ไม่รู้ไม่ได้! ศึกษาให้ดีเรื่องภาษี E-COMMERCE สิ่งสำคัญของคนทำธุรกิจออนไลน์!

ไม่รู้ไม่ได้! ศึกษาให้ดีเรื่องภาษี E-COMMERCE สิ่งสำคัญของคนทำธุรกิจออนไลน์!

 
     ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการซื้อของออนไลน์มีการเติบโตสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ใช้หลายๆ คน มองเห็นช่องทางการหารายได้เพิ่มเติม และผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์สำหรับการขายสินค้าต่างๆ หรือการทำธุรกิจ SMEs ที่เกิดขึ้นมากมายในแต่ละวัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่มักจะมองข้ามไปก็คือ "การจ่ายภาษี"

ข้อกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ประกอบการรายใดในประเทศไทยที่มีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการ ให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใดๆ ก็ตาม มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเสียภาษีว่าต้องจ่ายหรือไม่? หรือต้องจ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง วันนี้เราจะมาอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายภาษี E-Commerce ให้ทุกท่านได้ทราบกัน

 

1. ธุรกิจ E-Commerce หรือการขายของออนไลน์ "ต้องเสียภาษี"
    อันดับแรกเราต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ผู้ที่ขายของออนไลน์ หรือธุรกิจ E-Commerce ใดๆ ก็ตาม "จำเป็นต้องเสียภาษี" ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าในลักษณะอาชีพเสริม (มีเงินเดือนอยู่แล้ว) หรือการขายเป็นรายได้หลักก็ตาม เพราะเมื่อใดที่เราขายสินค้าได้ เท่ากับว่าเรามีรายได้เข้ามาแล้ว

 

2. แล้วต้องเสียภาษีประเภทไหน?
    การเสียภาษีจากธุรกิจ E-Commerce ต้องดูว่าผู้ประกอบการมีรูปแบบธุรกิจ และรายได้อย่างไร โดยอันดับแรกมาดูเรื่องรูปแบบธุรกิจกันก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

  • บุคคลธรรมดา

    รูปแบบธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา คือการที่ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัท, ห้างร้าน ฯลฯ) ประมาณว่า ทำเองขายเอง หรือนำสินค้ามาจากที่อื่นแล้วขายเอง เป็นต้น โดยรายได้จากการขายสินค้านี้ถือเป็น เงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (เงินได้ประเภทที่ 8) ซึ่งจะคิดอัตราภาษีได้สองแบบ เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีจากเงินได้ประเภทใด

  - กรณีแรก มีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการเป็นรายได้หลัก (ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ) ต้องคิดแบบเงินได้สุทธิ (ภ.ง.ด. 91) นั่นก็คือ

**** รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน ****

  - กรณีที่สอง ถ้าหากเรามีงานประจำ รับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว และยังมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 120,000 บาท (ต่อปีภาษี) ต้องคิดภาษี 2 แบบ คือ แบบแรกตาม ภ.ง.ด. 91 โดยยื่นเป็นรายได้จากเงินเดือน

ส่วนเงินได้จากการขายสินค้าให้คิดตามแบบเงินได้พึงประเมิน (ภ.ง.ด. 94) โดยให้นำเงินได้ (จากการขายสินค้า) ทั้งหมดคูณด้วย 0.005 ถ้าตัวเลขภาษีออกมาไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้ามีจำนวนเกิน 5,000 บาท ให้มาเทียบกับวิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (ภ.ง.ด. 91) อีกครั้งหนึ่งว่า การคำนวณจากฐานรายได้แบบไหนต้องจ่ายภาษีสูงกว่ากัน ให้เลือกอันที่จ่ายสูงกว่าเพียงอันเดียว

  • นิติบุคคล

    รูปแบบธุรกิจแบบนิติบุคคล คือผู้ขายจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์ "กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร" โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ หลังจากพอทราบรูปแบบธุรกิจกันไปแล้ว เรามาดูเรื่อง รายได้ กันต่อค่ะ 

  • รายได้

    นอกจากภาษีเงินได้ที่ต้องเสียกันแล้ว ยังมีภาษีอีกแบบหนึ่งที่การจะต้องเสีย หรือไม่ต้องเสียนั้น ขึ้นอยู่กับรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการ นั่นก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม VAT นั่นเอง

โดยผู้ประกอบการจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็ต่อเมื่อธุรกิจของเรามีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องไปจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

 

3. ถ้าไม่เสียภาษี โดนเรียกเก็บย้อนหลังอ่วมแน่นอน!
     ผู้ทำธุรกิจออนไลน์ หรือ E-Commerce รายใดที่มีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษี แต่กลับหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการไม่แจ้ง หรือไม่จ่าย ถือว่า "ผิดกฎหมาย" และต้องเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยที่เรียกว่า "เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม" อีกทั้งยังอาจโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย รับรองว่าไม่คุ้มแน่นอน และการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนี้อาจทำให้ธุรกิจที่กำลังไปได้สวยต้องพังลงในพริบตาก็เป็นได้

 

   หวังว่าผู้ประกอบการทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้แล้วจะมีความเข้าใจเรื่องของภาษีกันมากขึ้น และเราขอแนะนำให้ทุกท่านยื่นแบบ พร้อมจ่ายภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เพราะถ้าหากไม่จ่าย ไม่แจ้ง ไม่ทำอะไรเลย เกิดกรมสรรพากรตรวจสอบเจอขึ้นมาจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นทำให้ถูกต้องไว้ ยังไงก็ปลอดภัยค่ะ

 

ขอบคุณแหล่งที่มา : makewebeasy

โดย :
 2657
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูปมีข้อได้เปรียบหลายประการที่ทำให้มันเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
แม้ตลาดสินค้าเด็กจะเป็นเพียงกลุ่มสินค้าเฉพาะสำหรับเด็กเล็ก ๆ แต่สินค้าเฉพาะเหล่านี้กลับเติบโตอย่างต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มว่ายังต้องการ “ไอเดียใหม่ ๆ” ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์พ่อแม่ยุคปัจจุบันมากขึ้น
การซื้อขายสินค้าและบริการ ระหว่าง องค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ เช่น การซื้อวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า การซื้อสินค้าจากผู้ผลิตมาขายให้แก่ผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก สามารถ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์