Platform: ธุรกิจเรายั่งยืนเพราะคนต่อยอดเรา

Platform: ธุรกิจเรายั่งยืนเพราะคนต่อยอดเรา

 

 

สมมติว่าเราสร้างชานชาลารถไฟไว้แห่งหนึ่ง  ชานชาลาจะสามารถให้บริการรถไฟได้หลายขบวน และอาจหลากหลายได้ทั้งขนาดความยาวและรูปแบบ โดยเราไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงดีไซน์ของตัวรถไฟมากนัก ขอแค่รถไฟชนิดเหล่านั้นใช้รางในรูปแบบเดียวกันก็พอ ก็จะสามารถทำงานร่วมกับชานชาลาของเราได้

 

       เมื่อเกิดการโดยสาร หลังจากนั้นธุรกิจที่แวดล้อมรถไฟเหล่านี้ตั้งแต่การขายของริมทางรถไฟไปจนถึงบริการหิ้วกระเป๋าก็จะค่อยๆ ถูกสร้างเข้ามา เกิดเป็นวงเศรษฐกิจข้างเคียงที่จะคอยช่วยให้ชานชาลาแห่งนั้นดูน่ามาเที่ยว คึกคักและไม่เคยร้างผู้คนมากขึ้น ชานชาลาที่ถูกนำมาเปรียบเปรยเหมือนสินค้าที่ให้คนมาทำธุรกิจแวดล้อมได้ นี้ก็เป็นคำเดียวกันกับในภาษาอังกฤษว่า Platform (แพลทฟอร์ม) นั่นเอง

 

       ยุคนี้แนวคิด Platform กำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรม IT แต่ในธุรกิจสินค้าและบริการเองก็สามารถสร้างให้เกิดการต่อยอดหรือแตกแขนงธุรกิจในลักษณะเดียวกันได้เหมือนกัน เราจะเริ่มคิดได้อย่างไร? และจะพัฒนาธุรกิจของเราเป็น Platform ได้อย่างไร เรามีคำแนะนำเบื้องต้นให้ดังนี้

 

Platform แนวคิดที่แข็งแรงในธุรกิจซอฟต์แวร์

 

       ถ้าเราซึ่งไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้เลยไปถามคนที่มีความรู้ทางด้าน IT หน่อยเขาคงอธิบายให้เราฟังว่า Platform หมายถึงสินค้าหลักตัวหนึ่ง (จับต้องได้หรือไม่ก็ได้) ที่ให้มีคนสามารถสร้างสิ่งอื่นๆ ประกอบเข้ากับตัวระบบหลักได้ และทำให้เกิดสินค้าที่แม้หน้าตาหลักจะคล้ายเดิมแต่กลับมีความสามารถใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ตั้งแต่หน้าตาสวยขึ้นใช้ง่ายขึ้น ไปจนถึงระบบเก่งขึ้นหรือฉลาดขึ้น

 

       หากมองตามแนวคิดนี้ OS อย่าง Microsoft Windows ก็จัดเป็นสินค้าหลักที่มีความเป็น Platform อยู่ในตัว กล่าวคือมีคนเขียนซอฟต์แวร์อื่นๆ มาประกอบเพื่อขยายความสามารถได้

 

       Platform นั้นมีประโยชน์อย่างไร? ทุกวันนี้มีหลายผลิตภัณฑ์ที่เติบโตได้อย่างสวยงามและหยั่งรากลงในตลาดอย่างแข็งแรงเพราะการสนับสนุนที่มาจากคนเหล่านั้นที่เขียนสิ่งต่างๆ เข้ามาประกอบกับ Platform หลัก เริ่มจากเป็นรายได้ให้กับผู้ผลิตส่วนประกอบเหล่านั้น และยอดผู้ใช้ก็จะกลายมาเป็นรายได้ให้กับผู้ผลิต Platform ในเวลาต่อมา ตัวอย่างเหล่านี้ก็เช่น Wordpress ที่เป็นเพียงซอฟต์แวร์สำหรับทำบล็อกบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่เพราะความง่ายในการเขียน

Extensions (ส่วนขยาย) ผู้คนมากมายที่ต่อยอดออกไปจากแพลทฟอร์ม Content Management System (CMS) นี้สามารถนำไปสร้างรายได้จนถึงขั้นประกอบอาชีพได้ ก่อเกิดเป็นรายได้มหาศาลและสร้างความนิยมให้กับตัว CMS เองไปด้วยในตัว

 

Platform ในธุรกิจขายสินค้าจริงๆ มีหรือเปล่า?

