SMEs ไทยลดภาษีได้ 200% เพียงใช้ซอฟต์แวร์ของคนไทยที่ขึ้นทะเบียนกับ Depa

SMEs ไทยลดภาษีได้ 200% เพียงใช้ซอฟต์แวร์ของคนไทยที่ขึ้นทะเบียนกับ Depa


     สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ประกาศมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ 100% สำหรับผู้ประกอบการ SME เมื่อซื้อหรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ของประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA โดยภาษีที่หักต้องอยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยเพิ่มเติมถึงคำว่าลดภาษี 200% ว่า หัก 100% เป็นค่าใช้จ่าย และหักค่าเสื่อมได้อีก 3 ปี รวมเป็น 200%

เงื่อนไขของผู้ประกอบการหรือ SME มีดังนี้
1. ต้องเลือกใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA หรือมีรายชื่ออยู่กับ DEPA เท่านั้น
2. ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย มีหุ้นเป็นทุนตั้งแต่ 51% ของนิติบุคคลนั้น ถือโดยบุคคลที่มีสัญชาติไทย

ส่วนด้านเงื่อนไขผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ที่อยากขึ้นทะเบียนมีชื่อใน DEPA มีดังนี้
1. เป็นผู้ทำธุรกิจด้านพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนขาย จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ได้รับการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตหรือพัฒนาบริการซอฟต์แวร์ เช่น ISO/IEC 29110 หรือ CMMI หรือมาตรฐานอื่นตามที่สำนักงานฯกำหนด

     การลดภาษีดังกล่าว เป็นนโยบายส่งเสริมให้ SME-ผู้ประกอบการ มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อยกระดับมาตรฐานและก้าวทันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริม ผู้ผลิต-ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ของคนไทย เกิดการกระตุ้นให้ผลิตซอฟต์แวร์รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ คอยตอบสนองความต้องการธุรกิจในไทย
ทั้งนี้ 

     รายละเอียดจากเว็บไซต์ DEPA ระบุด้วยว่า "คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือค่าจ้างทำหรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ขาย ผู้รับจ้างทำ หรือผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล"

     DEPA ระบุว่ามาตรการนี้วินวินกันทั้งสองฝ่าย พรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการ DEPA ระบุว่า ผู้ได้ประโยชน์มีทั้งฝั่งผู้ผลิตคือผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ แต่ข้อแม้คือต้องมีมาตรฐานสากลเป็นจุดขายในทางหนึีงคือเป็นการสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ว่าต้องได้รับมาตรฐานสากล ส่วนวินในฝั่ง SME ที่มาช็อปปิ้งโปรแกรมจากบริษัทที่มีชื่อใน DEPA ก็เอาใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.depa.or.th สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โทร. 0-2141-7101

โดย :
 2957
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำธุรกิจหากไม่มีการโฆษณาแล้วใครล่ะจะรู้ว่าคุณกำลังทำธุรกิจอะไรและมีดียังไง การทำธุรกิจและการโฆษณาดูจะเป็นของคู่กันเสมอ เมื่อก่อนเราอาจจะคุ้นเคยกับรูปแบบการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่วันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามาช่วยให้เราสื่อสารกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่จะโฆษณาสินค้าและบริการเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของเราก็คงต้องอาศัยความรวดเร็วที่ว่านี้เพื่อให้ชนะคู่แข่ง โดยผ่านรูปแบบการโฆษณาออนไลน์ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยช่องทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวัน
คนประสบความสำเร็จจะเข้าใจเสมอว่า ปัจจัยความสำเร็จของพวกขึ้นอยู่กับจิตใจและสุขภาพทางร่างกายของพวกเขา ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “การนอนอย่างเพียงพอ” เป็นสำคัญดังนั้นช่วงเวลานอนและกิจกรรมก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก พามาดูคนประสบความสำเร็จเขาทำอะไรก่อนนอนบ้าง
เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา สถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างพากันลงทุนจำนวนมากกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างช่องทางให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้น แน่นอนว่าแนวโน้มการศึกษาในปี 2017 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี "ประชาชาติธุรกิจ" จึงรวบรวมแนวโน้มการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้ดังนี้ เยสคอร์ส (YesCourse) ผู้สร้างแพลตฟอร์มการกระจายการศึกษาออนไลน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกได้ขายหลักสูตรการศึกษาออนไลน์ของตน โดยปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 3,500 สถาบันการศึกษาระบุว่า ในปีที่ผ่านมาการศึกษาออนไลน์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาอย่างมาก และเป็นตัวเสริมให้การศึกษาแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนจากทุกที่ แต่ในปี 2017 ระบบการเรียนออนไลน์แบบเสมือนจริง Virtual Reality (VR) จะกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นและได้ยิน VR ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาแล้ว เช่น การบิน การทหาร และเกม แต่ในอนาคต VR จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้และตื่นตัวในการเรียนรู้มากขึ้น แนวโน้มต่อมา คือ Cloud Migration หรือการเคลื่อนย้ายฐานข้อมูลต่าง ๆ สู่คลาวด์ ซึ่งสถาบันการศึกษานำข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงระบบไอทีของตนเองสู่ระบบคลาวด์มากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายเอง ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการบริหารทรัพยากรของระบบ และสามารถแบ่งทรัพยากรร่วมกันได้ง่าย อีกหนึ่งแนวโน้มที่ YesCourse พูดไว้ คือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analytics) และการเรียนเชิงทำนาย (Predictive Learning) ซึ่งในทุก ๆ ครั้งที่ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ พวกเขาทิ้งรอยดิจิทัลไว้ (Digital Footprint) สิ่งนี้ทำให้สถานศึกษา และครูผู้สอนสามารถใช้ทำนายเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน และสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นข้อดีต่อการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากร เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ส่วนเว็บไซต์ Pathway to Financial Success บอกว่า แนวโน้มการศึกษาจะเข้าสู่ยุค The Internet of Things (IoT) เพราะอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์โฟน โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ แท็บเลต สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรียนรู้มากขึ้นทุกวัน โดยบริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner Inc.) ทำนายว่า ในปี 2020 จะมีอุปกรณ์สิ่งของต่าง ๆ เชื่อมต่อกันไม่ต่ำกว่า 20.8 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก ดังนั้น รัฐบาลแห่งประเทศอังกฤษจึงทุ่มงบฯลงทุนด้านการวิจัยและศึกษาด้าน IoT ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านปอนด์ในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์จาก IoT ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning), รู้จักการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning), กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและยั่งยืน (Self-directed Learning), ส่งเสริมเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning), สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equality) และสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Creating Smart Classroom) นอกจากนั้น Real-World Case Studies หรือกรณีศึกษาจากโลกแห่งความจริงจะเข้มข้นมากขึ้นในทุกวิชา เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน และเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าข้อมูลในตำรา กรณีศึกษาในโลกแห่งความจริงยังเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ในขณะที่ "บิล เกตส์" นักธุรกิจชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลวิเคราะห์ไว้ว่า ค่าใช้จ่ายการศึกษาจะน้อยลงและทุนการวิจัยจะมากขึ้น "เป็นที่รู้กันว่างานวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการต่อยอดการศึกษา แต่ที่ผ่านมานักวิจัยหลายคนต่างต้องวิ่งเต้นหาทุนวิจัย และหาการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ฟรีจากระบบการศึกษาที่เรียกว่า MOOCs (Massive Online Open Courses) จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเรียนน้อยลง ผู้เรียนสามารถมีทุนวิจัยของตนเอง" "ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้สอนจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน ไม่ต้องสร้างห้องเรียนหรืออาคารเรียน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์