7 เรื่องที่ร้านอาหารทุกขนาดต้องรู้! ก่อนก้าวเข้าสู่วงการ Food Delivery

7 เรื่องที่ร้านอาหารทุกขนาดต้องรู้! ก่อนก้าวเข้าสู่วงการ Food Delivery

       ในวันที่ร้านอาหารขนาดเล็กใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบจากโรคระบาดกันถ้วนหน้า เราได้เห็นหลายๆ ร้านหันมาลุย Delivery แบบเต็มตัว เพื่อประครองร้านให้พอไปต่อ แต่ก็มีอีกหลายๆ เสียงที่สะท้อนว่า Food Delivery อาจไม่ได้เหมาะกับร้านอาหารทุกประเภท? SoGoodWeb ขอนำเสนอทุกแง่มุมที่ร้านอาหารทุกขนาดต้องรู้! ก่อนนำร้านเข้าสู่ Delivery เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเข้ามาต่อสู้ตลาด Food Delivery นี้ร่วมกัน

 

1.Delivery ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นเครื่องมือ

       นอกจากภาวะโรคระบาดที่ทำให้คนเราหันมาใช้บริการ Food Delivery มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมใกล้ชิดกับเทคโนโลยีและแสวงหาความสะดวกสบายมากขึ้น เริ่มเคยชินกับการทานข้าวที่บ้าน หรือการสั่งอาหารร้านดังโดยไม่ต้องไปรอต่อคิวเอง เพราะฉะนั้น Delivery ก็เหมือนมีอีกหนึ่งสาขาเพิ่ม เปิดโอกาสให้คนมาทำความรู้จักร้านของเราได้อย่างไม่จำกัด

 

 

2.ไม่ใช่ทุกเมนูที่เหมาะกับ Delivery แต่ทุกอย่างปรับได้

       เป็นเรื่องจริงที่รูปแบบของ Food Delivery ไม่ได้เหมาะกับทุกเมนูอาหาร และไม่ได้เหมาะกับร้านทุกประเภท แต่ทุกอย่างสามารถปรับได้ ถ้าพูดถึง Food Delivery ดูเหมือนจะไม่ใช่โจทย์ยากของร้านอาหารจานเดียว เช่น ร้านตามสั่ง แล้วร้านอาหารประเภทอื่นๆ ล่ะ พอจะมีความเป็นไปได้ไหม? โดยเฉพาะร้านที่เหมาะกับการนั่งทานที่ร้าน เช่น บุพเฟต์ โอมากาเสะ โจทย์แรกที่ร้านประเภทเหล่านี้ต้องทำคือการ "ปรับ" เมนูที่มีอยู่ให้เหมาะกับ Delivery มากขึ้น เช่น ใช้เวลาทำให้สั้นลง อิ่มได้ใน Set เดียว และง่ายต่อการขนส่ง

 
 

 

3.ชั่งน้ำหนักระหว่าง จัดส่งเอง VS ให้แอปฯ​ พาร์ทเนอร์ดูแล

จัดส่งเอง : วิธีนี้มีมาก่อนที่จะมีแอปพลิเคชัน Delivery ทั้งแบบคนที่ร้านขับรถส่งเอง จ้างพนักงานโดยเฉพาะ หรือติดต่อวินมอเตอร์ไซด์เอาไว้ เหมาะกับร้านที่มีคนดูแลมากกว่า 1 คน มีคนคอยวางคิวรถจัดส่ง ต้องคำนวณค่าแรงคนขับและค่าส่งตามระยะทางจริง

ใช้บริการแอปพาร์ทเนอร์ : เหมาะกับร้านที่ทำงานแค่คนเดียว หรือไม่มีคนคอยดูแลเรื่องการจัดส่ง การใช้บริการแอปพาร์ทเนอร์เปรียบเสมือนมีคนจัดคิวรถให้ มีคนส่งแบบไม่จำกัด สามารถจัดส่งหลายๆ ออเดอร์ในเวลาเดียว ส่วนเรื่องค่าส่งนั้นมีระบบคำนวณให้เสร็จสรรพ และหากร้านอยากมีค่าส่งที่ถูกกว่า ก็สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการค่าส่งถูก

