รู้แล้วหรือยังว่า แม่ค้าออนไลน์ต้องจ่ายภาษี ล้านละ 5000 บาท

รู้แล้วหรือยังว่า แม่ค้าออนไลน์ต้องจ่ายภาษี ล้านละ 5000 บาท

กลายเป็นประเด็นทันที เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไฟเขียวร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ 

พูดง่ายๆ ก็คือ การแก้ไขกฎหมายกรมสรรพากร โดยกำหนดให้ สถาบันการเงิน ต้องส่งข้อมูลของบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีความเคลื่อนไหวทางบัญชี ในการทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกินปีละ 3,000 ครั้ง หรือการฝาก-รับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง ที่มียอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ให้กรมสรรพากรตรวจสอบ เพื่อเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง

กฎหมายฉบับนี้กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักมาก ว่า...ไม่เป็นธรรมกับบรรดาพ่อแม่พี่น้องที่มีอาชีพค้าขาย โดยเฉพาะบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่กำลังเป็นธุรกิจที่ฮิตติดลมบน จนคาดกันว่าจะมีมูลค่าการค้าขายไม่น้อยกว่า 3 ล้านล้านบาทในปีนี้ และจะทะลุ 5 ล้านล้านบาทในปี 64

จนกรมสรรพากรเองต้องรีบชี้แจงแถลงไขว่า...การแก้ไขกฎหมาย ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีเท่านั้น และยังเป็นการรองรับการทำธุรกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การให้ผู้จ่ายเงินสามารถเลือกวิธีการนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายผ่านตัวกลาง อย่างสถาบันการเงิน เท่านั้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น...ผู้จ่ายเงินได้ก็ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี และนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากรในภายหลังอีก ที่สำคัญยังเป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบการเสียภาษีให้ถูกต้อง ไม่ได้หมายความว่ากรมสรรพากรจะจ้องรีดภาษีกับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ไม่เพียงเท่านี้ กรมสรรพากรยังย้ำว่า ก่อนแก้ไขกฎหมาย ก็มีการเปิดประชาพิจารณ์ มีการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการพินิจพิเคราะห์ พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบ

แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด!!! การจัดเก็บภาษีก็เพื่อให้รัฐมีรายได้ที่จะนำไปใช้ในการจัดบริการสาธารณะให้กับคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้นการรายงานธุรกรรมตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการนำข้อมูลส่วนบุคลไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

นอกจากนี้หากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ว่านี้ มีประวัติทางการเงินที่โปร่งใสถูกต้อง ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือได้รับสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มขีดความสามารถมากขึ้นไปอีก

และใช่ว่าเงินที่รับ-โอนผ่านบัญชีหรือผ่านสถาบันการเงิน จะต้องเสียภาษีทุกบาททุกสตางค์ เพราะยังมีเงินได้อีกมากมายไม่ได้เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นการคืนเงินกู้ยืม การรับเงินที่ฝากไปทำบุญแทน อะไรเทือกนี้ต่างหาก

นอกจากนี้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ ก็ใช่ว่าเจ้าหน้าที่จะหลับหูหลับตาแล้วเรียกเก็บภาษีทันทีซะเมื่อไหร่ โดยข้อมูลที่สถาบันการเงินรายงานให้ทราบ ก็ต้องนำไปวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ของผู้เสียภาษีอีก ก่อนนำไปจัดกลุ่ม จัดประเภทการดูแลให้ถูกต้องต่อไป

ข้อมูลของกรมสรรพากรที่ชี้แจงกันออกมา ฟังๆ ดูแล้วก็ดูสวยหรู เพราะสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี แถมยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีอีกต่างหาก ก็ยุคนี้สมัยนี้อะไรๆ ก็ไปเร็วมาเร็ว ตามยุคไทยแลนด์ 4.0 นั้นแหล่ะ

คาดกันว่ากฎหมายฉบับนี้ น่าจะประกาศใช้เพื่อเริ่มเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 นี้เป็นต้นไป และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกภายในเดือนมี.ค.63

แต่ก็เอาเถอะ...ต่อให้กรมสรรพากรชี้แจงอย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลายก็หนีไม่พ้นที่ต้องเสียภาษีตามหน้าที่อยู่ดี อย่าลืมว่าตามปกติผู้มีรายได้ก็ต้องเสียภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2-8) ที่กำหนดไว้ชัดเจนอยู่ว่า ผู้ที่มีอาชีพอิสระต้องเสียภาษีแบบเหมาจ่ายในอัตรา 0.5% ของรายได้ หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีรายได้ถึงเกณฑ์เข้าบัญชี 2 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษี 10,000 บาท หรือล้านละ 5,000 บาท

แต่ ณ เวลานี้ ตามฐานข้อมูลของกรมสรรพากรเองพบว่า คนไทยเวลานี้มีรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 4-5 แสนบาท หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 26,000 บาท ซึ่งก็ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ไม่ต้องเข้าเกณฑ์เสียภาษีอยู่แล้ว ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาจึงเป็นเพียงการเพิ่มความเข้มข้นในการดูแล ในการตรวจสอบเท่านั้น ใครที่ทำถูกต้องก็ไม่ต้องเดือดร้อน แต่ใครที่หลบเลี่ยงไม่เสียภาษีให้ถูกต้องก็อาจมีหนาว

เอาเป็นว่ากฎหมายใหม่ที่ออกมา ก็เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีเท่านั้น ไม่ได้เรียกเก็บภาษีเพิ่มอะไร ก็ใจเย็นกันไว้เถอะหากเสียภาษีถูกต้องก็ไม่ต้องกังวล.

