วิธีป้องกันบัญชี Microsoft Outlook จากภัยแฮกเกอร์

วิธีป้องกันบัญชี Microsoft Outlook จากภัยแฮกเกอร์

         ในปัจจุบันอีเมลนับเป็นช่องทางการติดต่อที่มีความสำคัญมากช่องทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อทางธุรกิจหรือจะใช้ในเรื่องส่วนตัว และก็เป็นช่องทางที่แฮกเกอร์นิยมโจมตีด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเราควรระมัดระวังการคลิกเปิดอีเมลใน Outlook เรามาดูกันดีกว่าว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่จะป้องกันบัญชี Microsoft Outlook จากภัยแฮกเกอร์ ไปดูกันเลยค่ะ

       

ให้สังเกตจากไอคอนระบุผู้ส่งที่เชื่อถือได้ เมื่อได้รับข้อความ

         ข้อความที่ดูน่าสงสัยหรือมีเอกสารแนบที่ไม่น่าเชื่อถือ ให้สังเกตไอคอนระบุผู้ส่งที่เชื่อถือได้และส่วนหัวของอีเมล หากพบไอคอนลักษณะนี้แสดงว่าอีเมลนั้นปลอดภัยที่จะเปิดอ่าน กรณีไม่เห็นไอคอนผู้ส่งที่เชื่อถือได้ แนะนำให้ติดต่อผู้ส่งเพื่อยืนยันว่ามีการส่งข้อความนั้นจริงหรือไม่

             

 สังเกตแถบความปลอดภัยสีเหลืองและสีแดง

         หากเห็นแถบความปลอดภัยสีเหลืองที่ด้านบนของข้อความแสดงว่าข้อความนั้นมีเอกสารแนบ รูปภาพหรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่ถูกบล็อก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ส่งน่าเชื่อถือก่อนดาวน์โหลดไฟล์แนบหรือรูปภาพหรือคลิกลิงก์ใด ๆ การส่งอีเมลถึงผู้ส่งเพื่อยืนยันว่าฝ่ายนั้นส่งอีเมลดังกล่าวจริงเป็นแนวทางที่ดีเพื่อความปลอดภัย แถบความปลอดภัยสีแดงหมายความว่า ข้อความที่ได้รับอาจไม่ปลอดภัยและถูกบล็อก แนะนำว่าอย่าเปิดอีเมลเหล่านั้นและลบออกจากกล่องจดหมายทันที

        

เพิ่มอีเมลผู้ส่งที่มั่นใจว่าปลอดภัยไปยังรายชื่อผู้ส่งที่ปลอดภัย

         เมื่อเพิ่มที่อยู่อีเมลในรายชื่อผู้ส่งที่ปลอดภัย ข้อความทั้งหมดที่ได้รับจากที่อยู่นั้นจะถูกส่งตรงไปที่กล่องจดหมายทันที ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มผู้ส่งไปยังรายการผู้ส่งที่ถูกบล็อก ข้อความจากที่อยู่นั้นจะถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์อีเมลขยะ

          

ระมัดระวังในการลงชื่อเข้าใช้

         ควรลงชื่อเข้าใช้จากอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น com จะใช้การเชื่อมต่อแบบ HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) ซึ่งหมายความว่าชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านจะถูกเข้ารหัส อย่างไรก็ตามระวังการใช้อุปกรณ์ที่อาจมีมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านอยู่ หากต้องการลงชื่อเข้าใช้ Outlook.com จากอุปกรณ์สาธารณะ ควรขอรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวโดย Microsoft จะส่งผ่าน SMS ให้ทางมือถือหรืออีเมลของผู้ใช้

           

ตรวจสอบ URL ให้ดีก่อนลงชื่อเข้าใช้งาน

          หาก URL ที่ปรากฏในแถบที่อยู่เมื่อลงชื่อเข้าใช้ไม่มีคำว่า live.com ให้ระมัดระวังว่าอาจจะเป็นเว็บไซต์ Phishing อย่าใส่ข้อมูลใดๆ รวมถึงรหัสผ่าน ลองรีสตาร์ทเบราว์เซอร์และไปที่ Outlook.com อีกครั้ง หากยังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่ ให้ตรวจสอบมัลแวร์ที่อาจแฝงในอุปกรณ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฏาคม 2562)