 

       เมื่อมองกลับมาในโลกของธุรกิจในความเป็นจริงที่มีสินค้าเป็นชิ้นเป็นอันจับต้องได้ จริงๆ แล้วเราสามารถหาธุรกิจที่เทียบเคียงกับแนวคิดนี้ได้ไม่ยากเลย  หากเราจะประยุกต์แนวทางนี้มามองดูสินค้าในตลาด Platform คงหมายถึงการที่สินค้าตัวหนึ่งที่ขณะนี้มีคนใช้มากพอสมควรในตลาด และจะด้วยความจงใจหรือไม่ก็ตาม สินค้านั้นถูกค้นพบว่าสามารถต่อยอดหรือสร้างส่วนเสริมออกไปได้อีกในมุมต่างๆ เพื่อสร้างความพอใจให้กับเจ้าของที่ซื้อสินค้าหลักนั้นเพิ่มขึ้นได้ จนเกิดเป็นวงจรธุรกิจข้างเคียงขึ้นมา

 

       หากลองสังเกตดูว่ารอบๆ ตัวของเรามีอะไรบ้างที่เข้าลักษณะนี้บ้าง จะเห็นว่าแนวคิด Platform นี้มีอยู่ในสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกประเภทอย่างน่าสนใจ ทุกวันนี้ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายเป็น Platform อยู่มากมาย ตั้งแต่สินค้าง่ายๆ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ส่วนประกอบต้องมีการออกแบบซับซ้อน

 

ของใช้คู่ตัว

 

       หลายครั้งสภาพความเป็น Platform นั้นเกิดขึ้นตามจำนวนผู้ใช้ที่เมื่อมีมากพอ คนอื่นๆ จะเริ่มหาทางทำกำไรจากสิ่งเหล่านั้นได้เอง

 

       อย่างโทรศัพท์มือถือ ที่ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ อย่างธุรกิจเคสหรือซองใส่สมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์ที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นผู้ผลิตตัวเครื่องเอง แต่กลับกลายเป็นว่ามีแรงซื้อมหาศาลรอคอยอยู่ และด้วยไอเดียสร้างสรรค์ของผู้ผลิตซึ่งไม่ได้มีเพียงรายเดียว ก็ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างกันขึ้นเองโดยปริยาย ส่งผลดีเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่แตกแขนงออกไปได้ไม่รู้จบ เจ้าตัวโทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟนนี่เองที่เราเรียกได้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็น Platform

 

ธุรกิจประดับยนต์

ธุรกิจประดับยนต์และตกแต่งรถยนต์เป็นธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากแนวคิด Platform มาเป็นเวลานานแล้วโดยมีรถยนต์เป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งชิ้นส่วนที่สามารถทำรายได้นั้นนอกจากชิ้นส่วนมาตรฐานต่างๆ เช่น กันชนหน้า-หลัง

สเกิร์ต สปอยเลอร์ ล้อแม็กซ์ ไฟหน้า ไฟท้าย ฯลฯ แล้วปัจจุบันยังเกิดชิ้นส่วนเพิ่มเติมอย่าง ไฟนีออนใต้ท้องรถ ครีบฉลาม หรือส่วนประกอบสวยๆ ใหม่ๆ ที่เกิดจากไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ มากมายอีกด้วย

 

       มอเตอร์ไซค์และรถรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่กลายเป็น Platform นั้นมีให้ต่อยอดให้เกิดธุรกิจอุปกรณ์ประดับยนต์มากมาย เช่น Vespa ที่เป็นทั้งเครื่องหมายของความเก๋ไก๋ไปจนถึงความหรูหรา รถ Volkswagen, Mini ที่กลายเป็นไอค่อนของแต่ละยุคสมัย มาจนถึง Yamaha Fino ที่กลายเป็นเหมือน Vespa ของศตวรรษที่ 21 ไปแล้วด้วยแนวคิดที่คล้ายกัน ซึ่งหากเรามองจากมุมนี้จะเห็นเลยว่า มุมมองการออกแบบสินค้าเพื่อให้เป็น Platform ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มุ่งเน้นเพียงทำให้เกิดรายได้ในการขายตัวสินค้าหลักเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงคุณค่าของวงเศรษฐกิจของผู้ประกอบการที่ทำส่วนประกอบสินค้าเหล่านี้ อย่างในกรณีนี้คือ ธุรกิจการปรับแต่งให้สวยตามสไตล์ของผู้ใช้แต่ละคนนั้นเข้าไปด้วย

