Wireframe ความหมายคืออะไร? และสอนวิธีเขียน

Wireframe ความหมายคืออะไร? และสอนวิธีเขียน

หลายคนๆ เวลาจะทำโปรเจคขึ้นมา คงเคยทำ Wireframe กันใช่มั้ยครับ จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเอง เพราะ Wireframe จะเป็นข้อกำหนดในการทำงานร่วมกัน และยังใช้เป็นเอกสารเอาไว้อ้างอิงได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว การทำ Wireframe นั้น ไม่ได้มีรูปแบบตายตัว แต่ละคนหรือบริษัทอาจมีวิธีการแตกต่างกันออกไป แต่จะมีจุดประสงค์เหมือนๆ กัน คือเพื่อให้เห็นภาพรวมของเว็บไซต์ ทำให้ทีมเข้าใจตรงกัน และพัฒนาไปในทางเดียวกันนั่นเองครับ

ใน Wireframe มีอะไร?

จะว่าไปแล้ว Wireframe ก็เหมือนกับการวางแผนการทำงานของเรา โดยเขียนออกมาเป็นแผนภาพเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย โดย Wireframe นั้นจะไม่มีรายละเอียดทางด้านความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็น สีสัน แบบตัวอักษร หรือรูปภาพ แต่จะแสดงเฉพาะ layout ว่าอะไร อยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง ลิงก์นี้กดแล้วไปหน้าไหนต่อ พอกดแล้วเป็น  Overlay มั้ย พอเอาเม้าส์ไป Hover จะเกิดอะไรขึ้น รายละเอียดพวกนี้ เราสามารถใส่ลงไปใน Wireframe ได้เลยครับ

 

เตรียมความพร้อม ก่อนทำ Wireframe

ก่อนที่จะลงมือทำ Wireframe เราควรมีการเตรียมพร้อมก่อน เริ่มตั้งแต่เรื่องของ requirements ต่างๆ ของโปรเจค เวลาคุยกับลูกค้า ต้องตกลงกันให้ชัดเจน และมั่นใจว่าเข้าใจตรงกัน แล้วทำการสรุป requirements อีกครั้ง ยิ่งละเอียดมากเท่าไรยิ่งดี เพราะจะทำให้ Wireframe สมบูรณ์มากขึ้น

 เมื่อสรุป requirements ได้แล้ว เราควรนำสิ่งที่ได้สรุป มาระดมความคิดกันก่อน ว่าสิ่งนี้โอเคมั้ย ทำจริงได้มั้ย มีข้อเสนอแนะ หรือข้อจำกัดอะไรบ้างมั้ย ขั้นตอนนี้สำคัญ ซึ่งทุกคนในทีมควรมีส่วนร่วม ไม่เกี่ยงว่าจะต้องเป็นตำแหน่งนั้น ตำแหน่งนี้ เพราะยิ่งมีคนช่วยคิดมาก เรายิ่งได้เห็นมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น เมื่อมีความเห็นต่างกัน ให้เราหาข้อสรุป ที่ทุกคนยอมรับได้ หรือทางออกที่เหมาะสมที่สุดกับโปรเจคนั้นๆ

 

ลงมือทำ Wireframe

หลังจากที่ทีมได้ระดมความคิดกันมา ให้เรานำสิ่งที่สรุปมาทั้งหมด มาสร้าง Wireframe ครับ เริ่มจากดูว่าเว็บไซต์ของเรา ประกอบไปด้วยหน้าอะไรบ้าง อาจทำ Sitemap ขึ้นมาก็ได้ครับ ลิสต์มาให้หมด แล้วจดไว้ครับ

ต่อมาให้เราดูว่าเว็บไซต์ของเรามีหน้าทั้งหมดที่ประเภท อาจแบ่งออกเป็น homepage, category, archive, page ซึ่งหลักที่ผมใช้ในการแบ่งประเภทของหน้าก็คือ layout ครับ เราจะต้องลิสต์หน้าที่มี layout ต่างกันออกมาให้หมด แล้วออกแบบ layout ของแต่ละหน้า ซึ่งประกอบด้วย header, footer, content, sidebar หรืออื่นๆ ให้เราร่างออกมาคร่าวๆ....

