเคยทำแค่เค้กนมสด เค้กชอคโกแลต เค้กสตอเบอร์รี่ เค้กเนย ก็ลองเปลี่ยนมาทำเค้กเผือก เค้กลูกพรุน เป็นต้น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยอาศัยพื้นฐานความรู้เดิมนี้สามารถทำให้เกิดสินค้าใหม่ที่อาจเกิดการเจาะตลาดใหม่ได้เลยด้วยซ้ำ การที่เราก็ทำเค้กเป็นอยู่แล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำเค้กย่อมมากกว่าการทำไอศครีมอย่างแน่นอน เมื่อเราทำเค้กแบบใหม่ออกมาแล้ว ลูกค้าประจำเราก็มีโอกาสที่จะอยากทดลองกินเค้กแบบใหม่ๆ มากกว่าเพราะเชื่อมือเราอยู่ก่อนแล้ว และนอกจากนี้ก็อาจจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับลูกค้าประจำของเราเพิ่มขึ้นมาด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

ตลาดที่อยู่ติดกัน ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่

 

       ในส่วนนี้เราขยายขอบเขตของนวัตกรรมไปยังตลาดและเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว แต่อาจยังไม่สามารถให้บริการหรือใช้งานในวันนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธุรกิจในปัจจุบันของเรา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่เรากำลังมองหาช่องทางใหม่ เพื่อผลักดันการเติบโตโดยใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ไปยังตลาดที่อยู่ติดกัน

 

       บริษัท Google เองก็ทำเช่นเดียวกัน บริษัทยอมให้พนักงานใช้เวลา 20% ในการคิดและทำงานของตัวเองในโครงการส่วนตัว เนื่องจาก Google เชื่อว่าพนักงานของเขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการขยายการบริการหรือผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดที่อยู่ติดกัน

 

       ในทำนองเดียวกัน สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจของเราคือกลยุทธ์ในการจัดสรรทรัพยากรเวลา เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมรุ่นต่อไปขึ้นมาอีก

 

มุมมอง SME

 

       สำหรับธุรกิจขนาดเล็กจะสามารถขยายขอบเขตนวัตกรรมใหม่ในตลาดใกล้เคียงได้อย่างไรบ้าง? ถ้าลองมองง่ายๆ โดยอาศัยตัวอย่างจากข้อที่แล้ว การที่เราทำร้านเค้กอยู่แล้ว ตลาดข้างๆ ของเราคือใครกัน? อาจจะเป็นร้านขายเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟ โกโก้ ซึ่งเป็นตลาดที่เราสามารถขายของไปพร้อมๆ กันและทำให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้ามากขึ้นด้วย ดังนั้นถ้าเรามีเวลาเหลือเพียงพออาจจะลองศึกษาเรื่องการทำเครื่องดื่มเพิ่มเติมจนพัฒนากลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าเราสามารถขายเครื่องดื่มในร้านเค้กของเราด้วยลูกค้าในตลาดเดิมที่เคยซื้อเฉพาะเค้ก อาจจะซื้อเครื่องดื่มเพิ่ม หรืออาจจะเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ที่หาเครื่องดื่มรับประทาน แต่เข้ามาที่ร้านเราก็ได้ซื้อเค้กซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เดิมของเรากลับไปด้วย จะเห็นว่าการพัฒนานวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ในตลาดใกล้เคียงกับตลาดเดิมนอกเหนือจากจะเป็นการใช้ทักษะความสามารถเดิมที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ยังอาจทำให้เกิดการขยายตัวของตลาดและทำให้มูลค่าและคุณค่าของสิ่งที่เราขายเพิ่มขึ้นด้วย

 

 

 

 

ตลาดใหม่ เทคโนโลยีใหม่

 

       ธุรกิจส่วนใหญ่มักมองเห็นส่วนนี้เป็นส่วนแรกเมื่อพวกเขาต้องการคิดค้นนวัตกรรม แต่ภายใต้การทดลองทำหลายครั้งของ Google จากสามส่วนรวมที่กล่าวมาในข้างต้น Google พบว่าสูตรที่ให้ผลสำเร็จดีที่สุดคือส่วนผสมของการลงทุนในสองส่วนแรกเป็น 90% ของทรัพยากรที่ลงไปทั้งหมด สำหรับตลาดใหม่เทคโนโลยีใหม่กลับได้ทรัพยากรและการลงทุนเพียงแค่ 10% ของการลงทุนทั้งหมดเท่านั้น เหตุผลหลักก็คือ ความพยายามและความยากลำบากในการระบุตลาดใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่แทนของเก่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะเปิดตลาดใหม่ หรือสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง

 

       ในทางกลับกันเราอาจจะลองให้เวลาไปกับการสังเกตดูเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ เมื่อนานวันผ่านไปอาจจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจได้โดยที่เราไม่ต้องทุ่มทั้งเวลาและทรัพยากรไปกับการลงทุนที่ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว

 

       การเจริญเติบโตถือว่าเป็นโฟกัสหลักของทุกธุรกิจ ทุกที่ ทุกขนาด ในหลายธุรกิจพยายามจะไปให้ถึงจุดนั้นโดยการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และด้วยโครงสร้างสามส่วนที่เราได้กล่าวไป จะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ จุดหมายสูงสุดที่เราต้องการได้จากทรัพยากรที่เราลงทุนไปเพื่อการสร้างนวัตกรรมอย่างคุ้มค่าที่สุด

 

 

 

 

Credit : Incquity.com

โดย :
 5917
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับยุคนี้ที่ ไม่ว่าจะมองไปทางไหนนักการตลาดออนไลน์ก็เลือกที่จะใช้ Social Media และ Search Engine Marketing ซึ่งกลายเป็นสกิลหนึ่งที่จำเป็นสำหรับอาชีพนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะการสร้างแคมเปญที่น่าสนใจผ่าน การทำ SEO/SEM
สงสัยมั๊ยครับว่าทำไมช่วงนี้ จึงมีคนพูดถึง Twitter กันมากขึ้นทุกวันๆ Twitter ก็ถือว่าเป็น Social Networking Site อีกเว็บนึงนะครับ ที่ให้เราสามารถที่จะอัปเดต สถานะของเราว่า ตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
(ภาพจาก?business2community) สำหรับในวันนี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักสื่อสังคมออนไลน์ที่มุ่งเน้นและแบ่งปันภาพถ่ายไปสู่โลกออนไลน์ นามว่า “Instagram” แต่จะแค่มาใช้งานกันแบบสนุกๆ ก็คงไม่สร้างมูลค่าให้มันมากเท่าไรนัก

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์