E-commerce ของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง วัดผลกันที่ตรงไหน!!

E-commerce ของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง วัดผลกันที่ตรงไหน!!

 

E-commerce ของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง

 

 

       ถ้าเป็นไปได้เราย่อมอยากรู้สถานะของธุรกิจตัวเองตลอดเวลา เช่นเดียวกับเมื่อเราเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce เองก็เหมือนกัน เราคงอยากรู้ว่าเรื่องต่างๆ ในร้านกำลังดำเนินไปอย่างไร แต่บางทีก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดีเพราะดูเหมือนในอินเตอร์เน็ทไม่มีอะไรจับต้องได้เลยสักอย่างเดียวนอกจากสถิติและค่าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าชมหรือซื้อสินค้า

 

       ถ้ามองผิวเผิน ลูกค้าออนไลน์อาจดูแตกต่างจากลูกค้าปรกติมากตรงที่เราไม่เคยเห็นตัว แต่หากดูลึกลงไปถึงพฤติกรรมแล้วลูกค้าออนไลน์นั้นแทบไม่ต่างจากลูกค้าปรกติเลย ต่างกันก็เพียงที่มาของสถิติที่เรานำมาใช้วิเคราะห์เท่านั้นเอง

 

       หลังจากเก็บสถิติจากหน้าเว็บมากองเป็นข้อมูล ณ เวลาหนึ่งได้แล้ว มีคำศัพท์หลักๆ 3 คำที่พูดถึงพฤติกรรมการเข้าซื้อสินค้าของลูกค้าออนไลน์คือ “Traffic, Conversion rates, Sales” ซึ่งจำแนกตามความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าในแต่ละระยะ ซึ่งแม้จะฟังดูยาก แต่ที่จริงก็หมายถึงพฤติกรรมทั่วๆ ไปของลูกค้าตามปรกตินั่นเอง 

 

1. Traffic : จำนวนคนเดินผ่าน 

 

       คำว่า Traffic มีความหมายได้ตั้งแต่ระดับตื้นอย่างจำนวนหน้าที่ถูกคลิกหน้าเว็บเพื่อเข้าชมต่อวัน  ไปจนถึงระดับลึกที่เริ่มแยกแยะว่ามีลูกค้าจริงๆ อยู่กี่คนจากจำนวนคลิกผ่าน (Clickthrough) เพื่อเข้าไปดูแต่ละส่วนของเว็บทั้งหมด ระยะเวลาและจำนวนในการเปิดเข้าไปหน้าใดหน้าหนึ่งซึ่งอาจสื่อถึงเทรนด์หรือความต้องการของลูกค้า (ที่เราอาจพบในภายหลังว่ากลายเป็นสินค้าขายดี) ค่า Traffic นั้นจะค่อยๆ ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและผลิตภัณฑ์ การสร้างให้เกิด Traffic มากขึ้นจึงเป็นขั้นต้นของการสร้างยอดขายผ่านเว็บไซต์ เพราะตามทฤษฎีพื้นฐานนั้นอาจกล่าวได้ว่ายิ่งคนเข้ามามากโอกาสในการซื้อก็ดูจะยิ่งสูง แต่อย่างไรก็ตามเราควรดู Conversion Rate ประกอบด้วยดังจะกล่าวต่อไป

 

       ลูกค้าบางกลุ่มอาจถูกใจกับการเรียกเขาให้เข้ามาเยี่ยมชมด้วยการโฆษณา หรือการเชิญชวนตามงานออกร้านแต่เพียงอย่างเดียว หรือบางธุรกิจอาจต้องใช้ของแถม ดาวน์โหลดฟรี หรือแม้แต่คูปองเข้ามาร่วมด้วย ในทางตรงกันข้าม Traffic นั้นมีแนวโน้มจะลดลงหากเราไม่ทำให้เว็บไซต์ของเรามีการเคลื่อนไหวบ้าง (แต่คำว่าเคลื่อนไหวในที่นี้ก็ไม่ได้หมายถึงการมีแบนเนอร์ทำด้วยโปรแกรมแฟลชแล้วมีภาพเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่หมายถึงการขยันอัปเดตข้อมูลให้มีความเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาหรือจำนวนสินค้าอย่างต่อเนื่อง)

 

2. Conversion rates : คนไหนชมด้วย ช้อปด้วย 

 

       ถึงแม้เราจะเชื่อว่าจำนวนคนเข้าเว็บ (Traffic) มากอาจหมายถึงยอดขายที่มากขึ้นไปด้วย แต่หลักข้อนี้ไม่ได้เป็นจริงเสมอไปตราบเท่าที่เรายังไม่ได้มองดูค่า Conversion rates ว่าเว็บไซต์ได้ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชมมาเป็นผู้ซื้อให้เราได้ตามที่เราคาดหวังไว้จริงหรือไม่ ยิ่งในยุคที่ธุรกิจออนไลน์กำลังเติบโตอย่างนี้ แค่มีคนคลิกเข้ามาชมเว็บเพียงอย่างเดียว (แล้วออกไป) นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว แต่การทำให้ผู้คนเหล่านี้ตัดสินใจซื้อก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

