ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า VAT เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ มีอัตราการเรียกเก็บอยู่ที่ 7 % และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งหากสังเกตจะเห็นว่าภาษีนี้จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนไว้ใน “ใบกำกับภาษี” ที่เราได้รับมาตอนชำระเงินเสร็จแล้ว
ใครเป็นคนต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถึงแม้เจ้าของกิจการและร้านค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบที่ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในความจริงแล้วภาษีตัวนี้ “ผู้บริโภค” หรือลูกค้าก็คือคนที่ต้องจ่ายนั้นเอง ซึ่งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะมาใน 2 รูปแบบ ก็คือ
1.ด้านการซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ภาษีนี้จะถูกรวมมาในราคาสินค้าอยู่แล้ว โดยภาษีจะถูกแจกแจงมาในใบเสร็จรับเงินให้เราทราบอีกครั้ง โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มจากราคาสินค้าเดิม
2.ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการรับประทานอาหารตามร้านอาหาร ซึ่งจะไม่ถูกรวมอยู่ในราคาอาหาร แต่จะมีการเรียกเก็บเพิ่ม เมื่อลูกค้าต้องชำระเงิน ซึ่งจะเขียนมาในใบเสร็จว่า VAT 7%
ธุรกิจแบบไหนต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
3.ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน
ธุรกิจที่ไม่ต้องจกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถยื่นขอจดได้
1.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4.การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5.การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
ธุรกิจที่ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2.ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3.ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจัก
4.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2536
วิธีการจดภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้อย่างไร
2.ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
- สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
2.สถานประกอบการที่ต้องอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถยื่นได้ที่ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
3.สถานประกอบการที่มีหลานสาขา สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ที่สถานประกอบการหลักตั้งอยู่
4.สถานประกอบการที่อยู่ในการควบคุมของสำนักบริหารธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานบริการธุรกิจขนาดใหญ่หรือยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรในพื้นที่
- เอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.สำเนาบัตรประชาชน ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน
2.สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน
3.แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
4.หนังสือจดทะเบียนบริษัท
5.หลักฐานการตั้งสถานประกอบการ
6.แผนที่ของสถานประกอบการ
สรุป ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่สรรพการจะเรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านต่อปี จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางสรรพากร แต่ความจริงแล้วผู้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นก็คือ ผู้บริโภค ซึ่งการยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถยื่นได้ผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากรหรือหน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา: กรมสรรพากร