 

 

 ทีนี้เราจะได้ลิสต์ของหน้าทั้งหมด กับลิสต์ของ layout ทั้งหมดมาอยู่ในมือ ให้เราเลือกหน้ามาทำ Wireframe ทีละหน้า โดยดูว่าหน้านั้นๆ ควรใช้ layout แบบไหน ทำแบบนี้ไปจนครบทุกๆ หน้าครับ

เมื่อเราได้ layout ของแต่ละหน้าแล้ว ให้เราดูว่าในหน้านั้นๆ ควรมี content อะไรบ้าง ให้ลิสต์มาให้ครบ แล้วค่อยพิจารณาตำแหน่งที่เหมาะสม ให้กับ content นั้นๆ ครับ ให้เราทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกๆ หน้าครับ

ตอนนี้ เราจะรู้แล้วว่า แต่ละหน้ามี layout อย่างไร และมี content อะไรบ้าง วางตำแหน่งอย่างไร ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการใส่รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับ Wireframe ของเราครับ อาจเขียนอธิบายการทำงานของกลไกต่างๆ (mechanics) หรืออะไรก็ได้ที่ช่วยให้การพัฒนาเป็นไปในทางที่ถูกต้องครับ

 

เขียน Wireframe ใช้ Tool ตัวไหนดี?

ทุกวันนี้ มีเครื่องมือช่วยเราสร้าง Wireframe มากมาย ที่ทำมาให้เราใช้กันฟรีๆ แต่ tool ที่ผมชอบใช้มากที่สุดก็คือดินสอกับกระดาษครับ ขั้นตอนที่เล่ามาทั้งหมด ผมจะใช้ดินสอเขียนลงบนกระดาษทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ร่าง layout ตามด้วยวาดกล่อง content ต่างๆ แล้วตัดออกมาใช้เทปติดตามช่องที่เราได้ร่างไว้ หากเราต้องการย้ายตำแหน่ง เราก็สามารถแกะเทปที่ติดออกแล้วติดใหม่ได้ทันที คล้ายๆ กับกระดาษ “โพสต์-อิท” นั่นละครับ

ข้อดีของการใช้กระดาษอีกอย่างคือ เวลาเราระดมความคิดกันในทีม หากต้องการแก้อะไร เราสามารถเขียนลงในนั้นได้ทันทีครับ อาจใช้ดินสอที่สีต่างกัน เพื่อใช้ไฮไลท์ข้อความที่สำคัญๆไว้ และเวลานำ Wireframe นี้ ไปนำเสนอลูกค้า แนะนำให้เราใช้ดินสออีกสีในการเขียน feedback ของลูกค้าลงไปใน Wireframe จะได้เห็นกันชัดๆ ครับ ว่าเราต้องปรับอะไรตรงไหนบ้าง

ที่ผมเล่ามาทั้งหมด เป็นการนำประสบการณ์ในการทำงานมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ก็หวังว่าเพื่อนๆ จะได้รับประโยชน์ไปบ้าง สุดท้ายอย่าลืมนำ Wireframe ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานของตัวเองนะครับ

 

 

 

 

Credit : Siamhtml.com

โดย :
 3005
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ Sogoodweb จะมีเเนวทางให้ผู้อ่านได้ลองสำรวจ เเนวทาง สิ่งที่ควรเเละไม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้กับเว็บไซต์ของเราเอง เเละทำให้ได้เว็บไซต์ที่น่าอ่านน่ามองกว่าของคู่เเข่งรอบตัว
Social Video Marketing เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าเครื่องมืออื่นๆ ทางการตลาด โดยการตลาดที่ใช้ Social Video Marketing จะมีลักษณะการทำตลาดแบบออนไลน์บนสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยใช้วิดีโอเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับผู้ชม และมีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง ในปัจจุบันการทำการตลาดโดยใช้วิดีโอยังถือว่าเป็นการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ที่ได้รับผลตอบรับจากผู้เข้าชมเป็นอย่างดีไม่ว่าจะผ่านมานานหลายปีแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องการทำการตลาดในรูปแบบวิดีโอ คุณก็ไม่ควรพลาดกับ ส่วนผสมหลัก 4 ประการในการทำ Social Video Marketing ที่สมบูรณ์แบบดังต่อไปนี้
เชื่อว่าช่วงนี้หลายๆนักการตลาดต่างเริ่มกำหนดทิศทางและวางแผนกลยุทธ์สำหรับปี 2017 กันแล้ว ทั้งเทคโนโลยีสำหรับการตลาดและสื่อโฆษณาดิจิทัลใหม่ๆ ต่างสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการตลาดอยู่ไม่น้อย วันนี้จะพูดถึง 5 เทรนด์ใหม่ ที่นักการตลาดควรใส่ใจสำหรับการใช้งบประมาณการตลาดในปี 2017 ที่กำลังจะมาถึงอย่างอินเทรนด์

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์