เมื่อพูดถึงการตลาดกลยุทธ์การตลาดที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดรูปแบบหนึ่งในการตลาดการเมืองในประเทศไทยคือ Grassroots Marketing ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งสร้างให้ลูกค้าเกิดการบอกปากต่อปากโดยการเข้าถึงระดับรากหญ้าซึ่งเป็นระดับท้องถิ่น ในทางปฏิบัติการตลาดการเมืองในประเทศไทยมีกลยุทธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่อาศัยการสื่อสารปากต่อปากและนิยมใช้กันมากในองค์กรธุรกิจต่างๆแต่มีประเด็นทางจริยธรรมให้เป็นที่ถกเถียงกันบ่อยครั้งกลยุทธ์ที่ว่านี้ คือ Shill Marketing Shill Marketing นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับชิวชิวตามภาษาวัยรุ่นที่พูดกันซึ่งหมายถึงสบาย ๆ (คาดเดาว่ามาจากคำว่า chill) แต่เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรได้ว่าจ้างให้คนกลุ่มหนึ่งให้ทำตนเสมือนหนึ่งเป็นลูกค้าแต่ไม่ให้แสดงตัวว่ามีความเกี่ยวข้องกับองค์กร มีความพยายามชักจูงหรือพูดปากต่อปากในการเชียร์สินค้าขององค์กรหรือบอกเล่าว่าตนเองได้ใช้สินค้านั้นแล้วและยืนยันว่ามีคุณภาพดีแนวการจัดการของ Shill Marketing นั้นอาศัยการรับรู้ของบริโภคที่ว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเชื่อข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆมากกว่าพนักงานขายหรือข้อมูลจากบริษัทดังนั้นผู้ที่ได้รับการว่าจ้าง (Shill) จะไม่แสดงตัวว่าเป็นผู้ที่ทำงานให้กับองค์กรแต่ใช้การสื่อสารทางตรงไปยังลูกค้าและบ่อยครั้งที่มีการสร้างให้เป็นกลุ่มและทำงานร่วมกัน
Multiple Shills ในการตลาดการเมืองการว่าจ้างหัวคะแนนให้เงินในการช่วยหาเสียงซึ่งหัวคะแนนไม่ได้แสดงตนว่าได้รับการ
ว่าจ้างก็เข้าข่ายของการตลาดแบบ Shill Marketing ด้วยเช่นกันในองค์กรธุรกิจมีการนำ Shill Marketing มาใช้ในหลายๆโอกาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการแนะนำสินค้าใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ๆเช่นมีโทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าแรกๆที่ผลิตโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถถ่ายรูปและได้ว่าจ้างพนักงานสองพันว่าคนโดยคัดเลือกลักษณะคนที่คล้ายกับเป็นคนต่างชาติและให้ปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวไปเดินตามย่านธุรกิจต่าง ๆเมื่อพบเจอผู้คนที่คิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายก็ทำทีว่าขอความช่วยเหลือให้ถ่ายรูปให้โดยยื่นโทรศัพท์มือถือให้และสาธิตวิธีการใช้อย่างเสร็จสรรพแน่นอนว่าเมื่อกลับถึงบ้านก็อดไม่ได้ที่จะบอกต่อถึงความประทับใจความตื่นเต้นที่มีต่อการได้ถ่ายรูปโดยใช้โทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นปัจจุบัน Shill Marketing มีการใช้บ่อยครั้งและแพร่ระบาดไปมากในปัจจุบันโดยเฉลี่ยพบว่าผู้บริโภค 2 ใน 3 ได้รับอิทธิพลของการสื่อสารปากต่อปากเนื่องจากปัจจัยที่เอื้ออำนวยหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกอินเทอร์เน็ตโดยปลอมตัวว่าเป็นผู้ที่เคยใช้สินค้ามาโพสต์ข้อความต่างๆในกระทู้โดยมี
พวกเดียวกันตอบและเสริมส่งกันในทางบวกทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ได้รับการว่าจ้างมาทั้งสิ้น ถึงตอนนี้หลาย ๆท่านคงแย้งในใจว่า
การตลาดรูปแบบนี้ควรจะนำไปใช้หรือไม่ในทางปฏิบัติเนื่องจากดูเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค
Shill Marketing ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น Evil Marketing เนื่องจากเหตุผลหลาย ๆ ประการไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของการหลอกลวงข้อมูลเพราะผู้บอกกล่าวไม่ได้รับประสบการณ์จริงการสร้างความสนใจแบบปลอมๆหรือท้ายสุดคือการถือโอกาสเอาเปรียบจากความไว้วางใจของผู้รับข้อมูลดังนั้นแม้ว่า Shill Marketing จะส่งผลทางด้านบวกคือสื่อสารได้เร็วในวงกว้างและไม่เสีย
ค่าใช้จ่ายมากนัก แต่เมื่อพิจารณาผลกระทบทางลบแล้ว กลยุทธ์การตลาดแบบนี้อาจไม่คุ้มเนื่องจากอาจส่งผลให้ผู้บริโภคโกรธและเลิกใช้ได้ในที่สุดการสื่อสารปากต่อปากที่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า (Honest Word-of-mouth) เป็นสิ่งที่น่าจะกระทำมากกว่าและถูกต้องตามจริยธรรมทางการตลาดเพราะทำให้แบรนด์อยู่ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวและทำได้ง่ายๆคือการเริ่มที่การลิสต์รายชื่อลูกค้าอาสาสมัครต่อมาคือการป้อนประสบการณ์ทางตรงให้กับกลุ่มอาสาสมัครและให้รางวัลกับผู้ที่สามารถแนะนำลูกค้าได้ เช่น Member gets member ของบริษัทเครดิตการ์ดทั้งหลายหรือการตั้งกระทู้แนะนำของเหล่าสาวกภาพยนตร์รักแห่งสยามในรอบพิเศษของเว็บไซต์พันทิปหลักการดังกล่าวต้องยึดมั่นกับกฎเหล็กการสื่อสารปากต่อปาก 3 ประการคือหนึ่งต้องเป็นอาสาสมัครทั้งหมดและไม่มีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง(100% Voluntary)สองต้องไม่วางแผนคำพูดล่วงหน้า(No Scripting) และสุดท้ายต้องไม่มี
ผลตอบแทนในรูปตัวเงิน (No Cash) ถ้ามีการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวกลยุทธ์การตลาด Shill Marketing ก็คงไม่ต้องถูกเรียกว่า Evil Marketing อีกต่อไปและถึงตอนนั้นกลยุทธ์ปากต่อปากของท่านก็จะเกิดจากลูกค้าที่นิยมชมชอบและประทับใจแบรนด์ของท่านและอยากจะบอกต่ออย่างแท้จริงซึ่งถ้าได้ลูกค้าแบบนี้แล้วชิวชิวกว่ากันเป็นไหนๆ
Credit : www.sbdc.co.th
By : www.SoGoodWeb.com