 

       ลูกค้าบางคนก็เข้ามาตั้งใจจะซื้อสินค้าของเราเพราะเป็นขาประจำอยู่แล้ว แต่ก็มีลูกค้าอีกหลายคนที่เข้ามาเป็นครั้งเป็นคราวเมื่อได้ผลประโยชน์ อย่างการให้สมาชิกชักชวนเพื่อนมาสมัครเพื่อตัวเองจะได้ของสมนาคุณหรือแต้มที่เอาไว้แลกของตอบแทน เป็นต้น ลูกค้าเหล่านี้เข้ามาโดยไม่มีความคิดที่จะซื้อสินค้าอยู่ในหัวเลย จึงทำให้จำนวนผู้เข้าชมเว็บสองประเภทนี้จะมีค่า Conversion rates (อัตราของการคลิกที่นำไปสู่การซื้อ โดยคำนวณจาก Conversion rates = ยอดขายที่เกิด/จำนวนที่คลิก x 100%) ที่แตกต่างกันมาก

 

       การคำนวณหาค่าของ Conversion rates นี้ค่อนข้างจะมีความผันผวนมาก ทำให้ยากและเสี่ยงที่จะเอามาใช้สรุป โดยร้าน

E-Commerce ที่หรูๆ  หน่อยก็จะมีค่า Conversion rates อยู่ที่ประมาณ 0.03% และโดยทั่วไปก็อยู่ที่ 1.5% แต่ทางที่ดีคุณก็ควรใช้ตามเกณฑ์มาตรฐานของคุณดีกว่า

 

       แล้วถ้าอย่างนี้เราจะเพิ่มจำนวนลูกค้าให้กับเว็บของคุณได้อย่างไรล่ะ? ก่อนอื่นเลย อย่าให้ความสำคัญกับช่องทางหรือลูกเล่นในการดึงคนเข้ามาที่เว็บไซต์ แต่สิ่งที่ควรทำคือการวัดค่า คอยติดตามและบริหารค่า ROI (ผลตอบแทนจากการลงทุน) ที่เราลงมาเป็นหลัก เพราะลูกค้าต่างกลุ่ม ในสินค้าต่างประเภทกันก็จะตอบสนองต่อแต่ละช่องทางแตกต่างกันไป ดังนั้นทางที่ดีเราควรค่อยๆ เรียนรู้จักใจลูกค้า และทุ่มเวลาไปกับช่วงแรกๆ ไปกับการทดสอบและทดลองไปเรื่อยๆ ซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งเราทางที่เหมาะสมจริงๆ ในการเชิญชวนให้เขาเข้ามา

 

       แล้วเรื่องของการตลาดล่ะ? ในเรื่องนี้มีหลักการง่ายๆ เลยก็ให้ใช้ Net Present Value (มูลค่าปัจจุบันสุทธิ : ซึ่งคำนวณได้จากผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุของโครงการกับเงินลงทุนเริ่มแรก) ของ Customer Life Time Value (ช่วงชีวิตของลูกค้า: รายได้ของลูกค้า 1 คน/ 1 ช่วงเวลา) แต่ปัญหามีอยู่ว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นส่วนมากก็ไม่ได้ทำธุรกิจนานพอที่จะรู้ว่าค่า Customer Life Time Value นี้จริงๆ แล้วคืออะไร โดยในกรณีนี้ ก็แนะนำว่าให้ใช้วิธีดั้งเดิมและสมมุติเอาเองเลยว่าลูกค้า 1 คนจะซื้อเพียง 1 ครั้งเท่านั้น(One Time Purchase) และกำหนดค่า Marginal Cost (ต้นทุนเพิ่ม: ต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้น เมื่อผลิตผลเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย) ก็ไม่ควรมีค่ามากกว่าค่า Customer Life Time Value

 

       ปัจจัยที่ผลต่อการเพิ่มจำนวนของ Traffic คือการทำโฆษณาหรือการทำ PR เพราะยิ่งเราให้คนรู้จักมากขึ้นเท่าไร ก็มีโอกาสที่คนเหล่านั้นจะแวะเวียนเข้ามาในเว็บเรามากเท่านั้น และการอัปเดตข่าวหรือคอนเท้นต์ในเว็บของเราก็เป็นอีกวิธีที่ต้องมีการทำเป็นประจำเพื่อให้ลูกค้าต้องหมั่นเข้ามาเช็คเรื่อยๆ

 