 


4.ค่าส่ง คือตัวแปรสำคัญในการเอาชนะคู่แข่ง

       จะทำยังให้ร้านมีค่าส่งถูกลง? กรณีร้านจัดส่งเอง ก็อาจจะส่งได้แค่ลูกค้าในบริเวณใกล้ๆ (ถ้าไกลแล้วลูกค้าพร้อมจ่ายก็โอเค) หรือรวมหลายๆ ออเดอร์แล้วขับไปส่งทีเดียว แต่ลูกค้าอาจจะต้องรอรับอาหารเป็นรอบๆ ไป หรือหากร้านเข้าร่วม Delivery กับแอปฯ พาร์ทเนอร์ เพื่อค่าส่งที่ถูกลงนั้นจะต้องแลกกับการจ่ายค่าบริการ GP ประโยชน์คือทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น ได้กลุ่มลูกค้าในระยะไกลกว่า และยังมีสิทธิประโยชน์ที่แต่ละแอปฯ​ มอบให้เพิ่มเติม

 

 

5.GP ไม่ได้ช่วยแค่ค่าส่งถูก แต่ยังช่วยดูแลเรื่องทำการตลาด 

       GP ย่อมาจาก Gross Profit คือส่วนแบ่งที่ร้านจะต้องจ่ายให้กับแอปฯ พาร์ทเนอร์ โดยแต่ละแอปฯ จะคิดค่าบริการระบบ GP ในอัตราที่ต่างกัน อยู่ที่ประมาณ 30-35% เพราะฉะนั้นค่าบริการ GP ที่ร้านเสียให้กับแอปฯ Delivery นอกจากจะได้รับค่าส่งในอัตราที่ถูกลงแล้ว อาจต้องคำนวณรวมกับการทำการตลาดที่สามารถช่วยร้านเพิ่มลูกค้า เพิ่มยอดขาย

 


6.ใช้เทคโนโลยีให้คุ้ม เรียนรู้ตัวช่วยที่ทำให้ร้านขายดี

จัดส่งเอง : สำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าลูกค้าเข้ามาทางช่องทางไหน เช่น เบอร์โทรที่ลูกค้าโทรมาสั่ง, การสร้าง Facebook Page, การเข้าไปอยู่ในกลุ่มหมู่บ้านหรือเขตที่อยู่อาศัย หรือการสร้าง LINE OA ของร้าน โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ จะต้องอัปเดตอยู่เสมอ โพสต์ภาพอาหารน่าตาน่าทาน และรีวิวดีๆ จากลูกค้าเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้าน

ใช้บริการแอปพาร์ทเนอร์ :  แอปฯ รับออเดอร์ Delivery ที่มีฟีเจอร์จัดการร้านให้ด้วย ทั้งเรื่องการสร้างโปรโมชัน, การซื้อโฆษณาด้วยตัวเอง, การดูยอดขายแบบ Real Time หรือแม้กระทั่งเรื่องพื้นฐาน อย่างการเพิ่มเมนู, เพิ่มรูปหน้าปกร้าน, เพิ่มตัวเลือกเมนู

 


7.ลูกค้าคาดหวังเรื่องคุณภาพและความสม่ำเสมอ

       ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหน้าร้านหรือ Delivery ก็คาดหวังเรื่องนี้ไม่ต่างกัน นั่นก็คือเรื่องคุณภาพและความสม่ำเสมอ การสร้างความประทับใจครั้งแรกสำคัญมากก็จริง แต่ครั้งที่ 2 3 4 ก็สำคัญเหมือนกันนะ สำหรับลูกค้า Delivery ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมกับร้านของคุณมาก่อน จะได้เห็นแค่ภาพจากเมนูในแอปพลิเคชัน ชื่อเมนู และคำอธิบายเท่านั้น ถ้าคิดในมุมของลูกค้าก็คงได้แต่หวังว่าอาหารที่สั่งมาจะตรงปก ทั้งหน้าตา ทั้งปริมาณ


 

 

