• หน้าแรก

  • เกร็ดความรู้

  • Grab เพิ่มปุ่มฉุกเฉิน และนำระบบเทเลมาติกส์มาใช้กับแท็กซี่ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Grab เพิ่มปุ่มฉุกเฉิน และนำระบบเทเลมาติกส์มาใช้กับแท็กซี่ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • หน้าแรก

  • เกร็ดความรู้

  • Grab เพิ่มปุ่มฉุกเฉิน และนำระบบเทเลมาติกส์มาใช้กับแท็กซี่ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Grab เพิ่มปุ่มฉุกเฉิน และนำระบบเทเลมาติกส์มาใช้กับแท็กซี่ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

              เชื่อว่าผู้ใช้แท็กซี่ผ่านแอปโดยเฉพาะคนกรุงเทพ และจังหวัดใหญ่ๆอย่างเชียงใหม่ ก็คงใช้บริการ Grabและทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ใช้ Grab ในการเรียกแท็กซี่เช่นกัน ตอนนี้มีอัปเดตสำคัญ โดย Grab ได้นำระบบเทเลมาติกส์ และปุ่มโทรหาเบอร์ฉุกเฉิน (ปุ่มฉุกเฉิน) มาใช้ในแอปพลิเคชั่นอย่างเป็นทางการแล้ว ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในประเทศไทยด้วย

              การที่ Grab นำระบบเทเลมาติกส์มาใช้ เป็นระบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถทำการคาดการณ์ล่วงหน้า สามารถระบุพฤติกรรมการขับขี่ที่มีความสุมเสี่ยง อาทิ การขับรถเร็ว การเร่งความเร็วแบบกระชาก รวมถึงการเปลี่ยนเลน หักเลี้ยว และเบรกรถอย่างกะทันหัน โดยจะมีการส่งรายงานรายสัปดาห์ให้แก่คนขับเพื่อให้ความรู้และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขับขี่อย่างเหมาะสมทั้งนี้ Grab ได้ทดสอบระบบเทเลมาติกส์มาใช้ในประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สถิติบ่งชี้ว่าฟีเจอร์ดังกล่าวช่วยลดอัตราการขับรถเร็วลงร้อยละ 15, ลดพฤติกรรมการเบรกแบบกะทันหันร้อยละ 11 และลดการเร่งความเร็วแบบกระชากร้อยละ 18

               นอกจากนี้ แกร็บยังได้ติดตั้งปุ่มฉุกเฉิน ในแอพพลิเคชั่น เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารสามารถกดโทรหาเบอร์ฉุกเฉินได้โดยตรงในกรณีเกิดเหตุจำเป็นการเปิดตัวสองฟีเจอร์ดังกล่าว ถือว่าเข้ามาเสริมมาตรฐานความปลอดภัยและบริการที่มีอยู่เดิมของ Grab ซึ่งช่วยปกป้องผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเดินทางให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

             ก่อนการเดินทาง ผู้ขับขี่ของ Grab ต้องผ่านขั้นตอนการเช็คประวัติ การอบรม และการยืนยันตัว ก่อนให้บริการ
             ระหว่างการเดินทาง ผู้โดยสาร สามารถใช้ฟีเจอร์ “Share My Ride” เพื่อแชร์รายละเอียดการเดินทาง ประมาณเวลา รายละเอียดของผู้ขับขี่ และตำแหน่งที่กำลังเดินทางอยู่แบบเรียลไทม์ให้แก่คนใกล้ชิดรับทราบได้ นอกจากนี้ มีประกันอุบัติเหตุการเดินทางส่วนบุคคลให้แก่ทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่ โดยทุกๆการโดยสารผ่าน Grab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ภายใต้การคุ้มครองของประกันดังกล่าว
             หลังการเดินทาง มีการตรวจสอบและดำเนินการต่อทุกเสียงตอบรับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อระบุและป้องกันพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่

