ชื่อของ Howard Schultz (ฮาเวิร์ด ชู้ลท์ส) ในฐานะหัวเรือใหญ่ที่คอยกำหนดทิศทางของเรือลำใหญ่อย่างสตาร์บัคส์ ผู้ที่มีจุดเริ่มต้นจากอาชีพพนักงานขายเครื่องถ่ายเอกสาร และก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่ง CEO และผู้ถือหุ้นของสตาร์บัคส์ในวันนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่วิสัยทัศน์และทัศนคติอันเฉียบคมเท่านั้นที่นำพาเขาก้าวมาเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจในวงการการบริหารธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่ในปัจจุบัน
“สำหรับผู้นำ เป้าหมายเราไม่ใช่การเอาชนะคู่แข่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการหาหนทางที่จะประสบความสำเร็จ และนำพามาซึ่งความหวังและอนาคตอันสดใสให้กับผู้อื่นด้วย” คือปรัชญาที่ Schultz ยึดถือมาตลอดช่วงชีวิตการทำงานของเขา และเป็นองค์ประกอบในการทำงานที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่่งยวดไม่แพ้กัน
ความจริงใจสัมผัสได้ในบริการ “บริษัทไม่สามารถเติบโตได้ ถ้าปราศจากความหลงใหลและลักษณะเฉพาะตัวที่สร้างมันขึ้นมา ลำพังเพียงแค่ผลประโยชน์อาจไม่สามารถขับเคลื่อนไปให้สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องบุคลากรอันเป็นหัวใจของการบริหารงาน ผมทุ่มเทความรักลงไปในแก้วกาแฟทุกแก้ว และทำอย่างนั้นกับผู้ร่วมงานทุกคนในสตาร์บัคส์ เมื่อลูกค้าสามารถสัมผัสหรือรู้สึกถึงความจริงใจนี้ ผลตอบรับกลับมาจากลูกค้าคือความรู้สึกเดียวกันกับที่คุณทำลงไป ถ้าคุณทุ่มเทด้วยหัวใจไปกับงานที่คุณทำ คุณจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่คนอื่นคิดว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เรามีคุณค่า” ย้อนกลับไปเมื่อปี 1987 Schultz ขณะที่เขาเรียกประชุมพนักงานร้านสตาร์บัคส์ มี 3 ประเด็นสำคัญที่เขาพูดถึงในวันนั้น “หนึ่ง พูดออกมาจากหัวใจ สอง เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสาม คือ แบ่งปันความฝันร่วมกัน” Schultz มองเห็นความจำเป็นสองประการที่จะทำให้สตาร์บัคส์เติบโตในอนาคต
Schultz พบกับบาริสต้าคนแรกของเขาที่มิลาน ในปี 1983 การสร้างประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้กับผู้คน และได้รับผลตอบแทนเป็นความจงรักภักดีที่มีต่อแบรนด์ โดยมีเรื่องผลประโยชน์เป็นของแถมเท่านั้น
“ผลของการทำงานคือการผสมผสานเป้าหมายเข้ากับความหมาย หมายถึง รักในสิ่งที่ทำ แล้วบริษัทจะรักคุณกลับเอง ทั้งนี้ การค้าขายก็เช่นกัน ความต้องการหรือความปรารถนาของเราเป็นแรงบันดาลใจสำหรับลูกค้าของเราเสมอ นี่คือสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากความคาดหวังที่ลูกค้ามีต่อเรา สร้างและรักษาความไว้วางใจที่ลูกค้ามีให้เราเสมอ ในฐานะเจ้านาย สิ่งที่เป็นความรับผิดชอบของผมที่มีมาโดยตลอดคือ ปฏิบัติเหมือนเดิมต่อทีมงาน เสมือนลูกค้าที่ยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่งของบาร์เสิร์ฟเครื่องดื่มของเรา”
นาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธในความสำเร็จของสตาร์บัคส์ที่เห็นมาตลอดนับสิบปี ในปี 1990 สตาร์บัคส์มีการเปิดสาขาใหม่ในเกือบทุกๆ วัน ส่งผลให้ในวันนี้เป็นร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดในโลก พิสูจน์ได้จากตัวเลขกว่า 18,800 สาขา ใน 55 ประเทศ และมีรายได้ในแต่ละปีมากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญฯ - เพิ่มขึ้น 10 เท่าในช่วงทศวรรษที่ Schultz กลับมาเข้ามาบริหารและแก้ไขปัญหาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2007 นอกจากนี้ ยังคิดหาความต้องการใหม่เพื่อสานต่อหนทางสู่ความสำเร็จให้เป็นจริงในสนามการแข่งขันในตลาดระดับโลก
อย่ายอมแพ้ “สิ่งที่แย่ที่สุดคือการที่มีคนยอมแพ้ต่อสิ่งที่เขาเชื่อและลงเอยกับความคิดธรรมดาๆ”
Schultz ถ่ายทอดปรัชญาการทำงานของตัวเองสู่ปรัชญาการทำงานขององค์กร และปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเคารพและให้เกียรติเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนรักษาสุขภาพสำหรับพนักงาน (รวมถึงพนักงานพาร์ท ไทม์ด้วยเช่นกัน), ยืดหยุ่นต่อชั่วโมงการทำงาน, การแข่งขันในตลาด, การเก็บรักษา ปรัชญาการทำงานอื่นๆ ที่ Schultz มีต่อสตาร์บัคส์ ถูกเขียนถึงโดยนิตยสารธุรกิจอย่าง Fortune : 100 Best Companies to Work For และทำให้ Schultz กลายเป็นนักธุรกิจแห่งปี 2011 สิ่งที่เป็นคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใดนั้นคือเรื่องการให้ความสำคัญต่อความฝันที่ยิ่งใหญ่ของตัวเอง และสิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือการเคารพต่อความฝันนั้นของตัวเองด้วย
การบริหารในความเป็นจริงนั้นสามารถมีรายละเอียดและการแก้ปัญหาอีกหลายระดับที่หัวเรือใหญ่ทุกคนต้องเจอ แต่เหนืออื่นใด ความสามารถในการแก้ปัญหาและนำพาลูกเรือไปขึ้นฝั่งให้ได้ ก็ฟังคล้ายจะเป็นความรับผิดชอบที่หนักหนาและยิ่งใหญ่ อย่างที่ Schultz นำพาสตาร์บัคส์ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคนานานัปการในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของอเมริกา การตระหนักในคุณค่าของพนักงานเป็นสิ่งจำเป็นเสมอสำหรับผู้บริหาร
Schultz กล่าวว่า “กุญแจสู่ความสำเร็จของสตาร์บัคส์นั้นคือ การให้คุณค่าต่อบุคลากร ผมไม่เชื่อว่าบริษัทคุณจะสามารถเติบโตได้ ถ้าปราศจากผู้คนที่คอยยืนอยู่เคียงข้างและสนับสนุนทุกการกระทำของคุณ” อย่าให้ประโยคที่ว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา นั้นเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น เพียงแค่เริ่มลงมือทำ บริษัทของเราอาจมีคนพร้อมช่วยพาขึ้นฝั่งแห่งความสำเร็จอีกหลายคน
Credit : Incquity.com