ขอขอบคุณแหลางที่มา : wongnai

โดย :
 774
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา สถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างพากันลงทุนจำนวนมากกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างช่องทางให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้น แน่นอนว่าแนวโน้มการศึกษาในปี 2017 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี "ประชาชาติธุรกิจ" จึงรวบรวมแนวโน้มการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้ดังนี้ เยสคอร์ส (YesCourse) ผู้สร้างแพลตฟอร์มการกระจายการศึกษาออนไลน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกได้ขายหลักสูตรการศึกษาออนไลน์ของตน โดยปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 3,500 สถาบันการศึกษาระบุว่า ในปีที่ผ่านมาการศึกษาออนไลน์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาอย่างมาก และเป็นตัวเสริมให้การศึกษาแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนจากทุกที่ แต่ในปี 2017 ระบบการเรียนออนไลน์แบบเสมือนจริง Virtual Reality (VR) จะกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นและได้ยิน VR ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาแล้ว เช่น การบิน การทหาร และเกม แต่ในอนาคต VR จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้และตื่นตัวในการเรียนรู้มากขึ้น แนวโน้มต่อมา คือ Cloud Migration หรือการเคลื่อนย้ายฐานข้อมูลต่าง ๆ สู่คลาวด์ ซึ่งสถาบันการศึกษานำข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงระบบไอทีของตนเองสู่ระบบคลาวด์มากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายเอง ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการบริหารทรัพยากรของระบบ และสามารถแบ่งทรัพยากรร่วมกันได้ง่าย อีกหนึ่งแนวโน้มที่ YesCourse พูดไว้ คือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analytics) และการเรียนเชิงทำนาย (Predictive Learning) ซึ่งในทุก ๆ ครั้งที่ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ พวกเขาทิ้งรอยดิจิทัลไว้ (Digital Footprint) สิ่งนี้ทำให้สถานศึกษา และครูผู้สอนสามารถใช้ทำนายเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน และสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นข้อดีต่อการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากร เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ส่วนเว็บไซต์ Pathway to Financial Success บอกว่า แนวโน้มการศึกษาจะเข้าสู่ยุค The Internet of Things (IoT) เพราะอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์โฟน โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ แท็บเลต สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรียนรู้มากขึ้นทุกวัน โดยบริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner Inc.) ทำนายว่า ในปี 2020 จะมีอุปกรณ์สิ่งของต่าง ๆ เชื่อมต่อกันไม่ต่ำกว่า 20.8 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก ดังนั้น รัฐบาลแห่งประเทศอังกฤษจึงทุ่มงบฯลงทุนด้านการวิจัยและศึกษาด้าน IoT ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านปอนด์ในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์จาก IoT ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning), รู้จักการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning), กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและยั่งยืน (Self-directed Learning), ส่งเสริมเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning), สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equality) และสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Creating Smart Classroom) นอกจากนั้น Real-World Case Studies หรือกรณีศึกษาจากโลกแห่งความจริงจะเข้มข้นมากขึ้นในทุกวิชา เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน และเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าข้อมูลในตำรา กรณีศึกษาในโลกแห่งความจริงยังเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ในขณะที่ "บิล เกตส์" นักธุรกิจชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลวิเคราะห์ไว้ว่า ค่าใช้จ่ายการศึกษาจะน้อยลงและทุนการวิจัยจะมากขึ้น "เป็นที่รู้กันว่างานวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการต่อยอดการศึกษา แต่ที่ผ่านมานักวิจัยหลายคนต่างต้องวิ่งเต้นหาทุนวิจัย และหาการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ฟรีจากระบบการศึกษาที่เรียกว่า MOOCs (Massive Online Open Courses) จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเรียนน้อยลง ผู้เรียนสามารถมีทุนวิจัยของตนเอง" "ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้สอนจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน ไม่ต้องสร้างห้องเรียนหรืออาคารเรียน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็
สำหรับนักธุรกิจที่สนใจจะ ลงโฆษณา ผ่านสื่อออนไลน์ นั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและเลือกใช้โฆษณาได้อย่างเหมาะสม
เหตุผลที่ไม่ควรพยายามจะทำ Instragram ตัวที่สอง หลังจาก Mark Zuckerberg (มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก) ผู้บริหาร facebook (เฟซบุ๊ก)

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์