อย่างที่นักการตลาดหลายคนรู้กันดีว่าผลกระทบจากการที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้านนานๆ ทำให้พวกเขาเบื่อง่าย พฤติกรรมผู้บริโภคจึงเปลี่ยนไป ชอบความตื่นเต้น ท้าทาย ความสดใหม่ และอยากมีส่วนร่วมกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น โหยหาสิ่งที่ทำให้สนุก มีชีวิตชีวา จึงมีกลยุทธ์ที่ชื่อว่า Gamification Marketing ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กับคนในยุคนี้นั่นเอง ซึ่งกลยุทธ์ Gamification Marketing นี้จะสร้างความสนุกให้กับผู้บริโภคได้ พร้อมกับเปลี่ยนมันมาสร้างยอดขายให้แบรนด์ได้ดีอีกด้วย ไปทำความรู้จักกันว่ามันคืออะไร ทำไมถึงเหมาะที่จะมาใช้ในการตลาดออนไลน์
Gamification Marketing คืออะไร
กลยุทธ์ Gamification Marketing คือ การออกแบบกิจกรรม หรือแคมเปญทางการตลาดโดยใช้เทคนิคจากการเล่นเกม เช่น กิจกรรมการแข่งขันการจัดอันดับ ระบบการให้คะแนน มีการให้รางวัลแก่ผู้ชนะ เพื่อใช้ดึงดูดใจลูกค้า เป็นแคมเปญที่นำมาใช้ได้หลายแบบ เช่น การสร้างการรับรู้ สร้างยอดขาย หรือสร้างการเชื่อมต่อกับแบรนด์ รวมไปจนถึงการทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อผลิตภัณฑ์ ใช้บริการซ้ำ ซึ่งการใช้กลยุทธ์นี้จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกอยากเข้ามามีส่วนร่วม ตื่นเต้น สนุก เหมือนกับกำลังเล่มเกมอยู่
Gamification Marketing ทำไมใช้แล้วเวิร์กกับคนยุคนี้ ?
ตั้งแต่ก่อนจนถึงปัจจุบันเกมส์นั้นเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนอยู่เสมอ เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีก็พัฒนาไปมากมาย ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ยังโหยหาการเล่นเกมให้ชีวิตตัวเองได้มีสีสันกัน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนก็ตาม ยิ่งยุคนี้เกมส์นั้นได้เข้ามาอยู่ในมือถือที่ใครก็เล่นได้ง่ายขึ้น จึงทำให้กลยุทธ์การตลาดแบบ Gamification Marketing นั้นเข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคทุกยุค โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ใครก็ได้ถึงได้
สาเหตุที่ทำให้กลยุทธ์ Gamification Marketing ประสบความสำเร็จก็ เพราะการเล่นเกมส์มันมีชนะและแพ้ ซึ่ง Gamification นั้นใช้หลักการทางจิตวิทยาของ Pavlov ที่ใช้สิ่งเร้าในการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายทำตามที่ต้องการ โดยให้รางวัลหรือลงโทษ จึงเกิดแรงขับเคลื่อนทางอารมณ์ที่อยากจะเอาชนะ การใช้กลุยทธ์นี้จึงทำควบคู่ไปกับการให้ของรางวัลเพื่อกระตุ้นให้คนอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมยิ่งขึ้น
จะทำอย่างไรเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ให้ได้มากที่สุด นั่นก็คือ ความท้าทายสำหรับนักการตลาดทั้งหลาย ซึ่งการนำกลยุทธ์ Gamification Marketing มาใช้ในการตลาดออนไลน์จะช่วยดึงดูดให้คนมาสนใจอยากร่วมกิจกรรม และดึงให้ลูกค้าอยู่กับแบรนด์ได้นานขึ้น อย่างการสะสมแต้ม ยิ่งซื้อเยอะยิ่งได้แต้มเยอะ และเพิ่มระดับสมาชิกได้
ยุคนี้การซื้อขายในช่องทางออนไลน์นั้นนิยมมากกว่าการเดินเข้าไปซื้อหน้าร้านมากกว่าเมื่อก่อน ทำให้ร้านค้าเสียเปรียบในด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าไป เพราะลูกค้าเป็นฝ่ายหาข้อมูลเอง แบรนด์จึงต้องเน้นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างการมีปฏิสัมพันธ์หรือการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับลูกค้ามากขึ้นอย่างการใช้ Gamification Marketing ก็เป็นสิ่งที่ช่วยในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
ส่วนการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า นอกจากรูปหน้าตาสินค้า หรือดีไซน์ช่องทางการขายให้สวยงาม ความสนุกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพวกเขาได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการใช้ คือ การนำเอาองค์ประกอบของเกมส์มาเพิ่มความสนุกให้กับกิจกรรม ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเชิงดีต่อแบรนด์
วิธีทำ Gamification Marketing แบบเข้าใจง่าย
1.วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนแรกคือแบรนด์ต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของตัวเองก่อนว่าเป็นใคร อายุเท่าไหร่ เพศไหนบ้าง กลุ่มเป้าหมายมีความคิด ความสนใจอะไร เพื่อที่จะได้จัดแคมเปญที่ไปกระตุ้นความสนใจ หรือความอยากเอาชนะของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ช่องทาง เทคโนโลยีที่กลุ่มเป้าหมายใช้เพิ่ม เพื่อดูว่าเราสามารถต่อยอดอะไรจากระบบเหล่านี้ได้บ้าง
2.วางแผนระบบการเล่นเกม
ก่อนที่แบรนด์จะจัดกิจกรรมขึ้นมาจะต้องคิดถึงระบบการเล่นเกมก่อนว่าจะใช้เกมแบบไหน ระบบอะไร กติกาการเล่นคือแบบไหน รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของเกมที่จะนำมาจัดแคมเปญ
3.สร้างการมีปฏิสัมพันธ์ในแคมเปญ
เมื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วางแผนระบบการเล่นเกมของกิจกรรมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ของคนที่มาเล่น สิ่งกระตุ้นให้คนสนุก อยากเล่น หรืออยากแข่งขันคืออะไร รวมไปจนถึงสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายชวนเพื่อนคนอื่นให้มาเล่นด้วยกัน
4.ตั้งเป้าหมายในการจัดแคมเปญ
สิ่งสำคัญสิ่งสุดท้ายคือการตั้งเป้าหมายในการจัดกิจกรรม ทำเพื่ออะไร ใช้แกนไหนเป็นตัววัดประสิทธิภาพของแคมเปญที่จัดขึ้นมา เช่น การใช้ Engagement, Conversion Rate หรือ Active User
สรุป
Gamification Marketing เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับผลดีในยุคดิจิทัล เพราะแกนหลักของกลยุทธ์นี้มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ก็คือ “ความสนุก” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนในยุคดิจิทัลโหยหา เนื่องจากพวกเขาอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเครียด โดยเฉพาะในช่วงวิกฤต ดังนั้น หากแบรนด์สามารถเข้าใจผู้บริโภค และแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ ก็จะช่วยทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : Digimusketeers