 

ของเล่น

บาง Platform นั้นมีช่องทางให้เราเกาะตัวสินค้าหลักได้ก็จริง แต่ก็จำเป็นต้องมีความถนัดเฉพาะด้าน ซึ่งสำหรับหมวดของเล่นในที่นี้เราอาจไม่ได้พูดถึงสินค้าที่เป็น Platform Toy โดยตรง เพราะสินค้าเหล่านั้นเปิดโอกาสให้เราประยุกต์ตัวเองเพื่อสร้างธุรกิจได้อยู่แล้ว เราจะไปมองหาสินค้าที่มีกระจายอยู่มากๆ ในมือของลูกค้าในตลาดเรียบร้อยแล้วมากกว่าแทน

 

       ธุรกิจตัดเสื้อผ้าให้ตุ๊กตา Blythe เองก็มีส่วนทำให้ตุ๊กตาแบรนด์นี้มีความเป็น Platform ขึ้นมาด้วยเช่นเดียวกัน และแม้การตัดเสื้อผ้าเพื่อตุ๊กตาเหล่านี้แม้จะต้องคำนึงถึงรุ่นและขนาดจะแตกต่างกันไปอยู่บ้าง แต่โดยรวมเทคนิคการตัดเย็บและการวางแพทเทิร์นนั้นสามารถใช้ความรู้ของช่างเย็บเสื้อผ้าชุดเดิมได้เลย การต่อยอดธุรกิจหรือปรับเปลี่ยนประเภทสินค้ามาจับกลุ่มนี้ตามแฟชั่นจึงเป็นอีกเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก และด้วยต้นทุนที่ทำได้ตั้งแต่ไม่สูงมากไปจนถึงต้องลงทุนเป็นกิจจะลักษณะ ทำให้เกิดอาชีพรับตัดชุดตุ๊กตาขึ้นมา

 

ผลักสินค้าของเราให้เป็น Platform บ้างได้ไหม?

 

       สังเกตจากสินค้าต่างๆ ที่เราลองยกตัวอย่างมาข้างต้น จะเห็นว่าองค์ประกอบของ Platform นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งการจะคิดสินค้าขึ้นมาสักอย่างให้เข้าลักษณะความเป็น Platform นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายก็จริง แต่หากเราจะพยายามหาทางสร้างสินค้าที่เรามีอยู่แล้วให้กลายเป็น Platform บ้างล่ะ จะได้ไหม?

 

ตุนลูกค้าไว้ในมือลูกค้าแล้วเป็นจำนวนมาก...

 

       ไม่ว่าจะแจกฟรี ขายขาดทุน(ค่าแรง) หรือจะขายแบบเท่าทุน การกระจายสินค้าให้ไปอยู่ในตลาดให้มากที่สุดก่อน นั่นเป็นเป้าหมายที่สินค้าที่ทำตัวเป็น Platform ทุกๆ ตัวทำเหมือนกัน เพราะจุดคุ้มทุนของโปรเจคท์ในลักษณะนี้มักไม่ได้วัดกันที่กำไรที่เกิดจากยอดขายสินค้าหลักนี้ แต่เป็นยอดที่เกิดจากการ “บริโภคส่วนประกอบ” ที่ยึดติด ประกอบ หรือเสริมแต่ง Platform นั้นของลูกค้าแต่ละคน

 

       iPad, Amazon Kindle เริ่มด้วยวิธีเดียวกันคือการขายผลิตภัณฑ์ที่เป็น Platform ในราคาที่เหมาะสมที่สุดทั้งสำหรับแบรนด์ที่จะขายและสำหรับลูกค้าเมื่อจะช้อป แต่ผลกำไรที่เกิดจากการให้ผู้สร้างซอฟต์แวร์เสริมต่อยอดออกจากตัวผลิตภัณฑ์ ทั้งเกม โปรแกรมใช้งาน หนังและเพลงนั้น ทำรายได้มหาศาลให้ในเวลาต่อมา (ซึ่งนั่นเกิดจากการคิดระบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่แรกแล้วว่าจะต้องตระเตรียมทั้งสินค้าหลัก ลูกค้า ระบบการซื้อขายสินค้าที่ออกแบบให้ไหลผ่านบริษัทแม่ และคู่ค้านั้นจำเป็นต้องมีหลักปฏิบัติอย่างไรบ้าง

 

