7 เรื่องที่ร้านอาหารทุกขนาดต้องรู้! ก่อนก้าวเข้าสู่วงการ Food Delivery

7 เรื่องที่ร้านอาหารทุกขนาดต้องรู้! ก่อนก้าวเข้าสู่วงการ Food Delivery

       ในวันที่ร้านอาหารขนาดเล็กใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบจากโรคระบาดกันถ้วนหน้า เราได้เห็นหลายๆ ร้านหันมาลุย Delivery แบบเต็มตัว เพื่อประครองร้านให้พอไปต่อ แต่ก็มีอีกหลายๆ เสียงที่สะท้อนว่า Food Delivery อาจไม่ได้เหมาะกับร้านอาหารทุกประเภท? SoGoodWeb ขอนำเสนอทุกแง่มุมที่ร้านอาหารทุกขนาดต้องรู้! ก่อนนำร้านเข้าสู่ Delivery เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเข้ามาต่อสู้ตลาด Food Delivery นี้ร่วมกัน

 

1.Delivery ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นเครื่องมือ

       นอกจากภาวะโรคระบาดที่ทำให้คนเราหันมาใช้บริการ Food Delivery มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมใกล้ชิดกับเทคโนโลยีและแสวงหาความสะดวกสบายมากขึ้น เริ่มเคยชินกับการทานข้าวที่บ้าน หรือการสั่งอาหารร้านดังโดยไม่ต้องไปรอต่อคิวเอง เพราะฉะนั้น Delivery ก็เหมือนมีอีกหนึ่งสาขาเพิ่ม เปิดโอกาสให้คนมาทำความรู้จักร้านของเราได้อย่างไม่จำกัด

 

 

2.ไม่ใช่ทุกเมนูที่เหมาะกับ Delivery แต่ทุกอย่างปรับได้

       เป็นเรื่องจริงที่รูปแบบของ Food Delivery ไม่ได้เหมาะกับทุกเมนูอาหาร และไม่ได้เหมาะกับร้านทุกประเภท แต่ทุกอย่างสามารถปรับได้ ถ้าพูดถึง Food Delivery ดูเหมือนจะไม่ใช่โจทย์ยากของร้านอาหารจานเดียว เช่น ร้านตามสั่ง แล้วร้านอาหารประเภทอื่นๆ ล่ะ พอจะมีความเป็นไปได้ไหม? โดยเฉพาะร้านที่เหมาะกับการนั่งทานที่ร้าน เช่น บุพเฟต์ โอมากาเสะ โจทย์แรกที่ร้านประเภทเหล่านี้ต้องทำคือการ "ปรับ" เมนูที่มีอยู่ให้เหมาะกับ Delivery มากขึ้น เช่น ใช้เวลาทำให้สั้นลง อิ่มได้ใน Set เดียว และง่ายต่อการขนส่ง

 
 

 

3.ชั่งน้ำหนักระหว่าง จัดส่งเอง VS ให้แอปฯ​ พาร์ทเนอร์ดูแล

จัดส่งเอง : วิธีนี้มีมาก่อนที่จะมีแอปพลิเคชัน Delivery ทั้งแบบคนที่ร้านขับรถส่งเอง จ้างพนักงานโดยเฉพาะ หรือติดต่อวินมอเตอร์ไซด์เอาไว้ เหมาะกับร้านที่มีคนดูแลมากกว่า 1 คน มีคนคอยวางคิวรถจัดส่ง ต้องคำนวณค่าแรงคนขับและค่าส่งตามระยะทางจริง

ใช้บริการแอปพาร์ทเนอร์ : เหมาะกับร้านที่ทำงานแค่คนเดียว หรือไม่มีคนคอยดูแลเรื่องการจัดส่ง การใช้บริการแอปพาร์ทเนอร์เปรียบเสมือนมีคนจัดคิวรถให้ มีคนส่งแบบไม่จำกัด สามารถจัดส่งหลายๆ ออเดอร์ในเวลาเดียว ส่วนเรื่องค่าส่งนั้นมีระบบคำนวณให้เสร็จสรรพ และหากร้านอยากมีค่าส่งที่ถูกกว่า ก็สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการค่าส่งถูก

 


4.ค่าส่ง คือตัวแปรสำคัญในการเอาชนะคู่แข่ง

       จะทำยังให้ร้านมีค่าส่งถูกลง? กรณีร้านจัดส่งเอง ก็อาจจะส่งได้แค่ลูกค้าในบริเวณใกล้ๆ (ถ้าไกลแล้วลูกค้าพร้อมจ่ายก็โอเค) หรือรวมหลายๆ ออเดอร์แล้วขับไปส่งทีเดียว แต่ลูกค้าอาจจะต้องรอรับอาหารเป็นรอบๆ ไป หรือหากร้านเข้าร่วม Delivery กับแอปฯ พาร์ทเนอร์ เพื่อค่าส่งที่ถูกลงนั้นจะต้องแลกกับการจ่ายค่าบริการ GP ประโยชน์คือทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น ได้กลุ่มลูกค้าในระยะไกลกว่า และยังมีสิทธิประโยชน์ที่แต่ละแอปฯ​ มอบให้เพิ่มเติม

