การเริ่มต้นเขียนบทความสำหรับใครหลายๆคน อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ทั้งการคิดชื่อเรื่องบทความให้น่าสนใจ เนื้อหาให้เหมาะสม จะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจ หากได้ลองเขียนบทความมากๆ ก็จะทำให้เรารู้อะไรหลาย ๆ อย่าง ไปในตัว นั่นก็คือ ประสบการณ์ จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และวันนี้ก็จะแนะนำการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น สำหรับใครหลายๆคน เพื่อให้การเขียนบทความนั้นง่ายขึ้นและมีความน่าสนใจ น่าอ่านมากยิ่งขึ้น
1. ชื่อบทความ : เป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านเห็น เราควรตั้งชื่อให้น่าสนใจ ครอบคลุมเนื้อหา บอกประเด็นหลัก และดึงดูดให้คลิกอ่าน ถ้าหากชื่อไม่น่าสนใจบทความนั้นอาจจะถูกเลื่อนผ่านไป
2. บทนำ : เป็นส่วนที่อยู่ตอนต้นของบทความ เป็นการบอกคร่าวๆเกี่ยวกับบทความ เรื่องอะไร สำคํญอย่างไร ให้ประโยชน์อย่างไร เราจะต้องเขียนให้ผู้อ่านชวนคิดตาม
3. เนื้อหาบทความ : เนื้อหาบทความไม่ควรมีแต่ข้อความให้อ่าน จะทำให้ผู้อ่านน่าเบื่อและรู้สึกไม่อยากอ่านทันที เพียงแค่เห็นก็แทบไม่อยากอ่านแล้ว ต้องมีการแทรกรูปภาพประกอบบ้าง เนื้อหาควรกระชับ เข้าใจง่าย อีกทั้งต้องคำนึงถึงลำดับเนื้อหา การวางโครงร่าง เช่น การแบ่งหัวข้อ การวางตำแหน่งรูป การวางตำแหน่งข้อความ เป็นต้น
4. บทสรุป : เป็นการสรุปสาระสำคัญของบทความ ตอนท้ายสุด
5. อ้างอิง (ถ้ามี) : เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงข้อมูลที่เรานำมาเขียนบทความ ควรบอกให้ครบทุกแหล่งอ้างอิงที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือ และเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานด้วย
1. กำหนดเรื่องที่จะเขียน : การเลือกเรื่องที่สนใจ เรื่องที่มีประสบการณ์ จะทำให้เราถ่ายทอดออกมาได้ง่าย หรือ เลือกตามสิ่งที่กำลังนิยมจะทำให้มีแนวโน้มสูงที่บทความนั้น จะถูกอ่านมากกว่าปกติ
2. กำหนดจุดหมายให้ชัดเจน : การกำหนดจุดหมายนั้นเพื่อบ่งบอกว่าเราเขียนบทความเพื่ออะไร เช่น เพื่อให้ความรู้ เพื่อความบันเทิง เป็นต้น
3. กำหนดกลุ่มผู้อ่าน : เพื่อคำนึงถึงเรื่องอายุ เพศ การศึกษา อาชีพ ของผู้อ่าน โดยในเนื้อหาบทความจะได้มีการใช้ภาษา ถ้อยคำ และคำศัพท์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติผู้อ่าน
4. การเตรียมข้อมูลที่ใช้เขียนบทความ : ให้เราหาข้อมูลให้เพียงพอที่จะเขียนบทความ และเป็นข้อมูลที่ควรเชื่อถือได้
5. วางโครงเรื่องการนำเสนอ : ต้องมีการวางโครงเรื่องที่จะเขียนบทความ ว่าจะนำเสนออะไร กำหนดขอบเขตของเรื่องให้ชัดเจน กำหนดลำดับเนื้อหา จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมทั้งหมดซึ่งสามารถวางสัดส่วนเนื้อหาแต่ละหัวข้อได้อย่างเหมาะสม หากขาดตกบกพร่องเราจะแก้ไขบทความได้ง่ายและรวดเร็ว
หากเราทำการเขียนบทความเสร็จแล้วให้อ่านบทความตรวจดูอีกที อ่านแล้วสมเหตุสมผล ได้ผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ หากตรวจสอบเสร็จแล้วก็สามารถเผยแพร่บทความได้
ในการเขียนบทความก็ช่วยทำให้เราได้ฝึกอะไรหลายๆ อย่าง ยิ่งเขียนมากก็ได้ประสบการณ์มาก ลองฝึกเขียนบทความกันดูนะครับ
แหล่งที่มา : เขียนบทความ