           

ตั้งรหัสผ่าน

         ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขเครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ผสมกัน และควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ และไม่แนะนำให้ใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันสำหรับบริการอื่น

อย่าใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่จำง่ายเช่น ชื่อตัว ชื่อสมาชิกในครอบครัว ที่อยู่หรือหมายเลขโทรศัพท์อย่าเปิดเผยรหัสผ่านให้ผู้อื่นทราบ และ Microsoft จะไม่ขอรหัสผ่านผู้ใช้ทางอีเมลดังนั้นอย่าตอบกลับอีเมลใด ๆ ที่ขอข้อมูลส่วนบุคคลแม้ว่าจะอ้างว่ามาจาก com หรือ Microsoft

      

เปิดการยืนยันตนแบบสองปัจจัย (2-Step Authentication)

         การพิสูจน์ตัวตนแบบสองปัจจัยทำให้แฮกเกอร์ลงชื่อเข้าใช้ได้ยากขึ้นแม้ว่าพวกนี้จะขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้ได้แล้วก็ตาม ทุกครั้งที่ลงชื่อเข้าใช้จากอุปกรณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ระบบจะแจ้งให้ป้อนรหัสความปลอดภัยเพื่อยืนยันตนอีกขั้นตอนหนึ่งเสมอ

        

 หมั่นตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นล่าสุดเสมอ

         Microsoft จะมีอีเมลแจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมที่ผิดปกติในบัญชี Outlook ซึ่งเราสามารถดูเวลาและสถานที่ที่มีการเข้าถึงรวมถึงการลงชื่อเข้าใช้ที่หน้ากิจกรรมล่าสุดได้ที่ https://account.live.com/activity เพื่อแน่ใจว่าไม่มีผู้อื่นเข้าถึงบัญชีของเราได้

       

เพิ่มที่อยู่อีเมลสำรองและหมายเลขมือถือในข้อมูลบัญชี

          การเพิ่มที่อยู่อีเมลสำรองและหมายเลขโทรศัพท์มือถือทำให้กู้คืนบัญชีได้ หากถูกแฮก

       

หมั่นอัปเดตเสมอ

          ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบปฏิบัติการบนมือถือมีการอัปเดตล่าสุดหรือไม่ ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่มีการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ฟรีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและปรับปรุงประสิทธิภาพ เนื่องจากการอัปเดตช่วยให้อุปกรณ์ของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น ทางที่ดีให้ตั้งค่าให้อุปกรณ์นั้นทำอัปเดตแบบอัตโนมัติ

              

ลงซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและมัลแวร์

         ป้องกันอุปกรณ์จากไวรัสหรือมัลแวร์โดยใช้โซลูชันความปลอดภัยและตั้งค่าอัปเดตเป็นประจำ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : catcyfence

โดย :
 2721
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยอมรับจริงๆ ว่าในขณะนี้ ใครๆ ก็เป็นแม่ค้า พ่อค้า ออนไลน์ ทาง Facebook กันทั้งนั้น แค่สมัคร User ไม่ถึง5นาที ก็สามารถเปิดร้านขายของได้ง่ายๆโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท แต่ทุกคนจะรู้หรือไม่? ว่ามี Facebook Page อย่างเดียวไม่พอ เราต้องมี Website หลักของร้านค้าด้วย วันนี้ SoGoodWeb ขอแนะนำ 5 เหตุผล ที่ร้านค้าออนไลน์ควรมี Website เป็นของตัวเองมาฝากกันค่ะ
มาดูกันนะครับว่าท่านมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า โรคที่เรียกว่ากันว่า Facebooklism เป็นโรคทีใครๆ ก็เป็นได้ทั้งนั้น แต่ทว่าโรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมาก ถ้าหากเราเล่น Facebook อย่างพอเหมาะพอดี เพราะ Facebook เป็นทั้งที่ระบายอารมณ์ ความรู้สึก คลายความเหงา รวมถึงแหล่งความรู้ดีๆ หรือแม้แต่ข่าวสารต่างๆ ดังนั้นอาการต่อไปนี้จะบ่งบอกว่าท่านกำลังติด Facebook อย่างงอมแงมหรือเปล่า

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์