คงมีหลายครั้งที่ผู้ประกอบการตั้งใจจะไปซื้อของอย่างหนึ่ง แต่สุดท้ายกลับได้ของอีกอย่างหนึ่งมาแทน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะผู้ประกอบการได้ถูกดึงดูดจากกลยุทธ์การตลาดที่มีชื่อว่า Emotional Marketing เข้าให้แล้ว ซึ่ง Emotional Marketing หรือที่เรียกกันว่าการตลาดที่เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภค เป็นกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกที่มุ่งเน้นการเข้าถึงความต้องการของ
ผู้บริโภคและเติมเต็มความต้องการด้วยการกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึก และมุ่งสร้างความภักดีในตรายี่ห้อ (Brand Royalty) มากกว่าจะยกเหตุผลร้อยแปดมาอ้างอิงสรรพคุณเหมือนเช่นที่ผ่านมาในอดีต การตลาดฉบับ Emotional Marketing จึงเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคมาก และเทคนิคการใช้กลยุทธ์ตลาดแบบ Emotional Marketing มีวิธีดังนี้
สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำก็คือหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค เช่น เป็นผู้ได้รับความนับถือ เป็นคนสวยและหล่อ เป็นคนมีเสน่ห์ น่ารักสดใส เป็นต้น การค้นหาข้อมูลในส่วนนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะมันจะเป็นโครงสร้างของกลยุทธ์ Emotional Marketing ทั้งระบบ เมื่อได้ข้อมูลแล้วขั้นต่อมาเราต้องระดมทีมงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสายงานไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด
ฝ่ายผลิตภัณฑ์ โฆษณา(ถ้ามี) ฯลฯ ให้มาระดมสมองและกำหนดทิศทางอย่างเป็นทางการว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะหยิบมุมของความรู้สึกของผู้บริโภคในด้านใดมาเล่นจึงจะมีพลังมากที่สุด แล้วจึงกำหนดกรอบแผนงานพร้อมเขียนแผนการตลาดในรูปแบบฉบับของ Emotional Marketing ขึ้นมาเพื่อที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติต่อไป
กลยุทธ์ Emotional Marketing แตกต่างจากกลยุทธ์แบบอื่นมากที่สุดตรงที่ผลิตภัณฑ์จะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองเด่นชัด เหตุที่กลยุทธ์แบบอื่นไม่มีเป็นเพราะผลิตภัณฑ์ทั่วไปมักมุ่งขายคุณสมบัติเป็นหลัก แตกต่างจากการตลาดแบบ
Emotional Marketing ที่เน้นความรู้สึกเป็นหลัก แต่ทั้งนี้หากผู้ประกอบต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าเป็นการเฉพาะแล้วละก็ ผู้ประกอบการต้องไตร่ตรองให้มากเป็นพิเศษ เพราะในหนึ่งผลิตภัณฑ์ควรมีเอกลัษณ์ได้เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังต้องใช้ได้ในระยะยาว เพราะถ้ามาเปลี่ยนรูปแบบภายหลังก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่จดจำได้ช้า ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
หลังจากสร้างเอกลักษณ์ได้แล้วขั้นต่อมาคือผู้ประกอบการจะต้องหาครีเอทีฟหรือเอเจนซี่โฆษณามืออาชีพเข้ามาทำการสร้างสรรค์ผลงานให้ ซึ่งประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญของพวกเขาจะช่วยพัฒนาแผนงาน Emotional Marketing ให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้มากกว่าที่ผู้ประกอบการจะลงมือทำเองทั้งหมด ทั้งนี้ในบางธุรกิจอาจจะจ้างหรือดึงฝ่ายครีเอทีฟและเอเจนซี่โฆษณาเข้ามาร่วมทำงานตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน
ขั้นสุดท้ายคือการนำแคมเปญดังกล่าวออกขายตามสื่อต่างๆ เพื่อกระจายไปสู่ผู้บริโภค ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการทำการตลาดและโฆษณามากกว่า 2 สื่อขึ้นไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะผ่านทางสื่อปัจจุบันแบบ TVC, Print AD, ป้ายโฆษณากลางแจ้ง ฯลฯ หรือสื่อที่เป็นที่นิยมอย่าง Social Media เช่น Facebook, Twitter และ Blog ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน แต่ทั้งนี้การสร้างสรรค์ผ่านสื่อต่างๆ ควรมีรูปแบบแคมเปญเดียวกันตามเอกลักษณ์ที่ได้กำหนดมา เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนลักษณะลูกเล่นให้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะทางกายภาพของสื่อชนิดนั้นๆเท่านั้นเอง
อารมณ์ความรู้สึกเป็นหนึ่งในไม่กี่สิ่งที่มีอำนาจต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคมากกว่าเหตุผล Emotional Marketing จึงเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการหันมาทำสงครามจิตวิทยาทางการตลาดในการเปิดแนวรุกช่วงชิง 4 ห้องหัวใจของผู้บริโภคที่
ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
Credit : incquity
By : www.SoGoodWeb.com