สินเชื่อระยะสั้นมีให้เลือกมากมายจากหลายธนาคารตามการผลักดันของรัฐบาล สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การขอกู้เงินหรือสินเชื่อจำนวนไม่มากดูจะเป็นวิธีระดมทุนที่เหมาะสมมากที่ สุด การกู้เงินจำนวนน้อยๆ ที่เรียกว่า Microloan หรือ Microfinance เป็นสิ่งเกิดใหม่ในประเทศตามนโยบายรัฐบาล ธนาคารที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐหลายแห่งได้นำร่องและให้บริการรูปแบบ นี้มาสักระยะหนึ่งแล้ว เช่น ธนาคารกรุงไทยใช้ชื่อเรียกว่าสินเชื่อสำหรับธุรกิจเงินกู้ระยะสั้น ธนาคารออมสินมีชื่อเรียกว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME และเริ่มขยายไปตามธนาคารเอกชนตามการผลักดันของรัฐ เช่น สินเชื่อตั๋วสัญญาใช้เงินของธนาคารกสิกรไทย แม้ชื่อเรียกในแต่ละธนาคารจะแตกต่างกันไป แต่โดยรวมทุกธนาคารจะใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งวงเงินที่ขอกู้ไม่ควรเกิน 200,000 บาท ที่สำคัญบริษัทต้องมีเครดิตการเงินที่ดีพอสมควรถึงจะได้รับเงินกู้ประเภทนี้
นอกจากนี้อาจหยิบยืมจากคนที่รู้จัก ผู้เคยมีอุปการคุณกับทางบริษัทก็ได้ เพราะจำนวนเงินที่ต้องการไม่มากนัก หรือจะหาจากแหล่งเงินกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยที่ไม่แพงจนเกินไปนักและถูก กฎหมาย โดยอัตราดอกเบี้ยที่พอรับได้สำหรับเงินกู้นอกระบบควรอยู่ที่ร้อยละ 7 เท่านั้น ไม่ควรสูงมากไปกว่านี้
เราสามารถนำทรัพย์สินบริษัทมาใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ เช่น ที่ดิน อาคารสถานที่ รถยนต์ เครื่องจักร เอกสารตราสารทาง
การเงินต่างๆ ใบหุ้น เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปแสดงได้ที่สถาบันทางการเงินหรือไฟแนนซ์ที่ปล่อยสินเชื่อจาก การนำทรัพย์สินมาค้ำซึ่งโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อประเภทอื่นๆ ซึ่งมีความปลอดภัยในระดับสูง โดยจำนวนวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจะไม่เกินมูลค่าของหลักทรัพย์ซึ่งใน ปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 85 เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์สิน หรืออาจน้อยกว่านั้นก็ได้ในสภาวะทาง
การเงินในปัจจุบัน
ยังมีวิธีอื่นที่ใช้ทรัพย์สินไปค้ำประกันและยังเป็นวิธีการง่ายๆ ซึ่งคนไทยคุ้นเคยอย่างดี นั่นคือการเข้าสถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำ โดยทรัพย์สินที่นิยมมากที่สุดคือทองคำ เพราะสามารถตีราคาได้ง่าย เนื่องจากราคาทองคำมีการประกาศอยู่ตลอดและเป็นทรัพย์สินที่เป็นสากล
สำหรับจำนวนเงินที่ไม่มากนัก การหาข้อมูลเกี่ยวกับการหาทางระดมทุนทางเว็บไซต์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นวิธี การที่ดีอีกวิธีหนึ่ง อาจเป็นสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับการหาเงินทุนซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเปรียบเสมือนการจับคู่ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้ โดยในปัจจุบันถือเป็นแนวความคิดใหม่ในเมืองไทย แต่ในต่างประเทศมีมาสักระยะหนึ่งแล้ว ประมาณ 3-4 ปี ซึ่งถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ ในรายเล็กๆ ในต่างประเทศ ตัวอย่างเว็บไซต์ของ
ต่างประเทศเช่น www.prosper.com www.lendingclub.com และ www.loanio.com
การขอสินเชื่อจากธนาคารใหญ่ๆ เป็นวิธีระดมทุนมาตรฐานมากที่สุด แต่ที่สำคัญที่สุดอันดับแรกคือ เราต้องมีพื้นฐานการเงินหรือเครดิตที่ดีเสีย ก่อน สามารถแสดงผลกำไรให้ทางธนาคารเห็นได้ ทำการศึกษาค้นคว้าหาธนาคารที่มีนโยบายซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการราย ย่อยที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนไม่มากนัก มีความยืดหยุ่นสูงทั้งในอัตราดอกเบี้ยและในส่วนของจำนวนเงินที่จะนำมาผ่อน ชำระหนี้ ควรเตรียมการเรื่องการนำเสนอข้อมูลด้านการเงินของบริษัท การเดินบัญชี กระแสเงินสด รวมถึงการเขียนแผนเงินกู้ที่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยเหลือเราได้มาก
การพูดคุยกับลูกค้าเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมองข้ามอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มองว่าการขอรับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นสิ่งน่า อับอาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วการขอความช่วยเหลือจากบริษัทคู่เจรจาธุรกิจสามารถทำ ได้ง่ายที่สุด ทั้งในเรื่องการขอเงินทุนหรือการขอยืดเวลาในการชำระเงินออกไปก่อนจนกว่า
กระแสการหมุนเวียนเงินในธุรกิจของเราจะเข้าที่
สำหรับบริษัทที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี เขาอาจมีส่วนเข้ามาช่วยส่งเสริมโครงสร้างทางการเงินของบริษัทเราก็เป็นได้ หรืออาจลดราคาค่าวัสดุหรือวัตถุดิบต่างๆ ให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งบางครั้งเราอาจจำเป็นต้องแสดงข้อมูลผลประกอบการทางธุรกิจให้บริษัท พันธมิตรทางธุรกิจดูด้วย โดยเราควรพิจารณาดูให้ดีเพราะข้อมูลบางอย่างเป็นความลับทางธุรกิจที่ไม่ สามารถเปิดเผยได้ อีกอย่างหนึ่งคือเป็นการวัดใจบริษัทพันธมิตรทางธุรกิจไปในตัวด้วยเช่นกันว่า มีความจริงใจกับบริษัทเรามากแค่ไหน
บางครั้งพันธมิตรทางธุรกิจอาจเป็นทางออกดีที่สุดสำหรับบริษัทเราก็ได้ หลังจากได้อ่านบทความข้างต้นนี้แล้ว ผู้ประกอบการคงมีทางเลือกในการระดมทุนให้เลือกมากขึ้น แต่ก็อยู่ที่ว่าเราจะเลือกแบบไหนที่สามารถปรับใช้และเข้ากันได้กับธุรกิจได้ มากที่สุดเพื่อความเจริญเติบโตและก้าวหน้าในอนาคต
Credit : www.workboxs.com
By : www.SoGoodWeb.com