 

 

5.GP ไม่ได้ช่วยแค่ค่าส่งถูก แต่ยังช่วยดูแลเรื่องทำการตลาด 

       GP ย่อมาจาก Gross Profit คือส่วนแบ่งที่ร้านจะต้องจ่ายให้กับแอปฯ พาร์ทเนอร์ โดยแต่ละแอปฯ จะคิดค่าบริการระบบ GP ในอัตราที่ต่างกัน อยู่ที่ประมาณ 30-35% เพราะฉะนั้นค่าบริการ GP ที่ร้านเสียให้กับแอปฯ Delivery นอกจากจะได้รับค่าส่งในอัตราที่ถูกลงแล้ว อาจต้องคำนวณรวมกับการทำการตลาดที่สามารถช่วยร้านเพิ่มลูกค้า เพิ่มยอดขาย

 


6.ใช้เทคโนโลยีให้คุ้ม เรียนรู้ตัวช่วยที่ทำให้ร้านขายดี

จัดส่งเอง : สำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าลูกค้าเข้ามาทางช่องทางไหน เช่น เบอร์โทรที่ลูกค้าโทรมาสั่ง, การสร้าง Facebook Page, การเข้าไปอยู่ในกลุ่มหมู่บ้านหรือเขตที่อยู่อาศัย หรือการสร้าง LINE OA ของร้าน โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ จะต้องอัปเดตอยู่เสมอ โพสต์ภาพอาหารน่าตาน่าทาน และรีวิวดีๆ จากลูกค้าเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้าน

ใช้บริการแอปพาร์ทเนอร์ :  แอปฯ รับออเดอร์ Delivery ที่มีฟีเจอร์จัดการร้านให้ด้วย ทั้งเรื่องการสร้างโปรโมชัน, การซื้อโฆษณาด้วยตัวเอง, การดูยอดขายแบบ Real Time หรือแม้กระทั่งเรื่องพื้นฐาน อย่างการเพิ่มเมนู, เพิ่มรูปหน้าปกร้าน, เพิ่มตัวเลือกเมนู

 


7.ลูกค้าคาดหวังเรื่องคุณภาพและความสม่ำเสมอ

       ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหน้าร้านหรือ Delivery ก็คาดหวังเรื่องนี้ไม่ต่างกัน นั่นก็คือเรื่องคุณภาพและความสม่ำเสมอ การสร้างความประทับใจครั้งแรกสำคัญมากก็จริง แต่ครั้งที่ 2 3 4 ก็สำคัญเหมือนกันนะ สำหรับลูกค้า Delivery ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมกับร้านของคุณมาก่อน จะได้เห็นแค่ภาพจากเมนูในแอปพลิเคชัน ชื่อเมนู และคำอธิบายเท่านั้น ถ้าคิดในมุมของลูกค้าก็คงได้แต่หวังว่าอาหารที่สั่งมาจะตรงปก ทั้งหน้าตา ทั้งปริมาณ


 

 

ขอขอบคุณแหลางที่มา : wongnai

โดย :
 897
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การค้นพบและการพัฒนาได้นำพาสิ่งใหม่เข้าสู่วงจรการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งที่ได้รับประโยชน์คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการทำธุรกิจอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในยุคที่ระบบออนไลน์และสังคม Social Media ครองเมืองอย่างในปัจจุบัน แล้วผู้ประกอบการเชื่อหรือไม่ว่าตอนนี้มีเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนกระดาษและช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจแล้ว
Internet of Things ( IoT ) คืออะไร มาหาคำตอบกัน หลายคนคงคุ้นเคยและรู้จักกับคำว่า Internet of Thingsหรือ IoTมาบ้างแล้ว ซึ่งในตอนนี้เทคโนโลยีนี้กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไปเป็นอย่างมาก แต่รู้คุณรู้หรือไมว่ามันคืออะไร เกี่ยวกับอะไรบ้างในชีวิตประจำวันของเรา เรามาหาคำตอบกัน
ปัจจุบัน Social Network (สังคมออนไลน์) มีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างมากกับโลกออนไลน์ ซึ่ง Facebook เป็น Social Network ที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดย Facebook เป็นแหล่งชุมชนของสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือทำการตลาดที่ดี ต้นทุนต่ำ มีประสิทธิภาพสูง เและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งขยายกลุ่มลูกค้าทั้งใหม่และเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าบริษัท ห้างร้านต่างๆ หันมาใช้การตลาดออนไลน์ผ่าน Facebook มากขึ้น

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์