       การเพิ่มค่า Conversion Rate ทำได้โดยการนำเสนอสินค้าและบริการให้น่าสนใจและอาจจะมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อมากขึ้น ส่วนการมอบของสัมมนาคุณให้กับการชักชวนเพื่อนๆ ของลูกค้านั้น อาจได้ผลตรงกันข้ามเพราะบางคนอาจรู้สึกรำคาญกับการยัดเยียดผลิตภัณฑ์อย่างไม่เต็มใจ

 

3. Sales : คนที่ซื้อ ซื้อเท่าไหร่ 

 

       โดยทั่วไปแล้วจะแบ่ง E-Commerce หลักๆ ได้ 2 ประเภท นั่นก็คือ มีสินค้าเป็นของตัวเอง และการรับสินค้าของคนอื่นมาขาย ดังนั้นต้องระวังการเปรียบเทียบยอดขายของคุณกับเจ้าอื่นๆ ในตลาดที่คุณคิดว่าอยู่ในระดับเดียวกันเอาไว้ด้วย เพราะถ้าเราขายสินค้าของตัวเอง ยอดขายทั้งหมดก็จะขึ้นอยู่กับราคาปะหน้าของสินค้านั้นๆ โดยหักต้นทุนแต่เพียงอย่างเดียว

 

       แต่ถ้าในกรณีที่เป็นเว็บรับสินค้ามาขาย คำว่ายอดการขายนี้จะแตกต่างออกไปทันที เพราะยอดขายทั้งหมดนั้นไม่ได้แสดงจำนวนเงินที่ไหลเข้ามาในเว็บ เพราะสิ่งที่เว็บเหล่านั้นได้จริงๆ คือเปอร์เซ็นต์ส่วนหนึ่งจากกำไรเท่านั้น ดังนั้นหากคุณเปรียบเทียบยอดขายสินค้าตัวเองกับเว็บที่ขายสินค้าคนอื่นแล้วเห็นยอดขายต่างกันมากมายเหลือเกินก็อย่าเพิ่งท้อแท้ใจไป อย่าลืมเช็คโมเดลธุรกิจให้แน่นอนเสียก่อนด้วยว่าเรากำลังเปรียบเทียบตรงกันหรือไม่

 

       แน่นอนว่าลูกค้าย่อมเลือกซื้อสินค้าที่ถูกกว่าถ้าสินค้าเหล่านั้นมีคุณภาพเท่ากัน ดังนั้นดูคู่แข่งและเปรียบเทียบราคาจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อยอดขาย ทำให้สินค้าราคาถูกแต่คุณภาพดีย่อมเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ยอดขายของเราเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องแปลกใจ

 

=====================================

 

       บทความนี้เป็นเพียงข้อแนะนำแบบสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับตัวชี้วัดที่น่าสนใจบางตัวเท่านั้น ที่จริงยังมีสิ่งที่สำคัญอีกหลายๆ อย่างที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงอย่างเช่น Net promoter score (ระดับการเป็นผู้สนับสนุนองค์กร), อัตราการซื้อและการส่งคืนสินค้าที่ยังไม่ได้กล่าวถึง โดยสิ่งสำคัญจากที่กล่าวมาทั้งหมดก็คือ การเลือก,การวัด, การทดลองซ้ำไปเรื่อยๆ กับตัวชี้วัดที่คุณเลือกนี่แหละ คือหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จใน E-Commerce

 

 

 

 

Credit : INCquity

โดย :
 3206
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แม้ขณะนี้ชาวไอทีหลายคนจะปกป้องตัวเองด้วยการติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของตัวเองรอดพ้นจากการรุกรานของสปายแวร์ แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าจะต้องปกป้องตัวเองจากภัยร้ายที่ซ่อนตัวอยู่ในเครือข่ายสังคมด้วย
ย้อนหลังไปเกือบ 20 ปีที่แล้ว การขายสินค้าแบบออนไลน์ ในรูปแบบร้านค้าออนไลน์นั้น เป็นเรื่องยาก เพราะต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและระบบ Host
Online Marketing เป็นช่องทางดำเนินธุรกิจอีกทางหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก Internet เป็นทั้งเครื่องมือการค้า ช่องทางการจำหน่าย และ ช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า

Feature SoGoodWeb

SoGoodWeb มีระบบรับชำระเงินแบบใหม่ผ่าน Pay Solution รองรับทุกธนาคารชั้นนำ ทำให้การจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก
LINE Notify คือ บริการที่คุณสามารถได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเว็บเซอร์วิสต่างๆ ที่คุณสนใจได้ทาง LINE โดยหลังเสร็จสิ้นการเชื่อมต่อกับทางเว็บเซอร์วิสแล้ว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจากบัญชีทางการของ “LINE Notify” ซึ่งให้บริการโดย LINE นั่นเอง
เหมาะสำหรับลูกค้าที่เปิดธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง หรือเป็นรายย่อย เป็นระบบจองทัวร์ ที่ช่วยทำให้การจัดการธุรกิจทัวร์ - ทัวร์ท่องเที่ยว ให้เป็นเรื่องง่าย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์