ขอบคุณแหล่งที่มา: ไอที24ชั่วโมง
โดย :
 1702
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา สถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างพากันลงทุนจำนวนมากกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างช่องทางให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้น แน่นอนว่าแนวโน้มการศึกษาในปี 2017 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี "ประชาชาติธุรกิจ" จึงรวบรวมแนวโน้มการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้ดังนี้ เยสคอร์ส (YesCourse) ผู้สร้างแพลตฟอร์มการกระจายการศึกษาออนไลน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกได้ขายหลักสูตรการศึกษาออนไลน์ของตน โดยปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 3,500 สถาบันการศึกษาระบุว่า ในปีที่ผ่านมาการศึกษาออนไลน์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาอย่างมาก และเป็นตัวเสริมให้การศึกษาแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนจากทุกที่ แต่ในปี 2017 ระบบการเรียนออนไลน์แบบเสมือนจริง Virtual Reality (VR) จะกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นและได้ยิน VR ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาแล้ว เช่น การบิน การทหาร และเกม แต่ในอนาคต VR จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้และตื่นตัวในการเรียนรู้มากขึ้น แนวโน้มต่อมา คือ Cloud Migration หรือการเคลื่อนย้ายฐานข้อมูลต่าง ๆ สู่คลาวด์ ซึ่งสถาบันการศึกษานำข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงระบบไอทีของตนเองสู่ระบบคลาวด์มากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายเอง ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการบริหารทรัพยากรของระบบ และสามารถแบ่งทรัพยากรร่วมกันได้ง่าย อีกหนึ่งแนวโน้มที่ YesCourse พูดไว้ คือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analytics) และการเรียนเชิงทำนาย (Predictive Learning) ซึ่งในทุก ๆ ครั้งที่ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ พวกเขาทิ้งรอยดิจิทัลไว้ (Digital Footprint) สิ่งนี้ทำให้สถานศึกษา และครูผู้สอนสามารถใช้ทำนายเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน และสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นข้อดีต่อการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากร เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ส่วนเว็บไซต์ Pathway to Financial Success บอกว่า แนวโน้มการศึกษาจะเข้าสู่ยุค The Internet of Things (IoT) เพราะอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์โฟน โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ แท็บเลต สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรียนรู้มากขึ้นทุกวัน โดยบริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner Inc.) ทำนายว่า ในปี 2020 จะมีอุปกรณ์สิ่งของต่าง ๆ เชื่อมต่อกันไม่ต่ำกว่า 20.8 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก ดังนั้น รัฐบาลแห่งประเทศอังกฤษจึงทุ่มงบฯลงทุนด้านการวิจัยและศึกษาด้าน IoT ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านปอนด์ในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์จาก IoT ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning), รู้จักการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning), กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและยั่งยืน (Self-directed Learning), ส่งเสริมเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning), สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equality) และสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Creating Smart Classroom) นอกจากนั้น Real-World Case Studies หรือกรณีศึกษาจากโลกแห่งความจริงจะเข้มข้นมากขึ้นในทุกวิชา เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน และเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าข้อมูลในตำรา กรณีศึกษาในโลกแห่งความจริงยังเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ในขณะที่ "บิล เกตส์" นักธุรกิจชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลวิเคราะห์ไว้ว่า ค่าใช้จ่ายการศึกษาจะน้อยลงและทุนการวิจัยจะมากขึ้น "เป็นที่รู้กันว่างานวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการต่อยอดการศึกษา แต่ที่ผ่านมานักวิจัยหลายคนต่างต้องวิ่งเต้นหาทุนวิจัย และหาการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ฟรีจากระบบการศึกษาที่เรียกว่า MOOCs (Massive Online Open Courses) จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเรียนน้อยลง ผู้เรียนสามารถมีทุนวิจัยของตนเอง" "ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้สอนจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน ไม่ต้องสร้างห้องเรียนหรืออาคารเรียน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็
Responsive Web Design คือ การออกแบบเว็บไซต์ด้วยแนวคิดใหม่ ที่จะทำให้เว็บไซต์ สามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสม บนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน โดยใช้ โค้ดร่วมกัน URL เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์