มัลแวร์ WannaCry หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ เป็น Ransomware (โปรแกรมเรียกค่าไถ่) ชนิดหนึ่ง จุดประสงค์หลักคือ เข้ารหัสลับข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่ หากไม่จ่ายเงินตามที่เรียกจะไม่สามารถเปิดไฟล์ได้ สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษสําหรับมัลแวร์นี้คือความสามารถในการกระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ผ่านช่องโหว่ของ วินโดวส์ ผู้ใช้งานที่ไม่อัปเดตระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ มีความเสี่ยงที่จะติดมัลแวร์นี้
มัลแวร์ WannaCry
ผู้ใช้งานที่ไม่อัปเดตระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ มีความเสี่ยงที่จะติดมัลแวร์นี้ โดยจากรายงานกล่าวถึงช่องโหว่ที่พบในการเผยแพร่มัลแวร์ว่าเป็นช่องโหว่ที่ถูกเปิดเผยตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน และถึงแม้ทางผู้พัฒนาจะเผยแพร่ซอฟต์แวร์แก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2560 แล้ว แต่ก็ยังพบว่าปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ตัวนี้มากกว่า 50,000 เครื่อง ใน 99 ประเทศ โดยเกิดผลกระทบสูงต่อหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ ในประเทศไทยพบผู้ติดมัลแวร์ตัวนี้อยู่บ้าง แต่ยังไม่พบการแพร่กระจายในวงกว้าง
และล่าสุด ผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังค้นพบ ตอนนี้มีผู้ตกเป็นเหยื่อ Wannacry 2.0 แล้วมากกว่า 100,000 รายจาก 100 กว่าประเทศทั่วโลก รวมถึงพบผู้ติด Wannacry ในไทยแล้ว 1 ราย ซึ่งอยู่ในช่วงการประสานงานกับกระทรวงดิจิทัลฯ
ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ThaiCERT ก็ได้ออกประกาศเตือน ให้ระมัดระวัง มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Wannacry แล้ว
วิธีป้องกันตัวเองจากมัลแวร์ WannaCry อยู่ 2 อย่าง คือ การอัปเดตวินโดวส์เพื่ออุดช่องโหว่ และอีกอย่างคือ การปิดโปรโตคอล Server Message Block (SMB) ที่เป็นโปรโตคอลสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน
สำหรับ Windows รุ่นเก่าอย่าง XP, Windows 8, Windows Server 2003 ที่เลิกซัพพอร์ตไปแล้ว ไมโครซอฟท์ก็ออกตัวแก้ไขฉุกเฉินมาให้เพื่อปิดช่องโหว่นี้ ก็ตามไปดาวน์โหลดได้ที่เว็บ Microsoft
ที่มา : สถานการณ์การโจมตี WannaCry, เตือนภัย มัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry ระบาดหนักทั่วโลก ไทยโดนด้วย