ขอบคุณแหล่งที่มา : กรมสรรพากร

โดย :
 5423
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา สถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างพากันลงทุนจำนวนมากกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างช่องทางให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้น แน่นอนว่าแนวโน้มการศึกษาในปี 2017 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี "ประชาชาติธุรกิจ" จึงรวบรวมแนวโน้มการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้ดังนี้ เยสคอร์ส (YesCourse) ผู้สร้างแพลตฟอร์มการกระจายการศึกษาออนไลน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกได้ขายหลักสูตรการศึกษาออนไลน์ของตน โดยปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 3,500 สถาบันการศึกษาระบุว่า ในปีที่ผ่านมาการศึกษาออนไลน์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาอย่างมาก และเป็นตัวเสริมให้การศึกษาแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนจากทุกที่ แต่ในปี 2017 ระบบการเรียนออนไลน์แบบเสมือนจริง Virtual Reality (VR) จะกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นและได้ยิน VR ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาแล้ว เช่น การบิน การทหาร และเกม แต่ในอนาคต VR จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดการรับรู้และตื่นตัวในการเรียนรู้มากขึ้น แนวโน้มต่อมา คือ Cloud Migration หรือการเคลื่อนย้ายฐานข้อมูลต่าง ๆ สู่คลาวด์ ซึ่งสถาบันการศึกษานำข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงระบบไอทีของตนเองสู่ระบบคลาวด์มากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายเอง ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการบริหารทรัพยากรของระบบ และสามารถแบ่งทรัพยากรร่วมกันได้ง่าย อีกหนึ่งแนวโน้มที่ YesCourse พูดไว้ คือ การวิเคราะห์เชิงทำนาย (Predictive Analytics) และการเรียนเชิงทำนาย (Predictive Learning) ซึ่งในทุก ๆ ครั้งที่ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ พวกเขาทิ้งรอยดิจิทัลไว้ (Digital Footprint) สิ่งนี้ทำให้สถานศึกษา และครูผู้สอนสามารถใช้ทำนายเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน และสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นข้อดีต่อการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากร เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ส่วนเว็บไซต์ Pathway to Financial Success บอกว่า แนวโน้มการศึกษาจะเข้าสู่ยุค The Internet of Things (IoT) เพราะอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์โฟน โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ แท็บเลต สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรียนรู้มากขึ้นทุกวัน โดยบริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner Inc.) ทำนายว่า ในปี 2020 จะมีอุปกรณ์สิ่งของต่าง ๆ เชื่อมต่อกันไม่ต่ำกว่า 20.8 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก ดังนั้น รัฐบาลแห่งประเทศอังกฤษจึงทุ่มงบฯลงทุนด้านการวิจัยและศึกษาด้าน IoT ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านปอนด์ในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เรียนได้รับประโยชน์จาก IoT ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning), รู้จักการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning), กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและยั่งยืน (Self-directed Learning), ส่งเสริมเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning), สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equality) และสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Creating Smart Classroom) นอกจากนั้น Real-World Case Studies หรือกรณีศึกษาจากโลกแห่งความจริงจะเข้มข้นมากขึ้นในทุกวิชา เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน และเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าข้อมูลในตำรา กรณีศึกษาในโลกแห่งความจริงยังเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ในขณะที่ "บิล เกตส์" นักธุรกิจชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลวิเคราะห์ไว้ว่า ค่าใช้จ่ายการศึกษาจะน้อยลงและทุนการวิจัยจะมากขึ้น "เป็นที่รู้กันว่างานวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา และการต่อยอดการศึกษา แต่ที่ผ่านมานักวิจัยหลายคนต่างต้องวิ่งเต้นหาทุนวิจัย และหาการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ฟรีจากระบบการศึกษาที่เรียกว่า MOOCs (Massive Online Open Courses) จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเรียนน้อยลง ผู้เรียนสามารถมีทุนวิจัยของตนเอง" "ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้สอนจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน ไม่ต้องสร้างห้องเรียนหรืออาคารเรียน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็
แรงบันดาลใจในการทำธุรกิจถือเป็นสิ่งสำคัญมากในสภาวะเศรษฐกิจดิ่งต่ำอย่างต่อเนื่องและยังไม่อาจเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เลยแม้แต่น้อย หลายคนท้อแท้หมดหวัง
ตั้งแต่โลกใบนี้มี Facebook เกิดขึ้นมา ก็ทำให้หลายธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลกำไรทะลุเพดาน เพียงเพราะว่าใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด จนทำให้เกิดการสร้างแฟนเพจขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งแบรนด์หน้าใหม่ SME หรือแม้แต่แบรนด์ยักษ์ใหญ่เองก็กระโดดเข้ามาใช้ Facebook เป็นเครื่องมือสื่อสาร ส่งเสริมการขาย หรือใช้เป็นระบบลูกค้าสัมพันธ์ก็ตามแต่ จนมาบัดนี้ คงไม่มีนักการตลาดหรือผู้บริหารที่ไหน ไม่รู้จัก Facebook

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์