       ในมุมของเราถ้าจะมองว่าการขายแก้วกาแฟที่ทำให้เกิดการย้อนกลับมาซื้อ “ด้วยแก้วเก่า แล้วลดราคาให้” นั้นก็อาจเข้าหลักเดียวกัน หากตัวแก้วเองสามารถตกแต่งให้เป็นแบบของลูกค้าได้ด้วย หรือเกิดบริการเสริมอย่างการติดรูปของลูกค้าเข้าไป ทั้งคนทำรูป คนทำของตกแต่งสินค้า และคนทำตัวแก้วสินค้าเองก็จะได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน ที่สำคัญไปกว่านั้นจำนวนแก้วที่ลูกค้าบริโภคต่อวันก็น่าจะเพิ่มขึ้นเพราะราคาที่ถูกลงด้วย

 

...แล้วเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์

 

       ถ้าเราเป็นสินค้าใหม่ที่ผู้ใช้ไม่เคยเห็น เราอาจต้องแนะนำตัวให้ตลาดรู้ว่าคนสามารถสร้างประโยชน์จากเราได้ในลักษณะใดบ้าง

 

       หากเราย้อนดูคีย์โน้ตของแอปเปิ้ลสมัยที่ออก iPad2 มาใหม่ๆ ไม่มีใครรู้ว่าด้านข้างของ iPad2 นั้นจะมีแม่เหล็กสร้างอยู่ทั้งสองฝั่งเพื่อประโยชน์ในการยึดเกาะและทำฝาปิดด้านหน้า (Smart Cover) มีทางใดบ้างที่จะทำให้บรรดานักผลิต Accessories รู้สิ่งที่เราเตรียมไว้ ถ้าไม่ใช่การที่ Apple ทำต้นแบบให้ตลาดได้รู้จักกับความสามารถเหล่านี้ นั่นคือสาเหตุที่เราเห็น Apple ต้องลงทุนทำ Smart Cover ลงมาในตลาดด้วยตัวเองก่อน ซึ่งหากเรามองดูดีๆ แอปเปิ้ลไม่เคยต้องลงทุนทำ Accessories เองให้กับ iPhone มาก่อน ดังนั้น การแนะนำความสามารถที่เตรียมไว้ให้เหล่านี้จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็น และผลตอบรับที่ได้ก็คือ ตลาดผู้ผลิตฝาปิดจอและเคสของ iPad นั้นทำสินค้าออกมาหนุนตลาดได้ง่ายและเร็วขึ้น มีความสุขด้วยกันทั้งผู้ผลิตและเจ้าของ iPad ที่ก็รู้สึกว่าต้องการสิ่งที่สวยกว่า Smart Cover ต้นแบบไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

       หากเราตั้งใจจะคิดสินค้าใหม่หรือเปลี่ยนสินค้าของเราให้เป็น Platform นั้น ณ จุดเริ่มต้นเรามักต้องเริ่มจากการสังเกตระหว่างขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่หลายครั้งความเป็น Platform นั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตั้งใจ ทั้งนี้อยู่ที่ตัวเราว่าจะให้ความสำคัญกับรายละเอียดเหล่านี้ และในที่สุดเราจะนำมาสร้างเป็นจุดเด่นที่ไม่มีแบรนด์ข้างเคียงจะสามารถมาลอกเลียนแบบได้หรือไม่หรือเปล่าเท่านั้นเอง

 

 

 

 

Credit : INCquity

โดย :
 9093
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยุคสมัยของโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้มี เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย แล้วยังเป็นยุคที่กล้องดิจิทัลได้รับความนิยมในสังคมเป็นอย่างมาก
สำหรับคนที่ทำการตลาดออนไลน์มา คงเคยรู้จักหรือได้ยิน 2 คำนี้มาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยว่า 2 อย่างนี้ แตกต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนที่ดีกว่ากัน แล้วธุรกิจของเราควรเลือกทำแบบไหน วันนี้ทีมงาน SoGoodWeb จะมาเล่าให้ฟังว่า 2 คำนี้ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรา เรามาเริ่มกันเลยน่ะค่ะ
เมื่อพูดถึง Social Commerce นาทีนี้ บริษัทที่ถูกจับตามองมากที่สุดคงหนีไม่พ้นบริษัทที่มีชื่อเล่นว่า “Small G” อย่าง Groupon (สำหรับ Big G เอาไว้ใช้เรียก Google) เราคงยังจำกันได้เมื่อก่อนปีใหม่ที่ผ่านมา Groupon พึ่งเพิ่มทุนกว่า 950 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์