1. เลือกตอบโจทย์ลูกค้า กลุ่ม Niche Market

  จริงๆแล้ว เรื่องกลุ่มเป้าหมาย คุณควรทำมันเป็นอย่างแรกตั้งแต่ก่อนจะเริ่มธุรกิจแล้ว เพราะคุณจะต้องตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของคุณให้ถูกต้อง และที่สำคัญตามหัวข้อ คือ ต้องเป็น Niche Market เท่านั้น เพราะถ้าคุณเจาะกลุ่มคนทั่วไป หรือ Mass คุณจะเกิดได้ยากเนื่องจาก บิ๊กๆ ทั้งหลายเค้าเน้นเจาะกลุ่มเหล่านั้นไปหมดแล้ว คุณต้องคิดถึงกลุ่มที่เฉพาะเจาะจงลงลึกไป เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น ในเว็บอย่างลาซาด้า จะมีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมากมายหลากหลาย ถ้าคุณต้องการเจาะกลุ่ม Niche ที่เกี่ยวกับเสื้อผ้า คุณก็ต้องเจาะลงลึกไปอย่าง เช่น เสื้อผ้าคนท้อง หรือ ชุดคนอวบบิ๊กไซด์ เป็นต้น คุณควรรู้ ทุกฝีก้าว ของกลุ่ม Niche ของคุณ เริ่มต้นจากการสร้าง Brand Awareness สร้างการรับรู้ คือ ทำให้ลูกค้าเจอคุณบ่อยๆให้ได้ซะก่อน ลูกค้าปัจจุบันมักจะมีหาข้อมูลก่อนซื้อ รวมถึงเช็คราคาตามเว็บต่างๆ

       กลยุทธ์การตลาดอีคอมเมิร์ซ ยุคนี้ มักจะทำทางเดียว คือ โฆษณาจริงๆ แล้วมีงานวิจัย สรุปสถิติ ว่า ผู้บริโภคยุคนี้ ต้องเห็น Ads หรือ โฆษณา ถึง 7 ครั้ง กว่าจะมีการตัดสินใจซื้อ ดังนั้น ในทุกๆก้าว ทุกหน้าจอ ทุกแอพฯ ลูกค้าควรได้พบเห็นคุณ และเมื่อพวกเค้าค้นหาสินค้า ควรก็ต้อง ให้เค้าเจอก่อน และ ให้รายยละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน น่าสนใจ ดึงดูดให้เกิดการตัดสินใจซื้อ จุดสำคัญสุดท้ายคือ จ่ายเงิน ต้องง่ายสั้นจบเร็ว แต่ก็อาจจะมี โปรโมชั่น อัพเซลล์ ครอสเซลล์ ดาวน์เซลล์ กระตุ้นให้ซื้อมากขึ้นอีก

2. รู้เทรนด์ความต้องการผู้บริโภค ให้เร็วกว่า

  คุณต้องรู้ให้ได้ว่า สินค้า หรือ เรื่องราว อะไรที่เป็นเทรนด์ มาแรง เพราะะถ้าคุณไหลไปตามกระแส มันจะง่ายมากขึ้นเยอะที่จะมีลูกค้าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้คุณสามารถรู้เรื่อง เทรนด์ต่างๆ ว่า สินค้า บริการ หรือ เรื่องราวต่างๆ อะไรที่กำลังมา และเป็นที่พูดถึงอยู่ ล้วนแล้วแต่ใช้ข้อมูลโดยตรงจาก Google Trends ทั้งสิ้น เลยทำให้รู้ได้ว่า โอกาสในการขายสินค้ายอดนิยมมันง่ายกว่าที่คิดจริงๆ ข้อมูล กูเกิลเทรนด์ เหล่านี้จะสามารถช่วยคุณได้ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ไปจนถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลูกค้า เช่น การเจาะกลุ่มลูกค้าตามสถานที่ จังหวด หรือ ภูมิภาค , ระยะหรือช่วงเวลาที่ลูกค้าให้ความสนใจในตัวสินค้า เอาข้อมูลอินไซต์ ต่างๆ แล้วนำเอาข้อมูลพวกนี้ไปต่อยอด ทำแคมเปญจ์การตลาด ออกโปรโมชั่น หรือ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้โดนใจลูกค้าได้เลย

3. ใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ แบบฟรีๆ

  อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น ว่า ปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม e-commerce ที่เข้ามาเจาะลูกค้าคนไทยมากมาย ดังนี้ อย่าทวนกระแสเพระาคุณเองก็สามารถนำพาสินค้าอันสุดยอดของคุณ ไปเปิดตลาดในช่องทางต่างๆนั้นได้ด้วยตัวเอง และยิ่งไปกว่านั้น ช่วงนี้ อีคอมเมิร์ซแต่ละเจ้ายินดีต้อนรับพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยอย่างยิ่ง โดยไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมอะไรทั้งนั้น รวมถึง บางเจ้ายังฟรีค่าจัดส่งให้ด้วย รีบเข้าไปลงสินค้าของคุณให้ครบทุกๆช่องทางได้เดี๋ยวนี้เลย ไม่ว่าจะเป็น

 Lazada , Shopee , 11Street , Kaidee หรือ แม้กระทั่ง Facebook Marketplace และ Google Merchant Center 

นอกจาก แพลตฟอร์มการขายของออนไลน์ ที่ได้บอกไป ก็ยังมีช่องทางอื่นๆที่อาจจะไม่ใช่ อีคอมเมิร์ซ โดยตรงแต่คุณสามารถใช้มันในการโปรโมทสินค้าหรือ ขายของได้ และอาจจะขายดีด้วย เช่น Facebook Live , Facebook Group , เฟสส่วนตัวของคุณ , Facebook เพจ , Instagram , Line , Line@ , Twitter , Youtube , Webboard และ เว็บไซต์ ของคุณเอง

4. มีช่องทางหลักสำหรับเก็บข้อมูลลูกค้า

  ข้อนี้เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มัก มองข้าม และทำให้ยอดขายไม่เป็นไปดั่งใจคิด สิ่งนี้ก็เพราะว่า การที่ลูกค้าคนหนึ่งจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของคุณก็ว่ายากแล้ว ความยากในส่วนนี้ คุณต้องคำนวณออกมาให้เห็นได้ชัด ว่าด้วยงบการตลาดที่คุณลงทุนไปเท่าไหร่กว่าจะได้ลูกค้า 1 คนมาซื้อ (Cost per Customer) อีกใช้งบน้อยเท่าไหร่ กำไรก็จะมีสิทธิ์โตตามไปด้วย และ จุดพีคอยู่ที่ คุณสามารถทำให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าคุณแล้ว ทำ 2 เรื่องต่อไปนี้ได้ ถือว่า คุณทำการตลาดถึงลูกค้าคนนั้นได้สำเร็จ 2 เรื่องนี้ คือ

  1. กลับมา ซื้อซ้ำ
  2. บอกต่อ ชักชวน

เมื่อคุณทำได้ตามนี้ ยอดขายจะขยับขยายได้อย่างรวดเร็ว เพราะคุณไม่ต้องทำการตลาดด้วยตัวคนเดียวอีกแล้ว ลูกค้าของคุณ จะเป็นนักขายให้กับแบรนด์ของคุณไปโดยไม่รู้ตัว แต่การทำให้สำเร็จอย่างที่ว่าได้นั้น ต้องมาจากหลายๆปัจจัย เช่น การเอาใจใส่ลูกค้า คุณภาพของสินค้าและบริการ คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ ถ้าทำได้ คำว่าลูกค้าจะเปลี่ยนไปเป็น สาวก อย่างที่ Apple ทำได้มาแล้ว

5. ลงมือทำ

   ข้อเสียของคนไทย ด้วยกัน รวมทั้ง ผู้ขียนด้วย คือ วางแผน เยอะไป ไม่ได้ลงมือทำซะที มีคำกล่าวยอดนิยม จากนักชกผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลอย่าง ไมค์ ไทสัน ว่า ” Everyone has a plan ’till they get punched in the mouth ”

ซึ่งเป็นประโยคที่ไว้เตือนสติผู้ประกอบการได้ว่า อย่ามัวให้น้ำหนักกับแผนไปมากกว่าการลงมือทำดูซะบ้าง หลากหลาย นักการตลาด คาดการณ์ ว่า ใน 5 ปีข้างหน้า ตลาด e-Commerce ในประเทศไทยเรานั้น จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นถึง 8% ถ้าเทียบว่า ตอนนี้ มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทย จากธุรกิจค้าปลีก เป็น 1% เท่ากับ 42,000 ล้านบาท ดังนั้น แปลว่า ในอีก 5 ปีที่จะมาถึง มูลค่าตลาดของอีคอมเมิร์ซ จะสูงถึง 280,000 ล้านบาท เนื่องจาก คนไทย จะเรียนรู้ และ รู้จัก อีคอมเมิร์ซและการขายของออนไลน์กันเข้าเส้นไปแล้ว เพราะการระดมทุนมหาศาลเพื่อกระตุ้น การช้อปปิ้งออนไลน์ของคนไทย

ขอบคุณแหล่งที่มา : brandingchamp